พระร่วงรุ่นนี้ สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์การสร้างอนุสาวรีย์และพระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมืองงาย เมื่อปี ๒๕๑๒
อนูสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถูกสร้างขึ้น ตามคำปรารภที่ว่า(จากหนังสือประวัติการสร้าง พระกริ่งสมเด็จพระนเรศวร มหาราช เมื่องงาย ปี ๒๕๑๒-ผู้เขียนขอคัดย่อมา) ดังนี้
"ชาติไทยได้ดำรงความเป็นอิสระเสรีจนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีวีรชนผู้กล้าเสียสละเลือดเนื้อเป็นชาติพลี เพื่อลูกหลานและชนรุ่นหลังโดยตลอดมา
บรรดาวีรชนที่นับว่าได้เสียสละ ไม่มีใครจะประกอบวีรกรรมอันสูงส่งเทียบเท่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และผุ้ร่วมพระหฤทัย เช่น สมเด็จพระเอกาทศรถ บรรดาแม่ทัพนายกอง และนักรบผู้กล้าหาญของชาวไทย
ชาวเชียงใหม่ได้ระลึกอยุ่เสมอว่า ที่การพวกเราได้อยู่อย่างเป็นสุขสบายจนกระทั่งทุกวันนี้ ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีพระเมตตาต่อชาติไทย จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ขึ้น
หลังจากพิจารณาหารือกันแล้วก็เห็นว่า บริเวณบ้านเมืองงาย ดำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว เป็นสถานที่ที่พระองค์ได้ทรงตั้งทัพตั้งค่าย ขึ้น...จึงสมควรจะได้สร้างพระสถูปเจดีย์ที่ได้สูญเสียหักพังลงไป
คณะผู้สร้างขณะนั้น อันมีพันตำรวจเอก นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ขณะนั้นได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ดำเนินการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ และพระอนุสาวรีย์ ซึ่งพระองค์ได้มีพระมหากรุณาธิคุณฯโปรดเกล้าฯตามที่ขอพระราชทานไป และคณะรัฐมนตรีก็ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว....
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๘ ณ.ที่แห่งนี้ และเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๑ ได้ทรงเจิมและทรงสุหร่ายศิลาฤกษ์และแผ่นอิฐซึ่งได้มาจากพระเจดีย์องค์เดิม และ
นอกจากนั้นพระองค์ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๒ ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก ณ.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ด้วยพระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์ ประชาชนได้มาร่วมพิธีและเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างล้นหลาม และประชาชนทั่วประเทศได้สั่งจองบูชา พระเครื่อง และสิ่งที่สร้างขึ้นในคราวนี้จนหมด สามารถมีทุนเพียงพอในการที่จะนำไปก่อสร้างพระสถูปเจดีย์และพระอนุสาวรีย์ได้
วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้างในคราวนี้
๑.พระกริ่งนเรศวรเมืองงาย บูชา ขณะนั้น ๓๐๐ บาท
๒.เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๓.พระพุทธสิหิงส์ ขนาดหน้าตัก ๑๒,๙,๗ และ ๕ นิ้ว
๔.พระเชียงแสน
๕.ขันน้ำพุทธมนต์พระกริ่ง
๖.พระร่วงรางปืน
ในโอกาสนี้จะขอบันทึกเฉพาะพระร่วงรางปืนเท่านั้น คือ มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำจำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์ (ภายหลังได้สร้างเพิ่มเป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์)
พิมพ์ที่ได้นำมาเป็นหัวข้อนี้เป็นพิมพ์หลังแบบ สร้างต่างหาก ๒,๐๐๐ องค์
พระดีพิธีใหญ่มากครับปลุกเสกโดยเกจิดังทั่วประเทศ..หลังเสร็จพิธีมีคนนำไปทดลองยิงปรากฎว่ายิงไม่ออกจึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลกันมาเช่าบูชา.หมดเพียงไม่กี่วัน..หลังแบบสี้างจำนวน2000องค์..เป็นพระชุดวัพระสิงห์ยอดนิยมครับ