ปั้นเหน่งอาถรรพ์ไทใหญ่ล้านนา
จากการสัมภาษณ์คุณรุ่งชัย ชัยวงศ์ (12 พฤศจิกายน 2552) นักค้าเครื่องรางชายขอบแม่ฮ่องสอนเธอเล่าว่า อินทรีถ้าส่วนมากเป็นของพม่า ไทใหญ่พบน้อยมาก เท่าที่เล่าสืบกันมาเครื่องรางประเภทนี้จะแยกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบธรรมดาเรียบเรียบๆ ไม่มีลวดลายใดๆ ใช้เป็นถ้วยยา _ส่วนที่มีรูปแบบพิเศษ เช่น แกะเป็นรูปยักษ์ หนุมาน หรืออื่นๆ เป็นของคนที่มีวิชาอาคม เป็นหมอผีคงแก่อาคม สามารถสะกดวิญญาณแรงร้ายนั้นได้_ ส่วนการเลือกวัสดุนั้น ต้องใช้สัตว์ที่พิเศษกว่าตัวอื่นๆ เช่น เสือกินคน ลิงข่าม หรือลิงที่ยิงเท่าไรก็ไม่ถูก หรือสัตว์ที่หมอคุณเลือกแล้วว่าดี เมื่อได้กะโหลกมาแล้ว ตัดให้ได้รูป ถ้าจะแกะหรือพอกรักเป็นรูปต่างๆ ต้องทำในพระอุโบสถ ทำให้เสร็จช่วงระยะเวลาหนึ่งประมาณ 10 นาที เกินจากนั้นจะใช้ไม่ได้ เสร็จแล้วนำมาปิดทอง วัสดุหายากอย่างกะโหลกเสือ มักจะเป็นของเจ้าของนาย ที่สำคัญสุด คือ กะโหลกคน อันนี้กำหนดเจาะจงเฉพาะคนตายฟ้าผ่า หรือตายโหง ชิ้นที่เป็นกะโหลกคนผู้สร้างและผู้ใช้งานต้องมีอาคมขลังจริงๆ คือสามารถสะกดวิญญาณได้ เมื่อทำได้สำเร็จก็ใช้งานตามความปรารถนาของเจ้าของ_ เช่น เรียกผัวเรียกเมีย ป้องกันภัย เตือนภัย บอกเหตุร้าย ใช้ไปบอกกล่าว อย่างการทวงหนี้ ถ้ามีไว้ประจำเรือนจะทำให้คนในเรือนนั้นอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ผิดเถียงกัน หรือเป็นหมอดูทำนายทายทักจะแม่นมาก ส่วนการเลี้ยงนั้นให้ข้าวน้ำ เหมือนจัดให้คนได้กิน
โดย ผศ. วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ปราชญ์/พ่อครูแห่งล้านนา
|