|
เหรียญปั๊มรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นในคราวสมโภช 600 ปี พระธาตุเจดีย์หลวง วัดพระเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่วัดเจดีย์หลวง มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราช กุฏาคาร, วัดโชติการาม มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พญากือนา พระราชบิดา แต่ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ.1934 หากสร้างไม่ทันเสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระมเหสีได้ควบคุมการก่อสร้างต่อมาจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า กู่หลวง แต่ครั้งนั้นสร้างไม่สูงใหญ่เท่าใดนักในรัช สมัยพญาติโลกราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ ดำเนินการซ่อมเสริมสร้างต่อสูงถึง 45 วา แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่มุขด้านตะวันออกขององค์เจดีย์ เป็นระยะเวลานานถึง 80 ปี คือ ระหว่างปี พ.ศ.2011-2091 หากแต่ในปี พ.ศ.2088 ในสมัยพระมหาเทวีจิรประภา ยอดเจดีย์หลวงได้หักลงมา เนื่องเพราะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2533-2535 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์หลวงขึ้น นอกจากนี้ วัดเจดีย์หลวงยังเป็นที่ตั้งของเสาอินทขีล ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่วัดสะดือเมือง เมื่อสมัยพระเจ้ากาวิละฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายเสาอินทขีลมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวง พร้อมกับสร้างวิหารครอบและปลูกต้นยางคู่ไว้ข้างวิหาร กับสร้างยักษ์ 2 ตนให้เฝ้ารักษาเสาอินทขีลในคราวงานสมโภช 600 ปี เจดีย์หลวง ได้มีการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ขึ้นมา ซึ่งออกแบบแกะลวดลายได้อย่างสวยงามมาก เป็นเหรียญที่มีความหนาถึง 3 มิลลิเมตร ที่ขอบเหรียญมีการตอกอักษรไว้ว่า "600 ปี วัดเจดีย์หลวง จ.เชียง ใหม่"เป็น "เหรียญดี" น่าเก็บสะสมยิ่ง ทั้งอายุการสร้าง 20 กว่าปี ความงดงามของเหรียญ ทั้งพิธีการสร้างที่นับว่าอลังการเป็นอย่างที่สุด ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกและสมโภช เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2538 ณ วัดเจดีย์หลวง มีพระเกจิอาจารย์ 600 รูป ร่วมพิธี โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธี พระเกจิอาจารย์ที่นับว่าโดดเด่น เช่น หลวงพ่อเปิ่น วัดกลางบางพระ จังหวัดนครปฐม หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี และยังมีหลวงพ่อวิริยังค์, หลวงปู่ท่อน, หลวงปู่แว่น, ครูบาน้อย, หลวงปู่คำพันธ์
|
|