พระนางจามเทวีซุ้มเรือนแก้ว (ลือโขง) พิมพ์ย้อนยุคกรรมการ จัดสร้างชัดเจน ของจ.ลำพูน
เป็นพระที่มีพุทธศิลปะโดดเด่นที่สุดในพระสกุลลำพูน มีความวิจิตรงดงาม และความประณีตในฝีมือ การสร้างทั้งองค์พระประธาน ซุ้มเรือนแก้ว อยู่ในพิมพ์ทรงห้าเหลี่ยมแสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการ ปกป้องคุ้มภัย มีชื่อเสียงเลื่องลือไปไกล มีความมั่นคงในฐานะอาชีพ และความสมบูรณ์พูนสุข สมกับพุทธคุณ ที่ปรากฏ พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั้นขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัยเหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ในซุ้มเรือนแก้วประภามณฑลซึ่งตกแต่งด้วยใบระกาอีก 2 ชั้น อย่างอลังการเป็นพิเศษตามคตินิยมที่ทำใกล้เคียงกับซุ้มโขง ที่ปรากฏอยู่ธรรมสิคาสถูปที่พระเจ้าอลองสิทธิ์ธู สร้างขึ้นในกรุงพุกาม เมื่อปี พ.ศ. 1739 เป็นแบบอย่างศิลปะพุกาม ในช่วงเวลาที่ศิลปะหริภุญชัย แต่รูปแบบโดยรวมของพระจามเทวีซุ้มเรือนแก้ว (พระลือโขง) ยังคงรูปแบบของสมัยปาละผ่านทางศิลปะพุกามในช่วงเวลาที่ศิลปะหริภุญชัย และพุทธศาสนานิกายหินยาน เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในขณะนั้น พระนางจามเทวีซุ้มเรือนแก้ว ( พระลือโขง ) กรุเก่าสันกู่เหล็ก มีทั้งหมด 2 พิมพ์ คือ พิมพ์มีเกศ และพิมพ์เศียรโล้น (หัวเอียง, ตัวตรง, หน้ายิ้ม, หน้าดุ, พิมพ์เล็ก) พระกรุเก่าจะหายากมาก เช่าบูชาราคา 6-7 หลักสำหรับองค์ที่สมบูรณ์ เพราะพระที่ออกจากกรุมีจำนวนน้อย
ผงชนวนมวลสารสำคัญที่นำมาจัดสร้างพระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว (ลือโขง)พิมพ์ย้อนยุค
ดินจากวัดในจังหวัดลำพูนทั้งหมดรวมได้ 108 วัด ดินจากวัดประจำจังหวัด และวัดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในดินแดนล้านนาไทย ดังนี้ จ.ลำพูน จ.เชียงใหม่ จ.น่าน จ.แพร่ จ.สุโขทัย จ.ลำปาง จ.เชียงราย จ.พะเยา จ.แม่ฮ่องสอน จ.อุตรดิตถ์ จ.พิษณุโลก จ.กำแพงเพชร และจ.ตาก ดินจากวัดที่พระนางจามทวีสร้างพระอารามหลวงทั้ง 5 ทิศ รวมทั้งวัดลูกของพระอารามหลวง และกู่ร้างต่างๆในลำพูน ดินจากแหล่งอารยธรรมของพระเจ้าชัยวรมันต์ ในการก่อสร้างปราสาทนครธม-นครวัต ประเทศกัมพูชาที่เป็นต้นแบบอิทธิพลแก่ลพบุรี ดินเหนียวจากใจกลางแม่น้ำกวง และแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักในการกำเนิดนครหริภุญไชย มวลสารผงว่าน 108 ชนิด น้ำทิพย์ดอยขะม้อที่ใช้ในพิธีสรงน้ำองค์พระธาตุหริภุญชัยเดือนแปดเป็งในการผสมกับการหมักดิน พระเครื่องเก่าที่ชำรุดของกรุต่างๆ ในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง น้ำสรงองค์พระธาตุหริภุญชัยเดือนแปดเป็ง ดอกไม้เกสรจากการบูชาองค์พระธาตุหริภุญชัยฯ ผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิดผงธูปบูชาและดินจากเวชณียสถานที่ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพาน ณ ประเทศอินเดีย
-
พิธีบวงสรวงขออนุญาตในการจัดสร้างพระนางจามเทวีซุ้มเรือนแก้ว ( ลือโขง ) พิมพ์ย้อนยุค
