โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา
กู่ช้าง..เจดีย์บรรจุช้างผู้ก่ำงาเขียว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวลำพูน
|
|
|
|
|
|
กู่ ช้าง หรือ ศาลเจ้าพ่อกู่ช้าง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งที่ชาวลำพูนให้ความเคารพสักการะ ด้วยความเชื่อที่ว่า “กู่ช้าง” เป็นเจดีย์บรรจุซากช้างพลายคู่บารมีของพระนางจามเทวีที่มีฤทธิ์ในการทำศึก ดังนั้นเมื่อมีเหตุต้องเดินทางไกลชาวบ้านจึงมักมากราบไหว้ขอพรให้สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ช่วยปกป้องคุ้มครอง กระทั่งปัจจุบันกู่ช้างได้กลายมาเป็นที่พึ่งทางใจของชาวลำพูนในการบนบานช่วย ให้สอบได้ หรือแม้แต่ขอให้สมหวังในสิ่งที่คิดไว้ กู่ ช้าง ตั้งอยู่ห่างจากวัดไก่แก้วไปทางทิศตะวันออกประมาณ 200 เมตร ลักษณะของกู่ช้างเป็นสถูปที่มีรูปทรงแปลกแตกต่างไปจากสถูปที่พบเห็นโดยทั่ว ไปในภาคเหนือ เพราะเป็นสถูปทรงกลมตั้งอยู่บนฐาน 3 ชั้น องค์สถูปมีลักษณะเป็นทรงกระบอกปลายมน (ทรงลอมฟาง) เหนือสถูปขึ้นไปมี แท่นคล้ายบันลังก์ของเจดีย์ ตามประวัติและความเป็นมากล่าวว่า เมื่อสมัยของพระนางจามเทวีพระองค์ทรงมีช้างคู่บารมีชื่อ “ผู้ก่ำงาเขียว” เป็นช้างที่มีฤทธิเดชมาก เมื่อช้างเชือกนี้หันหน้าไปทางศัตรูก็จะทำให้ศัตรูอ่อนกำลังลงทันที ช้างผู้ก่ำงาเขียวเชือกนี้ มีบทบาทในฐานะช้างศึกของเจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ เมื่อครั้งทรงออกศึกสงครามต้านทัพของหลวงวิรังคะ จนกระทั่งช้างเชือกนี้ล้มลงซึ่งตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 เหนือ เจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศจึงได้นำสรีระของช้างใส่ลงไปในแพไหลล่องไปตามลำ น้ำกวง แต่พระองค์ก็ได้ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะนำสรีระของช้างกลับขึ้นมาฝังบนฝั่ง
เพราะ ว่าช้างเชือกนี้เป็นช้างศักดิ์สิทธิ์คู่บุญบารมีของพระนางจามเทวี หากว่าปล่อยให้ล่องลงไปกับแพแล้ว จะทำให้ประชาชนที่อยู่ทางทิศใต้ลงไปได้รับความเดือดร้อนจึงได้อัญเชิญร่าง ของช้างลากกลับขึ้นมายังบริเวณท่าน้ำวัดไก่แก้ว แล้วลากมาฝังไว้ที่บริเวณกู่ช้างในปัจจุบัน หลังจากนั้นจึงได้ลงมือสร้างสถูปเป็นเวลาถึง 8 เดือนจึงแล้วเสร็จ ในการฝังช้างผู้ก่ำงาเขียวจะให้ซากของช้างหันหน้าขึ้นไปบนฟ้า ส่วนงาทั้งสองข้างของช้างถูกนำไปบรรจุไว้ในสถูปที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของ พระนางจามเทวีภายในสุวรรณจังโกฏหรือกู่กุด หลัก ฐานทางด้านโบราณคดีที่พบและรูปแบบของเจดีย์ ไม่ปรากฏร่องรอยของศิลปกรรมในสมัยหริภุญชัย ดังนั้นนักโบราณคดีจึงสันนิษฐานว่า เจดีย์กู่ช้าง เป็นเจดีย์ที่สร้างในสมัยล้านนาประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ขณะเดียวกันรูปทรงขององค์เจดีย์นั้นนักโบราณคดีต่างยอมรับว่ามีลักษณะรูปทรงที่คล้ายกับเจดีย์บอบอคยีของพม่าสมัยโบราณในอาณาจักรศรีเกษตร (อาณาจักรพยู)
นัก โบราณคดี ยังมองว่าในสมัยของพระเจ้าติโลกราช ถือได้ว่าเป็นยุคที่มีการจำลองเอารูปแบบของเจดีย์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นจำนวนมาก เช่น การนำเอารูปทรงของเจดีย์พุทธคยาในประเทศอินเดียมาสร้างที่วัดเจ็ดยอด และอาจเป็นไปได้ว่า เจดีย์กู่ช้างแห่งนี้ก็คงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชเช่นกัน โดยเลือกเอารูปทรงของเจดีย์บอบอคยีจากรัฐศรีเกษตรในพม่ามาเป็นต้นแบบ
อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่า เจดีย์กู่ช้าง จะสร้างในสมัยใด รูปทรงเป็นแบบไหน ไม่ใคร่มีความสำคัญมากนักต่อชาวเมืองลำพูน ทว่าด้วยความสำคัญในฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองและศรัทธาอัน แรงกล้าต่างหาก ที่ทำให้ชาวลำพูนพากันไปกราบสักการะอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ทุก ปีเมื่อถึงวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 ประชาชนที่เคารพนับถือเจ้าพ่อกู่ช้างจะจัดงานรดน้ำดำหัวและบวงสรวงเพื่อขอสู มาลาโทษและขอให้เจ้าพ่อกู่ช้างได้ปกป้องคุ้มครองรักษา ปราศจากโรคภัยและภยันตรายใด ๆ อยู่เสมอ
จักรพงษ์ คำบุญเรือง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|