พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

๙๙๙ เหรียญแม่ครัวของครูบาเจ้าอินโต คันธวังโส ๙๙๙


๙๙๙ เหรียญแม่ครัวของครูบาเจ้าอินโต คันธวังโส ๙๙๙


๙๙๙ เหรียญแม่ครัวของครูบาเจ้าอินโต คันธวังโส ๙๙๙

   
 
ครูบาเมืองน้ำกว๊าน พระครูภาวนาธิคุณ หรือหลวงพ่อครูบาอินโต คันธะวังโส
นับเป็นพระเถราจารย์ที่ชาวพะเยาให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากการออกเหรียญรุ่นแรกที่สร้างเมือง ปี พ.ศ.2508 นั้น นับเป็นเหรียญที่มีการกล่าวเล่าลือถึงความขลังศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิรม งคลของผู้ได้ครอบครองบูชา กระทั่งมีความต้องการและแสวงหาของผู้คนทั่วไปอยู่ทุกวันนี้
ประวัติวัดบุญยืน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
วัดบุญยืน เดิมชื่อ วัดสร้อยคำ สร้างเมื่อ พ.ศ.2410 ปีมะแม จ.ศ.2649 ร.ศ.126 วัดสร้อยคำตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดบุญยืนในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันที่ดินของวัดสร้อยคำ ได้กลายเป็นที่ดินของชาวบ้านไปหมดแล้ว ต่อมาทางวัดบุญยืนโดยมีเจ้าอาวาสและคณะศรัทธา ได้พร้อมกันย้ายวัดมาตั้งอยู่ที่ใหม่เมื่อ ปี พ.ศ.2450 โดยเอาที่ดินของวัดสร้อยคำเดิมแลกเปลี่ยนกับที่ดินของ พ่ออุ้ยตื้อ เบิกบาน และเนื่องจากที่ดินของวัดยังคับแคบ ทางวัดจึงได้ขยายที่ดินให้กว้างออกไปโดยได้ซื้อที่ดินของชาวบ้านเพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 3 ไร่ 1 งาน โฉนดเลขที่ 91 เป็นจำนวนเงิน 7 แถบหรือรูปีย์(เงินแถบเป็นเงินที่ใช้สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1-2) และได้เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสร้อยคำ มาเป็น วัดศรีบุญยืน และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นวัดบุญยืน มาจนปัจจุบันนี้ วัดบุญยืน มีอาณาเขตที่ล้อมรอบด้วยทางสาธารณะประโยชน์ โดยภายในวัดมีอาคารและเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ 1 หลัง วิหารพระพุทธชินราชจำลอง 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง มณฑปที่ประดิษฐานรูปเหมือนครูบาอินโต 1 หลัง พระธาตุเจดีย์ 1 องค์ กุฏิสงฆ์ 6 หลัง จำนวน 17 ห้อง โรงครัว 1 ห้อง หอระฆัง 2 หลัง
ทำเนียบลำดับเจ้าอาวาสวัดบุญยืน
1. เจ้าอธิการอินตา พ.ศ.2459-2470 2.พระอธิการสาม พ.ศ.2472-2478 3.เจ้าอธิการคัมภีร์พ.ศ.2478-2492 4.เจ้าอธิการธัมชัย พ.ศ.2492-2496 5.พระครูภาวนาธิคุณ(ครูบาอินโต)พ.ศ.2498-2520 6.พระอธิการประเสริฐ พ.ศ.2522-2523 7.พระสมคิด พ.ศ.2525-2530 8.พระสุธี วรปัญโญ พ.ศ.2530-2536 9.พระอธิการจำรัส จันทะวังโส พ.ศ.2536-ปัจจุบัน พระครูภาวนาธิคุณ หลวงพ่อครูบาอินโต คันธะวังโส อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ได้ถือกำเนิดในตระกูล ยาเจริญ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2439 ตรงกับวันแรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปีวอก เป็นบุตรคนที่ 3 ของคุณพ่อหนานตา คุณแม่บัวคำ ยาเจริญ แห่งบ้านต๊ำเหล่า ต.สันนกกก อ.พะเยา จ.เชียงราย เดิมชื่อบุญมี ยาเจริญ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 8 คน คือ 1.นางปั่น 2.นายโป้ 3.เด็กชายบุญมี(ครูบาอินโต) 4.นางแก้ว 5.นายวงศ์ ยาเจริญ 6.นางคำยวง 7.นายมูล ยาเจริญ 8.