|
(แชมป์ที่ ๑ ณ โรงยิเนเซียม 4,000 ที่นั่ง สนามกีฬากลางนครสวรรค์ จัดโดย มูลนิธิการศึกษาเทศบาลนครสวรรค์ ร่วมกับ ชมรมพระเครื่องนครสววรค์ ๓๐ เมษา ๒๕๖๐) ก่ะ อีก ๑ สุดยอดติดอันดับภาคีเครื่องรางเมืองเหนือ ผ้ายันต์ม้าเสพนาง พี่ศรีทอง (ต้อย) .... ผ้ายันต์ม้าเสพนาง ท่านครูบาต๋า วัดอุโบสถบ้านเหล่า วิธีการจัดสร้าง ผ้ายันต์อาถรรพ์นี้ เมื่อมี หญิงสาวที่ เสียชีวิต(ตายโหง) ญาติ พี่น้อง ผู้ตายจะนิมนต์ ครูบาต๋า มาทำพิธี ถอนวิญาณ และท่านจะนำ ผ้าขาวไปให้สัปเหร่อและขออนุญาตเจ้าภาพ ที่รู้จัก ไปห่อศพ "ผู้หญิงสาว" ที่ตายโหง ทางเหนือมีพิธีกรรม จัดงานศพ ๓ - ๗ วัน เมื่อศพหญิงสาวเคลื่อนไป"ป่าช้า" ท่านจะให้ สัปเหล่อ นำ"ผ้าขาวห่อศพ" มาเก็บไว้ให้ท่านครูบาต๋า ท่านจะนำมาตัดเป็นส่วนๆ แล้วนำมาพิมพ์ "ยันต์ม้าเสพนาง" และทำพิธีปลุกเสก ตามตำราของท่าน แต่ละรุ่น จะมีชื่อ ไม่เหมือนกัน แล้วแต่จะห่อศพใคร และ ผู้หญิงสาวที่ตาย ชื่ออะไร ผ้ายันต์ผืนนี้ชื่อพี่ศรีทอง ( ต้อย )เป็นรุ่นที่มีชื่อระบุ เจ้าของดวงวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในผืนผ้าอย่างชัดเจน ตามประวัติที่เล่าต่อกันมาว่า พี่ศรีทอง (ต้อย) เป็นเด็กนักเรียนอายุเพียงแค่ ๑๔ ปี ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตโดนรถกระบะบรรทุกชนจนเสียชีวิต ขณะกลับจากโรงเรียน สร้างความสูญเสียให้กับครอบครัวนี้เป็นอันมาก เพราะเป็นลูกสาวของอาจารย์โรงเรียนชื่อดัง ในอำเภอสันป่าตอง พี่หนานสม ( บุญเกต อินใจคำ ) เล่าให้ข้าพเจ้าฟังเสมอว่าพี่ศรีทอง เป็นเด็กสาวน่ารักนิสัยดี ขยันเรียน แต่ต้องมาเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ถ้าท่านใดมีผ้ายันต์รุ่นนี้ให้ถวายสังฆทาน และมอบเสื้อผ้าชุดนักเรียน หนังสือสมุดปากกา ให้สถานศึกษาต่างๆ เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน แล้วกรดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้พี่ศรีทอง เพราะยังไม่ทันเรียนจบ ก็ต้องมาเสียชีวิตก่อน ถ้าทำทั้งสองอย่างนี้ควบคู่กัน จะเป็นมงคลกับชีวิตและจะได้กุศลเป็นอย่างยิ่ง ... อุปเท่ห์วิธีบูชา.- ให้นำหญ้าแพรก ๗ เส้นมาใส่ไว้ในผ้า(บริเวณปากม้า)และเครื่องหอม/ น้ำหอม หรือ แป้งไปประพรมที่รูปผู้หญิง แล้วพับผ้าประกบเข้าหากัน พกพาติดตัว เรียกชื่อเจ้าของผ้าอธิษฐานขอ เรื่องการงาน เจรจา ค้าขาย เสี่ยงโชค เมตตา และมหาเสน่ห์แรงมากฯลฯ เวลากินข้าวให้เรียกกินด้วย ทั้งหมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณเจ้าของผ้า จะเป็นการเพิ่มความเฮี๊ยนให้กับผืนผ้าอีก ประวัติรุ่นการสร้างผ้ายันต์ .- ผ้ายันต์ม้าเสพนางของท่านครูบาต๋าสร้างทั้งหมดอยู่ ๑๕ รุ่น รุ่นแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ชื่อ “พี่ทองพูน” สร้างตั้งแต่ตอนที่ท่านครูบาต๋าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดควรนิมิตร ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ท่านครูบาต๋าได้สละตราตั้งเจ้าอาวาสวัดควรนิมิตรคืนเจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง เพื่อขอไปปรนนิบัติรับใช้ท่านครูบาชุ่ม วัดวังมุย จังหวัดลำพูน ผู้เป็นอาจารย์ซึ่งชราภาพและเริ่มอาพาธ ท่านครูบาต๋าจึงไม่ได้สร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางและวัตถุมงคลอย่างอื่นต่อ และได้สร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางรุ่นที่ ๒ ใน ๒ ปีต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ชื่อ “พี่รุ่งรัตน์” และสร้างรุ่นที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ชื่อ “พี่ศรีทอง” (ต้อย) เพื่อแจกให้แก่ชาวบ้านเหล่าและชาวสันป่าตองพ่อค้าประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง ที่ได้เข้ามาช่วยกันแผ้วถางวัดร้างกลางทุ่งนาที่ดอนทุ่งมะโจกสันป่าตองซึ่งปัจจุบันก็คือวัดบ้านเหล่า จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลังเสร็จพิธีปลงศพท่านครูบาชุ่ม ศิษย์ที่อยู่อำเภอพระประแดงสมุทรปราการได้เดินทางมาช่วยท่านครูบาต๋าสร้างศาลาบาตรและพระวิหารที่วัดร้างบ้านเหล่าจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และได้สร้างเหรียญรุ่นแรกถวายท่านครูบาต๋าเป็นที่ระลึกในการฉลองสมโภชพระวิหารในครั้งนั้น ซึ่งมีเกจิอาจารย์ล้านนาสายปฏิบัติที่เคยรับใช้ใกล้ชิดท่านครูบาเจ้าศรีชัยและเป็นเกจิอาจารย์ที่ท่านครูบาต๋านับถือร่วมพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นด้วยมีท่านครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง, ท่านครูบาอินโต วัดบุญยืน, ท่านครูบาอินตา วัดห้วยไซร้ ฯลฯ และได้รับการแต่งตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดอุโบสถบ้านเหล่า” แต่การสร้างถาวรวัตถุในวัดบ้านเหล่ายังคงค้างอีกหลายอย่าง ต้องใช้ทุนทรัพย์และปัจจัยมากพอสมควร ปัจจัยที่ชาวบ้านเหล่าช่วยกันถวายมาไม่เพียงพอ ญาติโยมที่รู้ข่าวจึงได้เดินทางมาจากทุกทั่วสารทิศเพื่อมาร่วมกันสร้างกุศลบุญร่วมกับท่านครูบาต๋าในครั้งนั้น ท่านครูบาต๋าจึงตอบแทนญาติโยมด้วยการสร้างวัตถุมงคลและสร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางขึ้นมาอีก ๑๐ รุ่น ในระยะเวลา ๔ ปี เพื่อมอบให้แก่ญาติโยมที่ได้สละแรงกายและทรัพย์สินส่วนตัวร่วมกันสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดบวรพระพุทธศาสนาในวัดบ้านเหล่าจนแล้วเสร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๖ ท่านครูบาต๋าได้เริ่มสร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางรุ่นที่ ๔ ชื่อ “พี่เจี๊ยบ” โสภาวรรณ ซึ่งเป็นรุ่นที่นิยมที่สุด รุ่นที่ ๕ ชื่อ “พี่เทียมต๋า” รุ่นที่ ๖ ชื่อ “พี่หน้อย” ประทุม รุ่นที่ ๗ ชื่อ “พี่เทียมจั๋น” รุ่นที่ ๘ ชื่อ “พี่ศิริพร” รุ่นที่ ๙ ชื่อ “พี่สมพิต แสนจิตต์” รุ่นที่ ๑๐ ชื่อ “พี่วาสนา” รุ่นที่ ๑๑ ชื่อ “พี่สุพิน” รุ่นที่ ๑๒ ชื่อ “พี่สมพร” รุ่นที่ ๑๓ ชื่อ “พี่ศิริลักษณ์ สมเพชร” เว้นว่างจากการสร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางไปนาน ๔ ปี เพราะถาวรวัตถุในวัดบ้านเหล่าสร้างเสร็จสมบูรณ์ ท่านครูบาต๋าไม่ได้สร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางต่อ แต่ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ มีญาติโยมเดินทางมาจากตัวเมืองเชียงใหม่จากอำเภอพระประแดงสมุทรปราการจากกรุงเทพฯและนครปฐม มาขอเมตตาให้ท่านครูบาต๋าสร้างผ้ายันต์ม้าเสพนางขึ้นมาอีก บางท่านมานอนรอกันเป็นอาทิตย์ ด้วยความสงสารท่านครูบาต๋าจึงบอกจะสร้างให้อีก ๒ รุ่นเท่านั้น ก็คือรุ่น “พี่นาย” นงนุช และรุ่น “พี่อำพร” ซึ่งในโอกาสนั้นท่านครูบาต๋า ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งในขณะนั้นบวชเรียนเป็นผู้วาดต้นแบบผ้ายันต์ม้าเสพนาง ๒ รุ่นสุดท้าย ด้วยวิวัฒนาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ๒ รุ่นสุดท้ายของผ้ายันต์ม้าเสพนางท่านครูบาต๋า จึงเป็นแบบซิลค์สกรีนไม่ใช่แบบพิมพ์เหมือนผ้ายันต์ม้าเสพนางในยุคต้นของท่าน (Cr.ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากร้าน ต้นสันป่าตอง2 http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid=470681 )
|
|