โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา
ขุนแผนรุ่นแรกเนื้อดำ ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล
|
|
|
|
|
|
พระ อธิการจันต๊ะ อนาวิโล ( ครูบาจันต๊ะ )เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28ก.พ.2468 ที่ตำบลหนองช้างคืน อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อเยาว์วัยได้มาเป็นลูกศิษย์วัดหนองช้างคืนเพื่อศึกษาเล่าเรียนจากครูบา อาจารย์หลายท่าน เมื่อมีอายุได้ 12ปีได้บรรพชา จนเมื่อท่านอายุได้ 20 ปีท่านก็ได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 5มิ.ย.2487 ท่านได้เล่าเรียนธรรมจนสอบธรรมสนามหลวงแผนกธรรม ชั้นโท พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองช้างคืนเมื่อ พ.ศ.2520 ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสและได้พัฒนาวัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น เป็นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ บูรณะอุโบสถ ท่านมีความเมตตาธรรมสูง มีความสามารถพิเศษในด้านการเทศน์ธรรมมหาชาติ กัณฑ์มัทรี และได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงว่าเป็นเกจิอาจารย์ในด้านเครื่องลางของขลัง วัตถุมงคล คาถาอาคมและยันต์ต่างๆเป็นต้น จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ในปี 2537 และปี 2542 ท่านได้สร้างพระเครื่องครั้งใหญ่ขึ้นโดยเป็นเนื้อผงพุทธคุณ ได้แก่ พิมพ์ขุนแผน ขุนช้าง สังขจาย ล.ป.ทวด กลีบบัว และปิดตา วัตถุมงคลรุ่นนี้ต่อมาภายหลังได้รับความนิยมของในพื้นที่มาก โดยมีความโดดเด่นในเรื่องเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ และแคล้วคลาดปลอดภัย โดยเฉพาะขุนแผนและขุนช้างนั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในเรื่องเมตตาและ มหาเสน่ห์โชคลาภ
ขุนแผนครูบาจันต๊ะ อนาวิโล จังหวัดลำพูน พระมาแรงแห่งยุค
ขุนแผน ครูบาจันต๊ะ(รุ่นแรก) เนื้อดำหายาก ออกปีพ.ศ.๒๕๓๗ มีส่วนผสมผงสมเด็จหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐและผงพรายกมารของปู่ทิมที่ลูกศิตษ์เก็บไว้นำผสมกับพระคง พระเปิม ที่หักด้วย คุณวิเศษไปทางด้านเมตตา มหานิยม ถือเป็นขุนแผนแห่งเมืองเหนือครับ ใครมีไว้ใช้บอกสุดยอดมากเลยครับ สาวรักสาวหลงครับ พุทธคุณที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่นักเล่นพระเชียงใหม่ลำพูน จำนวนสร้างชัดเจน และมีจำกัด ของเก๊ยังนับวันยิ่งพัฒนาฝีมือขึ้นมา ปัจจุบันเริ่มหายากแล้ว เพราะคนพากันหันมาเก็บกันมากขึ้น ด้านหลังองค์พระมีทั้งปั้มตราวัด จาร และไม่มีตราวัดครับ
เปิดตำนานเรื่องจริงยอดขุนแผนพลายกุมารอันดับ1ของทางเหนือที่เด่นเรื่องสตรีล้วนๆ
ท่านมรณะภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่26 ก.ค.2544 รวมสิริอายุได้ 76 ปี พรรษา56 เมื่อท่านมรณะภาพ ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น เมื่อฝูงผึ้งได้เข้ามาทำรังในโลงของท่านรังใหญ่ด้วยกัน ต่อเมื่อจะทำการพิธีพระราชทานเพลิงศพฝูงผึ้งเหล่านั้นกลับได้ออกไปเองโดยไม่ มีใครไปทำลายแต่อย่างใด ชมพระเพิ่มเติมได้ในเวปพระล้านนานะครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|