พระเกษาครูบาเจ้าศรีวิไชย ((พิมพ์รูปเหมือนลอยองค์ ลงชาติ ยุคต้น)) ลงทองสวยงาม อายุอานามหลายสิบปี ความศรัทธาหาที่สุดไม่ได้ครับ บ่างครั้งมีเงินก็ไม่สามารถ เช่าหามาครอบครองได้ครับ เป็นของมงคลที่สุดของชาวล้านนา และหาสวยๆๆงามๆเเบบนี้อยากมากมากครับผม ในล้านนาการนับถือเส้นเกศานี้ ในตำนานปูชนียสถานปูชนียวัตถุในล้านนา มักกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ในดินแดนแถบนี้ เมื่อมาถึง จะทรงได้พบกับผู้คนในพื้นถิ่น ส่วนมากจะเป็นชาวลัวะ จากนั้นทรงมอบเส้นพระเกศาแก่ลัวะผู้นั้น ก่อนจะมีพุทธทำนายว่าในภายภาคหน้าดินแดนแห่งนี้จะก้านกุ่งรุ่งเรืองเป็นที่ตั้งแห่งรัตนตรัย เจ้าเมืองจะสร้างที่บรรจุเส้นพระเกศาและพระบรมสารีริกธาตุซึ่งจะมาเพิ่มในภายหลัง เมื่อชาวบ้านหรือลัวะผู้นั้นได้รับเส้นพระเกศาแล้วก็จะบรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปฝังดิน ความวิจิตรพิศดารต่าง ๆ ในการบรรจุเส้นพระเกศานั้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง พระธาตุเจดีย์หลายองค์ในล้านนามักมีตำนานกล่าวว่า เป็นที่บรรจุเส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้า ความเชื่อในเรื่องนี้อาจเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ผู้คนที่นับถือครูบาเจ้าฯ เก็บเส้นเกศาของท่านไว้บูชาก็เป็นได้ ส่วนการจะเก็บเส้นผมเปล่า ๆ ไว้ก็คงไม่สะดวกและอาจสูญหายจึงนำมาผสมกับมวลสารอื่น ๆ ปั้นเป็นรูปองค์พระ จะได้พกติดตัวได้สะดวก ในวงการนิยมพระเครื่อง มักแบ่งยุคการสร้างพระเกศาครูบาเจ้าฯ อย่างคร่าว ๆ คือ ทันยุคครูบาฯ หรือ ยุคต้น หมายถึงการสร้างตั้งแต่ครั้งครูบายังมีชีวิตอยู่ และ ยุคหลัง ซึ่งหมายถึงผู้ที่เก็บเส้นเกศาไว้แล้วนำมาสร้างพระเครื่องในตอนหลัง ซึ่งอาจหมายถึงพระเครื่องที่เพิ่งสร้างขึ้นไม่กี่วันมานี้เอง ส่วนการจะสังเกตว่าสร้างในยุคไหนนั้น อันนี้อธิบายได้ไม่ยาก แต่จะให้เข้าใจได้อย่างถูกต้องนั้นกลับยากยิ่ง ปริศนานี้น่าจะเป็นมนต์เสน่ห์ของผู้ที่ใฝ่ศึกษาและต้องได้สัมผัสด้วยตนเองเท่านั้นถึงจะเข้าใจ เนื้อพระเกศาครูบาเจ้าฯ ที่นิยมกันมี 2 เนื้อ คือ เนื้อแก่ผงใบลาน กับ เนื้อแก่ว่านเกสรดอกไม้ เนื้อครั่งเนื้อดินผสมอยู่ก็มีบ้าง พบไม่บ่อยนักและมักจะสร้างขึ้นในยุคหลัง และทั้งหมดทั้งมวลต้องมีเส้นเกศาครูบาเจ้าฯบรรจุอยู่ โดยมีรักเป็นตัวประสาน บางองค์ชุบรักหรือปิดทองร่องชาดงดงาม
|