-
ณ. วัดจามเทวี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ( วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 )
-
ณ. ลานอนุสาวรีย์พระนางเจ้าจามเทวี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ( วันที่ 18 กันยายน 2551 )
-
การขออนุญาตจัดสร้างจากเจ้าคณะจังหวัดลำพูน พร้อมหนังสือการอนุญาตให้จัดสร้าง
ที่ จจ.ลพ.119/2551ลงวันที่ 14 กันยายน 2551 ลงนามพระเทพมหาเจติยาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดลำพูน
-
พิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่ร่วมปิดทององค์พระธาตุฯปี 2551
-
ณ. วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ในวันเพ็ญพุธ ขึ้นสิบห้าค่ำ ( เดือนยี่เป็ง ) วันลอยกระทง ที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ณ บริเวณพิธีในรั้ว สัตตบัญชรรอบ องค์พระบรมธาตุหริภุญชัย เริ่มพิธีตั้งแต่ 16.19 น. เป็นต้นไป จนถึงเวลา 24.19 น. (เที่ยงคืน สิบเก้านาที) ดับเทียนชัย กำหนดการดังนี้
เวลา 16.19 น. ประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญเทวดาฟ้าดิน โดยหลวงพ่อพระครูพิมลสรภาณ (หลวงพ่อณรงค์) และคุณก้านแก้ว สุพรรณ
เวลา 17.19 น. พระมหาเถระทรงด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิจำนวน 36 รูป เจริญพระพุทธมนต์ภายในรั้วสัตตบัญชรรอบองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยทั้งสี่ทิศ
เวลา 18.39 น. พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่ เป็นประธานจุดเทียนชัย พระสงฆ์จตุรวรรค จำนวน 4 รูป สวดพุทธาภิเษก ( ใช้เวลา 2 ชั่วโมง) จากวัดสุทัศนเทพวราราม ต้นตำหรับแห่งการสร้างพระกริ่งที่ดังไปทั่วโลก
เวลา 21.30 น. พระสงฆ์จตุรวรรค จำนวน 4 รูป สวดบทภาณวาร (ใช้เวลา 1.30 ชั่วโมง)พระมหาเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในภาคเหนือ ชุดที่ 2 จำนวน 11 รูป นั่งบริกรรมภาวนาคาถา
เวลา 23.30 น. สวดเบิก ( พุทธาภิเษก ) ตามแบบประเพณีล้านนา 4 วาร รอบองคพระบรมธาตุหริภุญชัยทั้งสี่ทิศ
เวลา 24.19 น. พระเทพมหาเจติยาจารย์ ( หลวงพ่อไพบูลย์ ) เป็นประธานดับเทียนชัย เป็นเสร็จพิธี
-
พระมหาเถราจารย์ดังในการผนึกกำลังอธิฐานจิตในการปลุกเสก รวมทั้งหมด 80 รูป
-
ดำเนินการจัดสร้างรำลึก ปี 2551 โดย
-
สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลลำพูนเฉลิมฉลอง 55 ปีอนุบาลลำพูน จำนวนการสร้างทั้งหมด 3 พิมพ์ ดังนี้ พิมพ์พุทธศิลป์ สร้างจำนวน 5,500 องค์ บูชาองค์ละ 199 บาท, พิมพ์ย้อนยุค สร้างจำนวน 1,999 องค์ บูชาองค์ละ 599 บาท และพิมพ์ย้อนยุคกรรมการ สร้างจำนวน 999 องค์ บูชาองค์ละ 999 บาท ( ปัจจุบันยังมีวัตถุมงคลหลงเหลืออยู่บ้าง สอบถามได้ครับ 081-8824297 )
พิมพ์ดี มวลสารดี พิธีดี จุดประสงค์ดี มีไว้บูชา ไม่ผิดหวัง
สนใจเพิ่มเติม เชิญชมข้อมูลสินค้าในร้าน มีพระเกจิล้านนาที่หลากหลาย กรุณาคลิ๊กไปที “ ร้านพุทธรักษาล้านนา “ ..... ขอขอบพระคุณที่เยี่ยมชมสินค้าในร้านครับ .....
|