พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

เหรียญรุ่นแรกพระพุทธโกศัย บล็อก2


เหรียญรุ่นแรกพระพุทธโกศัย บล็อก2

   
 


เหรียญรุ่นแรกพระพุทธโกศัย บล็อก2


พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่

" พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี" หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกชื่อสั้นๆ ว่า "พระพุทธโกศัย" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแพร่ ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่

พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี สร้างขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2498 พร้อมกับสร้าง เหรียญพระพุทธโกศัย รุ่น 2498 หรือ เหรียญพระพุทธโกศัย รุ่น 1 ไปด้วย โดยมีนายชุณห์ นกแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ในขณะนั้น เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์

ส่วนประธานฝ่ายสงฆ์ คือ สมเด็จวันรัตนสังฆนายก วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ, พระครูใบฎีกาประหยัด วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นประธานฝ่ายพิธีกรรม พระครูพรหมวิหาร วัดสุทัศนเทพวราราม และคณะเป็นผู้สวดพุทธาภิเษก พร้อมด้วยเจ้าคณะ จังหวัดภาค 5 และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเกษม เขมโก จ.ลำปาง, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ จ.เชียงใหม่, หลวงพ่อวัดดอนตัน จ.น่าน, หลวงพ่อทองดำ เป็นต้น

พิธีปลุกเสกพระพุทธโกศัย เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2498 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2498 รวม 3 วัน 3 คืน มีปรากฏการณ์มหัศจรรย์ ขณะที่เททองพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีฝนตกปรอย พอตกกลางคืนมีฝนตกหนักตลอดคืน ทั้งที่เป็นหน้าแล้งหลังช่วงสงกรานต์ ปรากฏการณ์ สำคัญก่อนที่จะสร้างพระพุทธรูปโกศัยฯนั้น พระครูธรรมสารสุจิต วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ได้พบหนังสือใบลานผูกหนึ่ง เป็นตำราว่าด้วยการสร้างพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

ประวัติพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง
โดยตำราระบุไว้ว่า ถ้าสร้างพระพุทธรูปตรงกับวันขึ้น 1-2-3 ค่ำ เดือน 7 เหนือ หรือเดือน 5 ใต้ จะได้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งนายชุณห์ นกแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้ปรึกษากับฝ่ายสงฆ์ มี พระครูธรรมสารสุจิต วัดพระบาทมิ่งเมือง กำหนดที่จะสร้างพระพุทธรูปและเหรียญพระพุทธโกศัยขึ้นในวันที่ 22-23-24 เมษายน 2498 ตรงกับวันขึ้น 1-2-3 ค่ำ

พระพุทธโกศัยฯ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนผสมสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1 วา 5 นิ้ว ความสูง 1 วา 1 ศอก มีส่วนคล้ายพระพุทธชินราช ส่วนเหรียญพระพุทธโกศัย เป็นเหรียญสามเหลี่ยม ขนาดฐานกว้าง 1.5 ซ.ม. สูง 2.7 ซ.ม. บนยอดเหรียญมีหู เจาะเป็นรู แต่ไม่มีห่วงเหมือนเหรียญทั่วไป ด้านหน้าเหรียญเป็นพระพุทธรูปโกศัยประทับบนดอกบัว 2 ชั้น ชั้นละ 7 ดอก รวม 14 ดอก รอบองค์พระโกศัยจะเป็นซุ้มนาค ลักษณะเหมือนครีบนาคอยู่รอบองค์พระ ด้านหลังเหรียญเป็นรูปเจดีย์อยู่ข้างบนรอยพระบาท ใต้รอยพระบาทมีหนังสือเขียนไว้ 4 บรรทัด คือ ที่ระลึกหล่อพระประธานคู่บ้านคู่เมือง ณ วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่

คาถาบูชาพระพุทธโกศัย
สำหรับคำไหว้พระพุทธโกศัย ว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" (กล่าว 3 จบ)

" อะยัมปิโข พุทธะโกเสยยะสิริชะยะมะหาสักกะนะมุนี โกเสยยะนะตะวัสสะ ธะชัง ภัตวา สัมภาวิโต โกเสยยะนาคะรานัง สิริมังคะละปาทาราเม อุโปสะถาคาเร ปะติฏฐิโต อิมะเนวาหัง สิระสา นะมามิ เอตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเต"

เหรียญนี้ชื่อว่าเหรียญพระพุทธโกศัย รุ่นแรก ครับ พุทธคุณครบเครื่อง โด่งดังมากในภาคเหนือ พระพุทธโกศัย รุ่น 1" หรือ "เหรียญพระพุทธโกศัย 2498" เป็นเหรียญยอดนิยมของคนเมืองแพร่ ที่หลายคนเสาะแสวงหา เป็นของดีหายาก คนที่ครอบครองจะหวงแหน เพราะมีพุทธคุณครบทุกด้าน ได้แก่ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน ถือว่าเป็นวัตถุมงคลที่ผู้ใช้พบอภินิหาร มีประสบการณ์สูง
เหรียญพระพุทธโกศัย 2498 ชาวบ้านเรียกว่า "พระโกศัย รุ่น 1" มีประสบการณ์เลื่องลือมานาน เช่น นักเลงบ้านใหม่ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ ถูกคนร้ายดักยิงด้วยปืนลูกซองเข้าเต็มหน้าอก แต่ไม่เป็นอะไรในคอห้อยเหรียญพระพุทธโกศัย รุ่น 1 องค์เดียว

หมอชาวบ้านไปฉีดยาชาวบ้านทุ่งกวาว แต่เข็มฉีดยาไม่ระคายผิวผู้ป่วย เพราะมีพระพุทธโกศัยแขวนคอ พระครูหมื่น วัดค่างาม อ.สูงเม่น จ.แพร่ เห็นชายฉกรรจ์เสียสติควงมีดอีโต้ไล่ฟันพระเณรในวัด พระครูเข้าขวางจึงโดนฟันหลายครั้ง แต่คมมีดไม่ระคายผิวหนัง ด้วยพระครูมีพระพุทธโกศัยองค์เดียวคุ้มครอง

ด้วยพระพุทธคุณพระพุทธโกศัย รุ่น 1 ทำให้ผู้ใช้มีประสบการณ์ ประสบอภินิหารรอดตายหลายครั้ง ซึ่งเป็นที่ต้องการของคนเมืองแพร่และต่างจังหวัด ซึ่งขณะนี้นับวันจะหายาก เป็นของดีเมืองแพร่ที่ควรเสาะแสวงหา

 
     
โดย : ศิวิไล   [Feedback +55 -0] [+36 -1]   Sun 12, Jul 2015 22:56:42
 








 
 
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   [ 1 ] Sun 12, Jul 2015 23:01:13

 
เหรียญรุ่นแรกพระพุทธโกศัย บล็อก2 : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.