เหรียญท้าวเวสสุวรรณ(ยักษ์ใหญ่) วัดเจดีย์สถานปี 2519 อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
ประสบการณ์เรื่องภูติผีปีศาจเรื่องโภคทรัพย์เป็นที่ยอมรับ
จัดสร้างโดย พระอาจารย์ เกษม เกตุธัมโม เกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมสายเวสสุวรรณ ในช่วงสมัยที่ท่านเป็นฆาราวาสท่านเคยฝากตัวเป็นศิษย์หลายสำนักเช่นเข้าอ้อ และได้ร่ำเรียนศึกษาวิชาอาคมจาก เกจิดังๆมากมาย ทั้งสักยันต์ ดูโหราศาสตร์ อักขระขอม อักขระล้านนา จนสุดท้ายท่านฝากตัวและอยู่เป็นศิษย์ หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง และย้ายมาอยู่วัดเจดีย์สถานกับครูบาสิงห์คำศิษย์เอกหลวงปู่คำปัน
พระอาจารย์เกษมได้จัดสร้าง เหรียญท้าวเวสสุวรรณ ได้ดูแลออกแบบเองอักขระเป็นแบบขอม แกะแบบโดยสุดยอดช่างฝีมือสมัยนั้นคืออาจารย์ เกษม มงคลเจริญ สร้างน้อยมากไม่เกิน3000เหรียญ
อาจารย์เกษม ท่านก็ได้ปลุกเสกไปเรื่อยๆ และเวลาท่านได้รับกิจนิมนต์ไปร่วมพิธิพุทธาภิเษกในที่ต่างๆ ท่านก็จะนำเหรียญรุ่นนี้ไปเข้าพิธีด้วยเสมอ. และในวันที่ 9 กพ 2520 ทางวัดสันโป่ง ได้มีการพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของ ครูบาคำปัน สุภัทรโธ
พิธีปลุกเสกได้จัดทำในวิหาร ในวันพุธแรม 6 ค่ำ ตรงกับวันที่ 9 กพ 2520 เวลา 14.39 น. เริ่มพิธีพราหมณ์ประกาศโองการบวงสรวงเทพยาดาฟ้าดิน อัณเชิญครู อาจารย์ รวมทั้งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นอาจารย์สายวิปัสนาของครูบาคำปัน จากนั้น พระเถระชั้นผู้ใหญ่ 9 รูป เจริญพุทธมนต์ เวลา18.19 น. ได้ฤกษ์จุดเทียนชัย เริ่มพิธีพุทธาภิเศก อธิษฐานจิต สวดอรรถคาถาธรรมจักรกัปปวัตนสูตร และสวดภาณยักษ์ โดยคณะสงฆ์จากวัดวังสรรพรส จันบุรี จบแล้ว พระพิธีธรรมคณะ วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ สวดพุทธาภิเศกต่อจนเสร็จพิธี
มีพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกมากมายอาทิเช่น
-หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
-หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
-หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง
-หลวงพ่อเจิม วัดวันยาวล่าง
-หลวงพ่อศรีนวล วัดเกวียนหัก
-หลวงพ่อคำปัน วัดหม้อคำตวง
-ครูบาสม วัดโป่งกว๋าว
-พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม
-พระอาจราย์ประเดิม วัดเพลงวิปัสสนา
-พระอาจารย์ธีระ วัดพระธาตุสบฝาง เป็นต้น
จัดได้ว่าเป็น เหรียญดี พิธีใหญ่พิธีหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ สมัยนั้น ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นเทพแห่งขุมทรัพย์ เป็นมหาเทพแห่งความร่ำรวย, มั่งคั่ง, รักษาทรัพย์สมบัติของเทวโลกและเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูติผีปีศาจทั้งปวง คณาจารย์ และเจตนาผู้สร้าง + ประสบการณ์ที่เล่าขานไม่รู้จบ เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากมาย เป็นเหรียญที่มีมหาอำนาจในตัว เป็นเหรียญที่มีค่านิยม เป็นเหรียญหลักของจังหวัดเชียงใหม่