พระลือชัยไตรมาส หลวงปู่แหวน ปี2516 เนื้อดินทาทอง กรรมการ หายาก พระลือชัยไตรมาส หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่แหวนฯ ได้พุทธาภิเษกขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกในในการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ วัดไชยสถาน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เมื่อ 12 ตุลาคม 2516 ถือเป็นพระเนื้อดินยุคแรกของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ชาวเชียงใหม่รู้จักดีเรื่องประสบการณ์ป้องกันคุณไสย แคล้วคลาดปลอภัยดีนักแล.
หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครปฐม ท่านทำให้วัดศีรษะทองเป็นที่รู้จักและเลื่องชื่อโดยเฉพาะในเรื่องการกราบ ไหว้องค์ราหู เพื่อสะเดาะเคราะห์และขอพร เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังหรือได้ไปมาบ้างแล้ว "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จึงขอนำอัตโนประวัติโดยย่อและเรื่องราวของวัตถุมงคล "ราหูอมจันทร์" หลวงพ่อน้อย ศัสธโชโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ที่เมืองนครชัยศรี บิดาเป็นชาวลาวมาจากเวียงจันทน์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาอาคมและเครื่องรางของขลังต่างๆ หลวงพ่อน้อยจึงได้ศึกษากับบิดาตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดแค โดยพระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแคเป็นพระอุปัชฌาย์ พระภิกษุมุน วัดกลางคูเวียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระภิกษุลอย วัดแค เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ศัสธโชโต" ต่อมาท่านย้ายมาจำพรรษา ที่วัดศีรษะทอง ในสมัยที่พระอธิการลีเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด หลวงพ่อน้อยได้ฝึกฝนวิทยาอาคมจนแตกฉาน ท่านเป็นพระภิกษุที่มีศีลาจารวัตรงดงาม มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือกิจต่างๆ ของวัด ทั้งได้สร้างพระและเครื่องรางของขลังต่างๆ ขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ในการพัฒนาวัดศีรษะทองจน เจริญรุ่งเรือง ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากพระอธิการช้อย ปกครองและพัฒนาวัดเรื่อยมาจนมรณภาพในปี พ.ศ. 2490 สิริอายุได้ 55 ปี "ราหูหลวงพ่อน้อย" นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน เพราะมีคุณปรากฏเป็นเลิศทั้งด้านโชคลาภ การพ้นเคราะห์ และเสริมดวงชะตา กรรมวิธีการสร้างนั้นหลวงพ่อน้อยสืบทอดมาจากหลวงพ่อไตร อันเป็นการสร้างตามตำรับใบลาน จารอักขระขอมลาวที่นำมาจากประเทศลาวโดยตรง ซึ่งก็คือการใช้ "กะลาตาเดียว" มาแกะนั่นเอง "ราหูหลวงพ่อน้อย" แบ่งการแกะออกเป็น 2 ฝีมือ คือ ฝีมือช่างฝีมือภายในวัดและฝีมือชาวบ้าน ส่วนลายมือในการจารนั้นมี 4 ท่าน คือ หลวงพ่อน้อย ช่างลี ลูกศิษย์ตาปิ่น และพระอาจารย์สม ดังนั้นรูปแบบของราหูหลวงพ่อน้อยจึงมีความแตกต่างกันไปตามฝีมือและลายมือของ แต่ละท่าน ไม่เป็นมาตรฐานแปะๆ แบบการหล่อที่มีแม่พิมพ์ ประเด็นสำคัญอยู่ที่หลวงพ่อน้อยท่านเป็นผู้ปลุกเสกเองทั้งหมด ของดีๆ อย่างนี้ มีการเลียนแบบแน่นอน ดังนั้นพิจารณาให้ดีจากความเก่าและความเป็นธรรมชาติของเนื้อกะลาที่นำมาแกะ ถ้ากะลาที่ไม่ได้ผ่านการใช้เลยจะมีความแห้งและดูเก่า ส่วนกะลาที่ผ่านการใช้มาแล้ว เนื้อจะดูเป็นขุยและยุ่ย บอกได้คำเดียวว่า 1 เดียวในโลก!! ปล....เพิ่มเติมข้อมูล 4. สิ่งแวดล้อมพิเศษหรือการมีลักษณะพิเศษของพระราหูอมจันทร์ คือโดยส่วนมากของคหบดีในจังหวัดนครปฐมนั้น เมื่อได้พระราหูอมจันทร์จากหลวงพ่อน้อยก็มักจะนำพระราหูองค์นั้นไปเลี่ยม เป็นกรอบทองคำ,นาคและเงิน ถ้าพระราหูอมจันทร์อันใดถูกปิดด้านหลังที่หลวงพ่อน้อย ท่านจะให้นำแผ่นทอง,แผ่นเงินและแผ่นนาคมาให้ท่านจารอักขระแล้วนำไปติดด้าน หลังในการเลี่ยมแต่ละอัน