นางแสงหล้า สุวรรณ ครอบครัวของคุณพ่อหนานตา คุณแม่บัวคำ ยาเจริญ เป็นครอบครัวใหญ่มีพี่น้องอยู่ด้วยกันหลายคน ทุกๆ คนต่างอยู่ด้วยกันด้วยความรักใคร่ ปรองดองและผูกพัน นอกจากนี้ยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติมิตรและเพื่อนบ้านอยู่เสมอครอบครัว ของคุณพ่อหนานตา จึงเป็นที่รักและนับถือของทุกคนในหมู่บ้าน ชีวิตเด็กชายบุญมี ยาเจริญ เป็นเด็กที่มีสัมมาคารวะอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่มีนิสัยเกเรก้าวร้าว ชอบทำบุญสุนทาน ไม่ชอบรังแกสัตว์ ว่านอนสอนง่าย มีน้ำใจต่อเพื่อนๆ จึงเป็นที่เอ็นดูรักใคร่ของผู้ใหญ่ มักติดตามคุณพ่อหนานตา คุณแม่บัวคำ ไปวัดทำบุญใส่บาตรอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กชายบุญมี เป็นเด็กที่มีจิตใจอ่อนโยนเมื่อเด็กชายบุญมี ยาเจริญ มีอายุได้ 10 ปี ผู้เป็นบิดาจึงได้พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระอธิการอภิชัย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ได้เรียนหนังสือพื้นเมือง อักษรพื้นเมืองหรือตัวหนังสือเมือง จนคล่องแคล่วชำนาญ ในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การเรียนหนังสือจะต้องใช้ตะเกียงส่องสว่าง เด็กชายบุญมี มีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและอุปัฏฐากรับใช้เจ้าอาวาสด้วยความเต็มใจ ขยันหมั่นเพียรทำความสะอาดวัดวาอารามมินิ่งดูดาย เมื่อเด็กชายบุญมีมีอายุได้ 12 ปี ก็ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2451 และได้รับฉายาว่า “อินตะ หรือ อินโต” นับตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณร ก็ถูกเรียกว่าสามเณรอินโต ตั้งแต่นั้นมา สามเณรอินโต ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยแบบพื้นเมือง ทั้งท่องสูตรสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานอย่างคล่องแคล่ว ในบางครั้งก็ท่องจำโดยให้เจ้าอาวาสเขียนลงบนแผ่นกระดานใช้ดินสอพองเขียน อักษรอักขระการท่องสูตรมนต์ต่างๆ ต้องท่องกันเป็นกลุ่ม โดยใช้แสงไฟจากตะเกียงและแสงเทียน สามเณรอินโตมีความจำแม่นยำดี มีปัญญาฉลาดไหวพริบดี โดยเฉพาะมีความสนใจในการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ เช่น กัณฑ์ชูชก กัณฑ์มหาราช ซึ่งการเทศน์ทั้งสองกัณฑ์หาผู้เทศน์เสมอท่านยาก ด้วยท่านนี้มีน้ำเสียงกังวานไพเราะและท่วงทำนองที่สนุกสนาน ท่านจึงเป็นที่ชื่นชอบของคณะศรัทธาเพราะในสมัยก่อนนิยมการฟังเทศน์มหาชาติ อย่างมาก เมื่อสามเณรอินโต มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดต๊ำเหล่า ต.ต๊ำ อ.พะเยา จ.เชียงราย โดยมีพระอภิวงศ์ อภิวังโส วัดต๋อมใต้เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปัญโญ วัดต๊ำม่อน เป็นพระกรรมวาจารย์ พระชัยลังกา วัดต๋อมดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2459 เวลา 11.00 น. ได้รับฉายาว่า คันธะวังโส พระอินโต คันธะวังโส ภิกษุหนุ่มที่มีความสนใจและใส่ใจต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะเบื้องต้นท่านมิได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย รู้แต่หนังสือพื้นเมืองอย่างเดียว จึงต้องการที่จะเรียนหนังสือไทย ปี พ.ศ.2460 พระอินโต ได้ไปศึกษาเล่าเรียนหนังสอไทยที่วัดศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.ลำปาง กระทั่งพอมีความรู้อ่านออกเขียนได้ ปี พ.ศ.2461 ท่านได้ไปศึกษาต่อที่เชียงใหม่ โดยไปจำพรรษาที่วัดป่าป่อง จ.