วัดมัชฌันติการาม(วัดน้อย) ได้ขออนุญาตจัดสร้างเพื่อหาปัจจัยก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล โดยหลวงปู่ได้ปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเป็นวัดฝ่ายธรรมยุตินิกายและเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นสาขาหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร -กล่องชุดกรรมการจัดสร้างไม่เกิน 100 ชุด ชุดละ 6 องค์มีดังนี้ 1.พระปิดตามหาลาโภเนื้อเงิน 2.พระปิดตามหาลาโภเนื้อนวโลหะ 3.พระเนื้อผงรูปเหมือนครึ่งองค์ 4.เหรียญมหาลาโภเนื้อเงิน 5.เหรียญมหาลาโภเนื้อนวโลหะ 6.เหรียญมหาลาโภเนื้อทองแดง ประวัติวัดมัชฌันติการาม(วัดน้อย) วัดมัชฌันติการาม เป็นวัดราษฎร์ เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกายหน้าวัดติดกับคลองบางเขนใหม่โดยมีซอยวงศ์สว่าง 11 ผ่านเขตแยกวัดกับโรงเรียนวัดมัชฌันติการามอยู่คนละฝั่งซอย เลขที่วัด 102 วัดมัชฌันติการาม ถนนวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ได้ให้การอุปถัมภ์ในการสร้างวัด เริ่มต้นนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เจ้าจอมมารดาเที่ยง เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ในปีพุทธศักราช 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดมัชฌันติการาม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ทรงอุปถัมภ์ต่อการสร้างวัด การตั้งชื่อวัดนั้นก็เนื่องมาจาก เจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็นผู้อุปถัมภ์ ในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “มัชฌันติการาม” ตามชื่อของผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด คือ มัชฌันติก และอารามซึ่งแปลมาตัวว่า เที่ยง และ วัด เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า “วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง” คนส่วนมากชอบเรียกว่า วัดน้อย เพราะง่ายต่อการออกเสียงกว่าคำว่าวัดมัชฌันติการาม สันนิษฐานว่าการเรียกวัดน้อยนี้ เพราะเป็นวัดของเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ซึ่งให้การอุปถัมภ์ ชาวบ้านทั่วไปถือว่า เป็นนางสนม เพื่อให้เข้าใจง่ายคู่กับวัดหลวง ซึ่งเป็นวัดของภรรยาหลวงให้การอุปถัมภ์เช่นเดียวกัน (อยู่ในซอยถัดไป ปัจจุบันวัดหลวงไม่มี เหลือแต่ที่ดินของวัด ซึ่งสำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้ดูแลอยู่) เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกในสมัยก่อน จึงมีพระอยู่จำพรรษาไม่กี่รูปต้องไปนิมนต์พระจากวัดอื่นมาอยู่จำพรรษาเช่น วัดราชาธิวาส วัดปทุมวนาราม วัดราชบพิธ และวัดบวรนิเวศวิหาร จนต่อมามีการตัดถนนวงศ์สว่างผ่านด้านหลังวัด ทางวัดพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา มีลุงแม้น-ป้าทองใบ ใบสนและราษฎรผู้มีจิตศรัทธา ช่วยกันบริจาคที่ดินตัดถนนเข้าวัดในสมัยพระครูวิจิตรธรรมสาร (อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 7) หลังจากนั้นทางวัดได้ขออนุญาตเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและบาลีขึ้น โดยเป็นสาขาของวัดบวรนิเวศวิหาร จึงเป็นเหตุให้มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรสอบได้ทั้งนักธรรมและบาลีเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องจากพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ตลอดมา รายละเอียดจำนวนการจัดสร้างในพิธีชุดมหาลาโภมีดังนี้ : เหรียญรุ่นมหาลาโภ -เนื้อเงิน จำนวนไม่เกิน 100 เหรียญ -เนื้อนวโลหะ จำนวน 300 เหรียญ -เนื้อทองแดง จำนวน 10000 เหรียญ พระปิดมหาลาโภ -เนื้อเงิน จำนวนไม่เกิน 100 องค์ -เนื้อนวโลหะ จำนวน 2000 องค์ พระเนื้อผง -พระปิดตามหาลาโภ จำนวน 1000 องค์ -พระเนื้อผงรูปเหมือนครึ่งองค์ 1000 องค์ ข้อมูล www.web-pra.com