พระลือโขง ..(จามเทวีซุ้มเรือนแก้ว).. ..กรุสันกู่เหล็ก จังหวัดลำพูน ..พระตำนานในสกุลหริภุญไชย(ลำพูน )..*ลักษณะของพระลือโขง*..เป็นพระที่มีพุทธศิลป โดดเด่นที่สุดในพระสกุลลำพูน มีความวิจิตร งดงาม อลังการ สวยงาม ที่สุด ในบรรดาพระสกุลลำพูนทุกพิมพ์ เชื่อกันว่าเป็นพระที่...กษัตริย์.. ทรงสร้าง ด้วยศิลปะ เชิงช่างชั้นสูง ฝีมืองานช่างละเอียด ทั้งองค์พระประธานนั่งขัดเพชร ปางมารวิชัย ประทับบนฐานบัวสองชั้น และพิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม เหนืออาสนะฐานบัว ๒ ชั้นในซุ้มเรือนแก้วประภามณฑล ตกแต่งด้วยลายกนกเส้นรัศมี ประดับด้วยใบระกาอีก ๒ ชั้นอย่างอลังการเป็นพิเศษ ตามคตินิยมที่ทำใกล้เคียงกับซุ้มโขง ที่ปรากฏอยู่รอบธรรมสิคาสถูป ที่”พระเจ้าอลองสิทธิ์ธู”สร้างขึ้นในกรุงพุกามเมื่อปี พ.ศ.๑๗๓๙ เป็นแบบอย่างศิลปะมอญและพุทธศาสนานิกายคามวาสีในพุกาม ซึ่งแผ่มาถึงเมืองหริภุญไชยลักษณะองค์พระซุ้มเรือนแก้ว และฐานบัวของพระลือโขง ยังคล้ายกับศิลปะรูปแบบของสมัยปาละ ผ่านทางศิลปะพุกามในช่วงเวลาที่ศิลปะในหริภุญไชยและ พระพุทธศาสนานิกายหินยาน เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในขณะนั้น ..."พระลือโขง"...นี้ นับว่ามีความวิจิตรงดงามด้านพุทธศิลปะสูงส่ง กอปรกับพุทธคุณเอกอุ แสดงถึงความมั่นคงและความสมบูรณ์พูนสุข สมกับพุทธคุณ ที่ปรากฏเป็นพระด้าน(โชคลาภ)โดยแท้ และมีการค้นพบครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ แล้วมาแตกกรุครั้งยิ่งใหญ่ ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ พบเจอประมาน 50-60 องค์ บริเวณวัดล้าง กลางทุ่งนา ที่เรียกกันว่า สันกู่เหล็ก จังหวัดลำพูน ได้พระจำนวนหลายร้อยองค์ส่วนใหญ่จะหักชำรุด
พระลือโขงหรือพระฤาโขง กรุสันกู่เหล็ก จ.ลำพูน สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมากด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย สุดยอดปรารถนาในหมู่นักสะสมพระสกุลลำพูน เพราะขึ้นชื่อด้านความหายากยิ่งกว่า พระรอด ซะอีก...องค์นี้แท้แบบไม่ต้องลงกล้อง