เชียงใหม่ นานถึง 8 พรรษา จนมีความรู้ทางภาษาไทยดีและสอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2468 เรียนจบการศึกษาแล้ว ได้กลับมาอยู่ภูมิลำเนาเดิม โดยได้เป็นเจ้าอาวาสวัดต๊ำเหล่า พอดีตำแหน่งเจ้าคณะหมวดต๊ำว่างลง ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด(เจ้าคณะตำบล) ในปีนั้น ปี พ.ศ.2475 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ควบคุมการบวชบรรพชาอุปสมบท 3 ตำบล คือ ตำบลต๊ำ ตำบลใหม่ ตำบลแม่ปีม เพราะพระอุปัชฌาย์มีน้อย จึงแบ่งงานให้อุปัชฌาย์ควบคุมการบรรพชาเป็นสายๆ ปี พ.ศ.2481 ท่านได้ย้ายมาพำนักอยู่วัดบุญยืนครั้งคราว เพราะสะดวกใกล้ชิดกับพุทธศาสนิกชนผู้มาติดต่อการปกครองของคณะสงฆ์อำเภอพะเยา มีความผันแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ อย่างเหตุการณ์ที่เกิดจากพระครูโสภิตจริยากร เจ้าคณะอำเภอพะเยาได้ลาสิกขาบท พระอธิการชื่น วัดราชคฤห์รักษาการหน้าที่แทนในฐานะผู้ใกล้ชิด แต่มิได้เป็นพระคณาธิการแต่อย่างใด เพราะพระป้อม(บุญเลิศ)พระคณาธิการ วัดศรีอุโมงค์คำเป็นเจ้าคณะหมวด พระครูสุทธิสารเวที เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายไม่มีความเต็มใจที่จะแต่งตั้งท่านทั้งสอง มาทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะอำเภอพะเยาคนใหม่เพราะคุณสมบัติไม่สมบูรณ์ แต่เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายมีความต้องการที่จะแต่งตั้งท่านพระครูพินิตธรรม ประภาส(สว่าง โพธิ์ย้อย) ครูสอนพระปริยัติธรรมที่ย้ายมาจากอำเภอป่าซาง จ.ลำพูน เป็นเจ้าคณะอำเภอพะเยาแต่เมื่อขอมติจากทางคณะสงฆ์อำเภอพะเยา ก็ไม่เห็นชอบด้วย จึงเกิดความสับสนวุ่นวาย ขณะนั้นทางคณะสงฆ์ก็มีมติพ้องตรงกันว่า ครูบาอินโต คันธะวังโส ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์เป็นพระผู้ใหญ่เป็นที่รู้จักและศรัทธาเลื่อมใสของ ประชาชน จึงได้เสนอครูบาอินโต เป็นเจ้าคณะอำเภอพะเยา ตัวท่านเองก็ไม่อยากที่จะรับตำแหน่งนี้ แต่ถูกคณะสงฆ์ข้อร้องและมีมติแต่งตั้งเป็นเอกฉันท์ จึงจำต้องรับภาระตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพะเยาแต่โดยดีในปี พ.ศ.2483 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบุญยืนเป็นต้นมาจนกระทั่งมรณภาพ ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพะเยาอยู่นั้น ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของคณะสงฆ์อย่างดี เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพระภิกษุสามเณร พ่อค้า ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ด้วยท่านมีความโอบอ้อมอารีย์เผื่อแผ่ยิ่งนักครูบาอินโต คันธวังโส ดำรงค์ตำแหน่งหน้าที่เจ้าคณะอำเภอพะเยาได้ไม่นานก็ลาออก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2493 ต่อมาเจ้าคณะตำบลเวียงว่างลง แต่หาภิกษุที่สมควรเหมาะสมกับตำแหน่งไม่ได้ คณะสงฆ์อำเภอพะเยาจึงมีมติเลือกท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลเวียงอีกครั้ง ท่านถึงกับกล่าวว่า “เฮ้อ...เฮานี้เตเฮือนแล้วมาแป๋งตูบ” คือท่านเคยได้รับตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอมาแล้ว กลับมาได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลอีก เท่ากับรื้อตึกมาปลูกเป็นกระต๊อบ คิดแล้วน่าสงสารท่าน แต่ตัวท่านเองก็ไม่ยินดียินร้ายอะไร กลับอนุโมทนารับภาระไว้ท่านได้ส่งเสริมการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร ลูกศิษย์ให้ได้รับการศึกษาทางนักธรรมบาลี จนกระทั่งลูกศิษย์หลายหลายคนสอบได้ถึงเปรียญ และส่งเสริมการศึกษาฝ่ายสามัญ จนได้รับตำแหน่งหน้าที่ทางราชการก็มากมาย