พระขุนเเผน วัดอ่างทอง พระดี พิธีใหญ่
มวลสารที่ใช้ในการสร้าง ใช้พระสมเด็จเกษไชโย ของสมเด็จฯโต ที่ชำรุดนำมาบดรวมกับมวลสารอื่น ๆ ตาม
กรรมวิธี โดยวัดไชโยวรวิหารเป็นผู้ทำการผสมเนื้อหา ซึ่งในการสร้างพระแต่ละครั้งต้องใช้กำลังคนมาก พระ
เณร ที่ต้องศึกษาพระธรรมวินัย ชาวบ้านต้องประกอบสัมมาอาชีพ เด็กวัด ก็ต้องเรียนหนังสือ เมื่อได้เนื้อหา
ตามความต้องการ ก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วน สำหรับวัดไชโยวรวิหาร 1 ส่วน ของวัดอ่างทองวรวิหาร 1 ส่วน เนื้อหายุคแรก ๆ จะออกวรรณเหลืองนมข้น ส่วนผสมครั้งต่อ ๆ มา จะออกเหลืองอ่อน ถึงขาวนวล เข้าพิธี
พุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงวัดไชโยวรวิหาร ราวต้นปี พ.ศ.2490 เพื่อให้ทันงานฉลองเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระ
ราชาคณะชั้นเทพและทำบุญอายุครบ 64 ปี ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ ที่จะมาถึงใน
ไม่กี่เดือนข้างหน้า สำหรับพระพิมพ์ของวัดไชโยวรวิหาร ได้ออกให้เช่าบูชา ในปี พ.ศ.2491 ในวาระครบรอบ 160 แห่งชาตะกาลของสมเด็จ ฯ โต
ต่อมาราวปี พ.ศ.2495 ช่วงฤดูน้ำ เกิดน้ำเซาะตลิ่งหน้าวัดพัง ท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล
โสภโชติเถระ(วร อินทรสมบูรณ์) เจ้าอาวาสสมัย นั้น ได้ดำริที่จะสร้างเขื่อนกั้นตลิ่งหน้าวัดไชโยวรวิหาร ให้แล้ว
เสร็จภายในปี พ.ศ.2496 ก่อนที่ฤดูน้ำหน้าที่จะมาถึงอีก แต่เนื่องจากเหรียญที่ระลึกและวัตถุมงคล ที่จัดสร้างไว้
ลดจำนวนลง ไม่เพียงพอที่จะหาปัจจัย พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ สุนธรมหาเถระ (แผ้ว
อัมพชาติ) ท่านได้ปรารภต่อท่านเจ้าคุณพระมหาพุธพิมพาภิบาล โสภโชติเถระ(วร อินทรสมบูรณ์) ซึ่งหลวงปู่วร
มีอายุและกาลพรรษา มากกว่า 2 ปี ว่ามีความประสงค์ขอให้ทางวัดไชโยวรวิหาร จัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหารายได้ในการสร้างเขื่อน ทางวัดไชโยวรวิหาร จึงได้จัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นอีกครั้งราวปี 2498 โดยใช้แม่พิมพ์เดิมทั้งหมด วรรณจะออกขาวนวล ถึง ขาว และเข้าพิธีพุทธาภิเษก ราวต้นปี พ.ศ.2500
(นี่คือที่มาของเขื่อนเหลือง และ เขื่อนขาว ของวัดไชโยครับ) และนำออกให้เช่าบูชา ในวาระครบรอบ 170 ปี
แห่งชาตะกาลของสมเด็จฯ โต ท่าน ในปี พ.ศ.2501
|