พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) พระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และอดีตเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุต)
เนื้อหา
ประวัติ กำเนิด พระพุทธพจนวราภรณ์ มีนามเดิมว่า จันทร์ แสงทอง
เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ที่บ้านท่ากองิ้ว ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรคนสุดท้องของนายจารินต๊ะและนางแสง แสงทอง พ.ศ. 2475 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนพุทธิโศภน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 4 เดือน จนพออ่านออกเขียนได้
อุปสมบท เดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 ได้บรรพาเป็นสามเณร ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร โดยมีพระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆสิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์[1] และได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ุ กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร โดยมีพระพุทธิโศภน (แหวว ธมฺมทินฺโน) เป็นพระอปัชฌาย์ พระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูพุทธิโศภน (ปั๋น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “กุสโล”
การศึกษา พระพุทธพจนวราภรณ์ สอบพระปริยัติธรรมได้ตามลำดับดังนี้
พ.ศ. 2476 สอบได้นักธรรมชั้นตรี จากสำนักเรียนวัดเจดีย์หลวง พ.ศ. 2479 สอบได้นักธรรมชั้นโท จากสำนักเรียนวัดเจดีย์หลวง
พ.ศ. 2481 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค จากสำนักเรียนวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
พ.ศ. 2482 สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค จากสำนักเรียนวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
พ.ศ. 2483 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค จากสำนักเรียนวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
นอกจากนี้ยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ทางด้าน การพัฒนาจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของไทย
ได้แก่ ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (พ.ศ. 2530)
ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2532)
ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2535)
และปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการวางแผนและพัฒนาชนบท จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (พ.ศ. 2538)
นอกจากนี้ท่านยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย อาทิ เป็นศิลปินแห่งชาติ ด้านวัฒนธรรม สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน และพระสงฆ์นักพัฒนาดีเด่น เป็นต้น
สมณศักดิ์
5 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวินัยโกศล[3]
5 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระวินัยโกศล[4]
5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวินยาภรณ์ สุนทรธรรมสาธิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
5 ธันวาคม พ.ศ. 2526 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกวี เมธีธรรมโฆสิต อรรถกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมดิลก ธรรมสาธกวิจิตราภรณ์ สุนทรพิพิธธรรมวาที ตรีปิฎกวิภูสิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
5 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพุทธพจนวราภรณ์ อดิศรวุฒิโสภณ วิมลศีลาจารวัตร วิสุทธิธรรมปฏิบัติวินยวาท พุทธศาสน์คณาธิกร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม
เครดิต วิกพิเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_(%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A5)
|