นับว่าท่านได้ส่งเสริมความรู้ทุกด้านแก่ลูกศิษย์เป็นอย่างดีครูบาอินโต คันธวังโส ท่านยังเป็นนักปฏิบัติ ท่านเคยเดินธุดงค์รูปเดียวถึงประเทศพม่า ถึงเมืองย่างกุ้ง ทางทิศเหนือจรดถึงรัฐเชียงตุง เลยไปถึงประเทศลาว กัมพูชา ท่านเดินธุดงค์มาหมด ด้านพุทธเวทย์ ท่านมีคาถาอาคมต่างๆ นับว่าท่านก็เอกอุทีเดียว สามารถท่องมนตราต่างๆ ได้ทั้งเล่ม ทั้งจากปั๊บสาและคัมภีร์ใบลาน ทั้งยังได้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยยาสมุนไพรให้กับญาติโยมที่มาขอรับ รักษา และได้สร้างเหรียญยันต์ของท่านให้ลูกศิษย์ลูกหาได้สักการบูชา นำรายได้ไปสร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย คาถาอาคมของท่านนับว่าศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนถึงบารมีในตัวท่าน ได้ปกปักรักษาคุ้มครองลูกศิษย์ให้อยู่รอดปลอดภัย เจริญด้วยเมตตายิ่งนัก อีกทั้งยังสามารถป้องกันอุบัติภัยภยันตรายต่างๆ รวมทั้งภูตผีปีศาจร้ายได้อย่างดี วันหนึ่งๆ จะมีสาธุชนหลั่งไหลไปกราบขอพึ่งบารมีท่านมากมายมิได้ขาด ซึ่งท่านก็เต็มใจให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง แม้บางครั้งท่านอาพาธก็ไม่เคยบ่นต่อว่าลูกศิษย์ที่มากราบขอความเมตตาจากท่าน เสนาสนะที่ครูบาอินโตสร้างในพุทธศาสนา ท่านได้ช่วยพัฒนาสร้างพระธาตุขึ้นที่วัดต๊ำเหล่า วัดเดิมที่ท่านได้บวชอุปสมบทที่นั่น เพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชาของศรัทธา เป็นพระธาตุแก้ววิเศษที่พ่อหนานเต็ม ใจลา ได้มาจากลูกแตงโมซึ่งไม่เน่าเปื่อย จึงได้นำมาให้ครูบาอินโตดูท่านจึงผ่าแตงโมออก ก็พบพระธาตุแก้ววิเศษอยู่ข้างในเป็นเหตุอัศจรรย์ยิ่งนัก พ่อหนานเต็ม ใจลา จึงได้มอบพระธาตุแก้ววิเศษถวายครูบาอินโต กระทั่งครูบาอินโตได้ทำการก่อสร้างพระธาตุขึ้น จึงได้นำพระธาตุแก้ววิเศษบรรจุไว้ พร้อมทั้งวัตถุมงคลและแก้วแหวนเงินทองต่างๆ ต่อมาทางวัดต๊ำเหล่าได้จัดให้มีพิธีสรงน้ำพระธาตุทุกปี ในเดือน 7 เป็ง ตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ ครูบาอินโต ยังได้สร้างหอธรรมเพื่อเก็บรวบรวมคัมภีร์ปั๊บสาและใบลานไว้ ยามท่านมาวัดต๊ำเหล่า ก็จะพักที่หอธรรมนี้เสมอ สร้างกุฎิสงฆ์ขนาดใหญ่ ไว้ให้พระภิกษุสามเณรได้อยู่อาศัยและเป็นที่รับรองสาธุชนที่มาทำบุญ ได้ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตประจำโบสถ์วัดต๊ำเหล่า ท่านได้จัดงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน มีพุทธศาสนิกชนมาร่วมพิธีมากมาย ท่านเองได้นั่งหนักตลอดงานพร้อมทั้งอาราธนาอัญเชิญพระพุทธรูปสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง สิงห์สาม มาจากน้ำอิง ต่อมาได้อาราธนาพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ ไปประดิษฐานที่วัดต๊ำนกกก วัดต๊ำป่าลาน และวัดต๊ำเหล่า และได้สร้างศาลาการเปรียญวัดต๊ำเหล่า สร้างพระธาตุโป่งขาม สร้างโรงเรียนบ้านต๊ำเหล่า สร้างพระธาตุวัดป่าแดงบุนนาค บริจาคพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว ให้แก่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม และได้ร่วมกับนายจันทร์ ยาดี สร้างวัดกาดถี ซ่อมแซมพระประธานวัดปันเจิง สร้างกำแพงวัดต๊ำเหล่า สร้างเสนาสนะในวัดบุญยืน สร้างศาลาบาตรวัดต๊ำเหล่า ช่วยบูรณะวัดร่องไผ่ วัดต๊ำดอนมูล วัดต๊ำน้ำล้อม วัดต๊ำนกกก วัดต๊ำป่าลาน วัดต๊ำพระแล วัดทุ่มท่า วัดห้วยเคียน วัดโป่งขามและตัดถนนจากป่าช้าไปถึงวัดป่าแดงบุนนาค สร้างถนนบ้านห้วยเคียนมาบ้านต๊ำนกกก โดยท่านนั่งหนักเป็นประธานก่อสร้างจนแล้วเสร็จครูบาอินโต ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูภาวนาธิคุณ เมื่อ ปี พ.