อุติ่ง เป็นเครื่องรางของล้านนาที่เข้ามาทางไทยใหญ่ เครื่องรางประเภทอุติ่งนี้ เป็นเครื่องรางของชาวไทยใหญ่ มีด้วยกันหลายแบบ เช่น พระนั่งบนหลังช้าง หรือ พระชัยหลังช้าง อิ่นบนหลังช้าง คนขี่ช้างแบบคนเดียว และ แบบสองคน และ คนนั่งดีดพิณ บนหลังช้าง แต่ละชิ้นมีประวัติและการสร้างที่แตกต่างกัน การใช้ก็ใช้ไปคนละทาง อย่างอิ่นนั่งบนหลังช้าง ก็ ใช้ไปในทางเรื่องมหาเสน่ห์มหานิยม สำหรับคนนั่งดีดพิณบนหลังช้างนี้ เป็นเครื่องรางเหมาะสำหรับพ่อค้า ใช้ในการติดต่อค้าขายสินค้า แบบคนนั่งบนหลังช้างใช้สำหรับการเดินทาง และ แสวงหาโชคลาภ ชิ้นนี้เป็นคนนั่งบนหลังช้างแบบสองคน เรียกว่า "อุเต่งยกโก่นางเวฬุวะตีมินตะมี" อาณุภาพของ อุเต่งประเภทนี้ท่านรองเจ้าอาวาสวัดล้านตอง เชียงใหม่ ท่านได้เมตตาแปลจากตำราโบราณไว้ดังนี้
1.มีไว้กับตัว จักเป็นที่รักใคร่เมตตาเอ็นดูแก่คนและมนุษย์ทั้งหลาย แล เทพเทวดาจะคอยช่วยเหลือเรา
2.ผู้ใดมีไว้กับตัวจักทำการใดก็มิมีอุปสรรคในกิจจารงานที่ทำอยู่แล
3.ผู้ใดมีไว้กับตัวแม้นเดินทางใกล้ไกลจักคุ้มครองปลอดภัยให้ไปดีมีลาภแล
4.แม้นทำการค้าขาย ให้แช่น้ำประพรมของขาย จักทำให้ขายคล่องขายดีแล
5.แม้นจักไปติดต่อพบประการงานธุรกิจผู้ใหญ่ เจ้านานให้เมตตาเอ็นดู ขอความช่วยเหลือต่างๆ ให้แช่น้ำส้มป่อย7ฝักแล้วอาบน้ำนั้นก่อนไปแล้วพกติดตัวไปจักสมความปารถนาแห่งเราแล
6.ผู้ใดมีไว้กับตัวกับบ้านเรือน หมั่นสวดบูชาด้วยคาถาจะเป็นโภคทรัพย์ ลาภะทรัพย์ ธะนะทรัพย์ เจริญงอกงามด้วยทรัพย์สมบัติ มิมีอดอยาก เสาะแสวงหาทรัพย์สินเงินทองได้โดยงาน ทำมาค้าขึ้น อยู่เย็นเป็นสุขทุกเมื่อแล
>>>สำหรับความหายากนั้น หายากสุดๆ ชาวไทยใหญ่หวงมาก ถึง ขนาดที่ว่า ถ้าตายให้เอาไปฝังกับศพเจ้าของด้วย จึงมีให้พบเห็นกันน้อย เป็นงานระดับ "มาสเตอร์พีส" งานชิ้นเอกที่บ่งบอกถึงความละเอียดอ่อนช้อยของงานช่างศิลปไทยใหญ่ได้เป็นอย่างดี
#คาถาใช้กับอุติ่ง โอมตินนะ ตินนะ หัตติ หัตติ สัตตั๋ง จี๊นัง จิ๊นัง กับสะหย่ากับ โอม สวา หุม หุม
ขอบพระคุณครับข้อมูลดีดีจาก พี่เซนเชียงใหม่ด้วยนะครับผม
|