พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

ครูบาชุ่มเนื้อเงิน2ตา(นิยม)สวยมากเดิมๆหายากแล้วครับ


ครูบาชุ่มเนื้อเงิน2ตา(นิยม)สวยมากเดิมๆหายากแล้วครับ


ครูบาชุ่มเนื้อเงิน2ตา(นิยม)สวยมากเดิมๆหายากแล้วครับ

   
 

(ประวัติ)ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย อ.เมือง จ.ลำพูน

ครูบาชุ่ม โพธิโก ท่านเกิด ณ.บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2442 ปีกุน โยมบิดาท่านชื่อ พ่อบุญโยมมารดา

ท่านชื่อแม่ลุน นามสกุล นันตละ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี

โดยมีครูบาอินตา วัดพระขาวลำพูนเป็นพระอุปัชฌาย์ท่านได้เล่าเรียนหนังสือกับ ท่านเจ้าอาวาสวังมุย จนอ่านออกเขียนได้ จึงได้มุ่งสู่จังหวัด

เชียงใหม่ เพื่อศึกษาเล่าเรียนไม่ว่าจะเป็น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง และสำนักต่างๆ ที่มีพระอาจารย์ เก่งๆ ประจำอยู่ เมื่ออายุม่านย่างเข้า 20 ปี

ท่านได้เดินทางกลับวัดวังมุยเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาอินตาเป็น พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่นเป็น พระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์ หลวงจ้อยเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "โพธิโก" ท่านได้ออกเดินทางไปศึกษาหาความรู้ด้านวิปัสนา กัมมัฎฐาน

นอกจากนั้นหลวงพ่อได้สนใจที่จะศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาอาคม และการพิชัยสงครามอีกด้วย ท่ายได้เดินทางไปศึกษากับครูบาสุริยะ

วัดท้าวบุญเรือง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ได้ศึกษาศาสตร์สนธิทั้งแปดมรรคแปดอรรคคาถาบาลี มูลกัจจาย จนท่านสามารถแปล

และผูกพระคาถาได้ เมื่อท่านศึกษาจนจบแล้ว ท่านได้ไปศึกษากับพระครูบาศรีวิชัย (คนละคนกับครูบาศรีวิชัยที่เป็นตนบุญล้านนา)

วัดร้องแหย่ ต.หนองแก๋ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ผู้เป็นพระอาจารย์ทางด้านวิปัสนากัมมัฎฐาน และเป็นพระนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น

ท่านครูบาองค์นี้มีอายุถึง 70 ปี แต่ยังแข็งแรง มีผิวพรรณสดใสและเป็นพระผู้มีปฏิปทามากผู้หนึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดอาคมไสยเวทย์

และการฝึกกระแสจิตควบคู่กันไป ในขณะที่ท่านอยู่ที่วัดร้องแหย่งนั้น ท่านครูบาศรีวิชัยแห่งวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ก็ได้มาเยี่ยมเยียนสัการะท่าน

ครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่งเสมอ และบางครั้งท่านได้อยู่จำวัดและร่วมสวดมนต์ทำวัตรและปฎิบัติกัมมัฎฐานด้วย และเห็นว่าท่านครูบาศรีวิชัย

วัดบ้านปางท่านมีความเคารพนับถือท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งมาก ต่อมากท่านได้ไปศึกษากับ ครูบาแสนวัดหนองหมู จ.ลำพูน เป็นเวลา 2 ปี

ท่านได้เดินทางกลับวัดวังมุย ต่อมาท่านได้ออกธุดงค์ไปยัง ต.บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงจนมีสานุศิษย์มากมายต่อจากนั้น

ท่านได้เดินทางไปถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระธาตุเก่าแก่มีประวัติเล่าขาลกันตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี

ตอนนั้นพระธาตุดอยเกิ้งนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะบูรณะองค์พระธาตุโดยมีชาวบ้าน ชาวเขามาร่วมในการครั้งนั้นมากมาย

กินเวลา 45 วัน จึงแล้วเสร็จหลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปจนถึง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง และอยู่บูรณะวัดห้างฉัตรเป็นเวลาถึง 3 พรรษา

และท่านได้สร้างสะพานต่างๆ มากมายเช่นสะพาน ต.ยุหว่า, สะพาน ต.สันทราย, สะพานป่าเดื่อ, สะพานวัดชัยชนะ ฯลฯ ในปี พ.ศ.2478

ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ 37 ปี ได้เข้าร่วมในการสร้าทางท่านได้มีโอกาสรับใช้อย่างใกล้ชิด

คราวท่านครูบาศรีวิชัยถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพหลวงพ่อได้รับหน้าที่ดูแลรักษาวัดรับแขกที่มาทำบุญแทนท่านครูบาฯ ท่านได้ร่วมบูรณะ

วัดวาอารามต่างๆ กับท่านครูบาศรีวิชัยมากมายขณะที่ครูบาศรีวิชัยป่วยอยู่ที่วัดจามเทวี ท่านได้ไปเฝ้าพยาบาล และท่านได้ร่วมกับ

ครูบาธรรมชัยวัดประตูป่า ให้ช่างมาปั้นรูปเหมือนครูบาศรีวิชัยเนื้อปูนปั้นและนำไปหาท่านครูบาที่วัด จามเทวี เมื่อครูบาท่านเห็นรูปของท่านแล้ว

น้ำตาได้เอ่อคลอเบ้าตาและท่านได้เอามือลูบไล้รูปเหมือนของท่าน และได้มอบพัดหางนกยูงและไม้เท้าของท่านให้ครูบาชุ่มและได้สั่งเสียว่า

ให้ท่านรักษาให้ดีให้ถือปฏิบัติเหมือนตัวแทนของท่าน 

    วัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ยันต์ตระกุดหนังลูกควายตายพราย รวมไปถึงผ้ายันต์และเสื้อยันต์ทำให้บรรดาศิยานุศิษย์

ของได้ได้ขออนุญาตจัดทำ และท่านเมตาผูกยันต์ลงอักขระให้ และท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวตลอดเจ็ดวัดเจ็ดคืนภายในวิหารวัดวังมุยก่อนที่

ท่านจะทำพิธีใหญ่ใน วันที่ 5 ธันวาคม 2517 โดยมีเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด พระเถระชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดลำพูน สวนเจริญพุทธมนต์

นั่งบริกรรมตลอดคืน จนถึงตอนเช้าได้วันที่ 6 ธันวาคม 2517 ได้สวดเบิกพระเนตรและมงคลสูตร แล้วเสร็จจึงทำบุญตักบาตรถวายภัตหาร

เสร็จพิธีจากนั้นคณะกรรมการจึงได้แจกจ่ายเหรียญให้ทันที่

จำนวนการสร้างวัตถุมงคลประเภทเหรียญของท่าน... 
เหรียญรูปไขใหญ่(ไม่มีหูห่วง) 
- เนื้อทองคำ 30 เหรียญ 
- เนื้อเงิน 999 เหรียญ 
- เนื้อนวะ 999 เหรียญ 
- เนื้อทองแดง 13,629 เหรียญ

เหรียญกลมโภคทรัพย์ 
- เนื้อเงิน 277 เหรียญ 
- เนื้อทองแดง 1,500 เหรียญ


เหรียญรูปไข่เล็ก(มีหูห่วง) 
- เนื้อทองคำ 19 เหรียญ 
- เนื้อนวะ 499 เหรียญ 
- เนื้อทองแดง 1,599 เหรียญ

 ครูบาชุ่ม ท่านมรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ.2519 สิริอายุได้ 78 ปี 65 พรรษา คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีของท่าน

และวัตถุมงคลของท่านซึ่งจากประสบการณ์ของผู้ที่ครอบครอง  วัตถุมงคลของท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ที่เล่าขานกันไม่รู้จบ

 
     
โดย : กร สารภี   [Feedback +104 -0] [+24 -0]   Thu 27, Feb 2014 21:05:34
 




 
 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Thu 27, Feb 2014 21:15:05





 
 
โดย : พระล่ามช้าง    [Feedback +62 -2] [+0 -0]   [ 2 ] Thu 27, Feb 2014 23:02:59





 
 
โดย : roonayut_pra    [Feedback +27 -0] [+2 -0]   [ 3 ] Fri 28, Feb 2014 06:05:30





 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 4 ] Fri 28, Feb 2014 09:47:39





 
 
โดย : ITIM    [Feedback +50 -0] [+1 -0]   [ 5 ] Fri 28, Feb 2014 22:17:32

 
ครูบาชุ่มเนื้อเงิน2ตา(นิยม)สวยมากเดิมๆหายากแล้วครับ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.