ศ.2516 ยังความปลาบปลื้มให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาและสาธุชนเป็นอันมาก ต่อมาท่านเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะเรื่อยมา มีโรคประจำตัวหลายโรคแต่ที่มีอาการหนักมากคือ โรครูมาติซั่ม คือมีอาการปวดบวมตามข้อมือข้อเท้าและมีอาการมึนเมาเวียนศีรษะ ทั้งนี้แพทย์วินิจฉัยโรคมาว่า ท่านเป็นโรคตกเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ เนื่องจากฉันยาแก้ปวดข้อติดต่อกันมานาน อีกทั้งยังปวดหลัง ปวดเอวและปวดเมื่อยตามข้อต่างๆ รวมทั้งโรคแทรกซ้อนอีกมาก ประกอบกับตัวท่านเองก็ชราภาพมากแล้ว ลูกศิษย์ได้นำท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลพะเยา-เชียงรายประชานุเคราะห์ แต่อาการป่วยของท่านเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยอาการสงบ ณ วัดบุญยืน เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2520 เวลา 06.45 น. ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของคณาญาติ ศิษยานุศิษย์ กรรมการศรัทธา สิริรวมอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62 สรีระร่างกายของท่านได้บรรจุอยู่บนปราสาทนกหัสดีลิงค์ ที่ประดับตกแต่งอย่างประณีตวิจิตรบรรจงงดงาม สมกับเป็นมหาเถระผู้ยังประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนา เพื่อรับพระราชทานเพลิงศพ ณ ข่วงลานหน้าวัดพระเจ้าตนหลวงอย่างสมเกียรติ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2521 ครูบาอินโต คันธะวังโส ล่วงลับดับขันธ์ เหลือแต่คุณงามความดีอันยิ่งใหญ่ไพศาลของท่าน ที่จารึกอยู่ในใจของศรัทธาญาติโยม ยากที่จะลืมเลือนได้ พระมหาเถระนักพัฒนาผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม ค้ำจุนผดุงศาสนา พุทธบุตรของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง นาม “ครูบาอินโต คันธะวังโส” ท่านพระครูภาวนาธิคุณ ได้ทำนุบำรุงสถานที่ต่างๆ มากมาย กระทั่งสถานที่ศึกษาเล่าเรียนแล้ว ท่านยังจัดสร้างวัตถุมงคลและพระเครื่องพระบูชา เหรียญบูชา รูปหล่อ พระผง พระยอดขุนพล พระรอด ตะกรุด ผ้ายันต์ ฯลฯ และวัตถุมงคลของท่านล้วนแล้วมีประสบการณ์สูงแทบทั้งสิ้น เด่นด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นที่นิยมของชาวเมืองเหนือและพุทธศาสนิกชนมากมาย
 
     
โดย : พรมารดา   [Feedback +72 -1] [+0 -0]   Wed 11, Dec 2013 12:21:24
 








 
 
โดย : พรมารดา    [Feedback +72 -1] [+0 -0]   [ 1 ] Wed 11, Dec 2013 12:26:45





 

เหรียญงามขนาดเน้อครับ

 
โดย : roonayut_pra    [Feedback +27 -0] [+2 -0]   [ 2 ] Wed 11, Dec 2013 12:27:59









 
 
โดย : พรมารดา    [Feedback +72 -1] [+0 -0]   [ 3 ] Wed 11, Dec 2013 12:29:43

 

ป้าด   แสบตา

 
โดย : ดอยจี๋    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Wed 11, Dec 2013 14:26:45





 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 5 ] Wed 11, Dec 2013 15:57:30





 
 
โดย : ITIM    [Feedback +50 -0] [+1 -0]   [ 6 ] Wed 11, Dec 2013 20:49:21

 

ป้าดโถ้ทองๆทั้งนั้น$$$$$$$$$

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Thu 12, Dec 2013 10:35:28

 
๙๙๙ เหรียญแม่ครัวของครูบาเจ้าอินโต คันธวังโส ๙๙๙ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.