พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

เหรียญที่ระลึก ครบ 4 รอบ ในหลวง


เหรียญที่ระลึก ครบ 4 รอบ ในหลวง


เหรียญที่ระลึก ครบ 4 รอบ ในหลวง

   
 

หรียญที่ระลึกในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชสมภพครบ 4 รอบ ปี 2518 นั้น ได้มีการสร้างเหรียญขึ้นมาซึ่งมีพิธีการที่จัดได้ว่ายิ่งใหญ่มากๆ โดยเป็นเหรียญที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็ออกแบบได้สวยงามดีทีเดียว นักนิยมพระมักเรียกกันง่ายๆว่า "เหรียญเต่า" คงเพราะรูปร่างของเหรียญมองแล้วคล้ายกับเต่า จำนวนการสร้างเหรียญมีดังนี้คือ
1.เนื้อทองคำ จำนวน 100 เหรียญ บริจาค 10,000 บาท
2.เนื้อนาค     จำนวน  55 เหรียญ บริจาค   5,000 บาท
3.เนื้อเงิน     จำนวน 750 เหรียญ บริจาค   1,000 บาท
4.เนื้อทองแดงจำนวน  1,000,000 เหรียญ บริจาค  100 บาท
เนื่องจากจำนวนการผลิตมีเป็นจำนวนมากจึงเชื่อว่าต้องมีการถอดพิมพ์ออกมาด้วยกันเป็นหลายแม่พิมพ์ทำให้เหรียญนี้มีหลายบล๊อกซึ่งจะแตกต่างกันในรายละเอียดเท่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อทองแดงครับ
ดังได้กล่าวแล้วว่าเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ในการสร้างครั้งนี้ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ได้ขอพระบรมราชาณุญาต สร้างเหรียญพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อทูลเกล้าฯถวาย เพื่อที่จะพระราชทานแก่ทหารตำรวจและอาสาสมัครรักษาดินแดนและประชาชนทั่วไปที่จะได้บริจาคบูชา ทางคณะสงฆ์ได้อาราธนาพระเถราจารย์ มาร่วมประกอบพิธีชัยมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยกำหนดพิธีมหาฤกษ์มหามงคลในวันที่ 1 เมษายน 2520 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน๕ โดยสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย พระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ 9 รูป จากวัดหลวงประจำรัชกาลทั้ง 9 วัด เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์49รูป ร่วมเจริญคาถานั่งปรกบริกรรมปลุกเสก ซึ่งประกอบด้วย 
1.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ 
2.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส 
3.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ 
4.พระธรรมศิริชัย วัดพระปฐมเจดีย์ 
5.พระเทพสาครมุนี (ลพ.แก้ว) วัดช่องลม 
6.พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรฯ 
7.พระเทพวราลังการ (ลป.ศรีจันทร์) วัดเลยหลง 
8.พระเทพวุฒาจารย์ (ลพ.เปลื้อง) วัดสุวรรณภูมิ 
9.พระราชอุทัยกวี 
10.พระราชญาณดิลก (ลพ.ชิต) วัดเขาเต่า หัวหิน 
11.พระราชภัทราจาร วัดราชบพิธฯ 
12.พระญาณสิทธาจารย์ 
13.พระชินวงศาจารย์ (ลพ.พุธ) วัดป่าสาลวัน 
14.พระวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม 
15.ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 
16.ลพ.ชา วัดหนองปาพง 
17.ลป.พรหมา วัดพระบาทตากผ้า 
18.ลพ.สนิท วัดศีลขันธ์ 
19.ลป.ดุลย์ วัดบูรพาราม 
20.ลพ.ใหญ่ วัดสะแก อยุธยา 
21.ลพ.บาง วัดหนองพลับ สระบุรี 
22.ลพ.เชื่อม วัดเกศไชโย อ่างทอง 
23.ลพ.เส็ง วัดน้อยนางหงษ์ 
24.ลพ.เที่ยง วัดม่วงชุม 
25.ลพ.ผิว วัดสง่างาม 
26.ครูบาอินทจักร วัดบ่อหลวง เชียงใหม่ 
27.ลป.บุญ วัดวังมะนาว 
28.ลพ.เชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ 
29.ลพ.แพ วัดพิกุลทอง 
30.ลพ.เริ่ม วัดจุกกระเฌอ ชลบุรี 
31.ลพ.ทอง วัดบ่อนอก ประจวบฯ 
32.ลพ.อ่อน วัดเพียมาตร ศรีสะเกษ 
33.ลพ.จ้วน วัดพระบาทเขาลูกช้าง 
34.ลพ.อุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม 
35.ลพ.เนื่อง วัดจุฬามนี 
36.ลพ.จ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ 
37.ลพ.กี๋ วัดหูช้าง 
38.ลพ.สิน วัดกิ่งแก้ว 
39.ลพ.ท่อน วัดศรีอภัยวัน จ.เลย 
40.ลพ.เฟื่อง วัดธรรมสถิต ระยอง 
41.พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสาลวัน หนองบัวลำภู 
42.ลป.สาม วัดป่าไตรวิเวก 
43.พระอจ.แว่น ธนปาโล วัดสุทธาวาส 
44.พระอจ.บุญ วัดศรีสว่างแดนดิน 
45.อจ.ผั่น วัดถ้ำเอราวัณ จ.เลย 
46.พระอจ.วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม 
47.พระอจ.หนู วัดดอยแม่ปั๋ง 
48.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ร้อยเอ็ด 
49.พระอจ.สมชาย วัดเขาสุกิม
จะเห็นได้ว่าคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีนี้มีทั้งสายพระบ้านและพระป่าที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นมากันอย่างครบครันเลยทีเดียวจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญดี พิธีเยี่ยมเหรียญหนึ่งของเมืองไทยซึ่งยังพอหาได้สำหรับเหรียญทองแดงในราคาที่ไม่แพงเกินไปนัก ในการแยกพิมพ์พระนั้นนักนิยมพระแยกกันออกเป็นสามพิมพ์ในเหรียญเนื้อทองแดงคือ
1. พิมพ์ปกติ ซึ่งจะหาได้ง่ายที่สุด
2. พิมพ์ด้านหลังบล็อกวงเดือนบน ซึ่งหาได้ยากค่านิยมจะแพงกว่าพิมพ์ปกติกว่าสองเท่าตัว
3. พิมพ์ด้านหลังบล็อกวงเดือนล่าง ซึ่งหาได้ยากที่สุดค่านิยมได้สูงกว่าบล็อกวงเดือนบน

 
     
โดย : noom_n4   [Feedback +22 -0] [+2 -0]   Fri 11, Nov 2016 03:05:27
 
 
เหรียญที่ระลึก ครบ 4 รอบ ในหลวง : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.