พระแก้วมรกต หลวงปู่ครูบาชัยวงค์ วัดพระบาทห้วยต้ม ขนาด 9 นิ้ว พิธีตานใช้ตานแทน ปี 2543
ประเพณีตานแทน-ตานใช้ ว่า ประเพณีนี้เคยได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ในสมัยนักบุญ แห่งล้านนา ครูบาเจ้าศรีวิชัย สืบต่อมาในสมัยหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ตานแทน-ตานใช้ (ตาน คือ ทาน) เป็นพิธีกรรมตามขนมธรรมเนียมของคนภาคเหนือ เป็นพิธี ถวายสังฆทานรวมใหญ่ มีการ จัดหาข้าวของเครื่องใช้ตามประเพณีดั้งเดิม อันได้แก่ ก่อเจดีย์ทราย มีของใช้ในพิธี ประกอบด้วย ของถวายพระสงฆ์และปูชนียสถาน ของถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ของทิ้งลงหลุม (เพื่อตัด/ทิ้งสิ่งไม่ดีออกจากตัว) ต้นทาน เป็นต้น
คนในอดีตมีพิธีกรรมและภูมิปัญญาที่น่าสนใจ ใช้สัญลักษณ์ในเครื่องสักการะต่าง ๆ มีแหล่ง ที่มาและแฝงธรรมะอยู่ด้วยเสมอเช่น ทำรูปคน สัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย หมู หมา เป็ด ไก่ ข้าทาสบริวาร คน ปู หอย กุ้ง ปลา อึ่งอ่าง และนก แมลง เพื่อเป็นตัวแทนสิ่งที่เราเคยได้ฆ่าได้ตี ได้ตัดชีวิตเขา
การถวายสิ่งของเครื่องใช้ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อชำระบาปกรรมจากการลักขโมย ของพ่อของแม่ ปู่ ย่า ตา ยายของสงฆ์หรือของอื่น ๆ โดยมีความเชื่อว่าจะมีบาปติดตัวถึง 500 ชาติ ฉะนั้น จึงนำสิ่งของถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อใช้หนี้กรรมเก่าเพื่อให้บาปกรรมเบาบาง สูญหายไป จากนั้นถ้าไม่ได้ลักขโมยของใครบาปกรรมก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเป็นการ ป้องกันอีกทางหนึ่ง ด้วย
ก่อเจดีย์ทราย เพื่อลดกรรมหนักจากการพูดเพ้อเจ้อ ติเตียนนินทา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
การทำตุงเงิน ตุงคำ ตุงนาก ตุงโลหะ ตุงเหล็ก ตุงทอง ตุงตะกั่ว ตุงข้าวสาร ตุงข้าวเปลือก ตุงไม้ไผ่ ตุงดิน ตุงทราย เป็นทาน ถวายพระรัตนตรัย หรือทำตุงเหล่านี้เพื่อให้ลดกิเลสความอยากได้ หรือของรักของหวง
ประเพณีการตานใช้-ตานแทนนี้ เป็นวิธีการที่ทำให้คนได้ตระหนักถึงและกระทำ คุณความดีกุศล กรรมใหญ่ เพื่อทดแทนอกุศลกรรมเก่าที่หนักและแรงกว่าในอดีต เพื่อให้คนในสังคมเชื่อในเรื่อง ผลแห่งกรรม หรือกฎแห่งกรรม
ในพิธีจะมีการถวายทานเพื่อใช้หนี้กรรมเก่าทั้งในอดีตชาติและปัจจุบัน มีการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย และขออโหสิกรรมต่อพระรัตนตรัย ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อผู้มีพระคุณ และต่อบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และเกี่ยวข้องกับตัวเรา อันที่เราอาจเคย กระทำการอันใดโดยประมาทพลาดพลั้ง ผิดพลาด ไม่สมควร โดยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ทั้งต่อหน้า
หรือลับหลัง รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ซึ่งอาจเป็นกรรมต่อกัน
ดังนั้นจึงสมควรที่จะขอขมากรรม ขอโทษ ขออภัยต่อกันโดยกระทำต่อหน้าพระรัตนตรัย โดยมีพระพุทธรูปเป็นตัวแทน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และคณะสงฆ์ที่มาร่วมกันในพิธี ให้ทานได้เป็นพยานรับรู้ในพิธี
นับว่าเป็นกุศโลบายของภูมิปัญญาของคนในภาคเหนือตั้งแต่ในสมัยโบราณ เพื่อให้คนได้มา ทำบุญทำทาน รู้จักการเสียสละเพื่อขจัดความโลภ โกรธ หลง มะเร็งร้ายในตัวมนุษย์เพื่อความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์
พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ยกตัวอย่างมา เป็นส่วนหนึ่งของพิธีที่ใหญ่โตและมีแบบแผน มีธรรมะแฝงอยู่ ด้วย ในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะเรื่องของกรรม บาปบุญคุณโทษ
ในพิธีจะมีการถวายทานเพื่อใช้หนี้กรรมเก่าทั้งในอดีตชาติและปัจจุบัน มีการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย และขออโหสิกรรมต่อพระรัตนตรัย ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อผู้มีพระคุณ และต่อบุคคลต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา และเกี่ยวข้องกับตัวเรา อันที่เราอาจเคยกระทำการอันใดโดยประมาทผิดพลาด ไม่สมควร โดยเจตนาและไม่เจตนา ที่เป็นกรรมชั่วต่อกัน
ประเพณีการตานใช้-ตานแทนนี้ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงและกระทำ คุณความดีกุศลกรรมใหญ่ เพื่อทดแทนอกุศลกรรมเก่าที่หนักและแรงกว่าในอดีต เพื่อให้คนในสังคมเชื่อในเรื่องผลแห่งกรรม หรือกฎแห่งกรรม (การสร้างความดีในปัจจุบัน)
ดังนั้นการขอขมากรรม ขอโทษ ขออภัยต่อกันโดยกระทำต่อหน้าพระรัตนตรัย โดยมีพระพุทธรูป อันเป็นสิ่งแทนองค์พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และมีคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ในพิธี นับเป็นกุศโลบายของภูมิปัญญาของคนล้านนา เพื่อให้ผู้คนได้มาทำบุญถวายทาน รู้จักการเสียสละเพื่อขจัดความโลภ โกรธ หลง กิเลสร้ายในตัวมนุษย์เพื่อความเป็น มนุษย์ และชาวพุทธที่สมบูรณ์ ตามหลักการและวิธีการในพระพุทธศาสนา.
ในวันงาน คณะศรัทธา ญาติโยม ได้ตกแต่งข้าวตอกดอกไม้ใส่ในล้อเกวียนนับสิบเล่ม ต้นตาน ใหญ่สูงสิบกว่าเมตร แห่ขบวนครัวตานไปตามถนนรอบวัด ขบวนหลากสีสัน ผ่านทุ่งนาสีเขียว ผู้คนจำนวนมากที่มีแรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาต่างมาร่วมพิธีกรรม เป็นภาพอันงดงาม น่าประทับใจ เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภาคเหนือ ในประเพณีตานแทน-ตานใช้ ความยิ่งใหญ่ ในการชดใช้หนี้กรรม
|