ครูบาคำปัน สุภัทโท นามเดิม นายคำปัน รัตนภรณ์ เกิด เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ตรงกับเดือน ๑๐ เหนือ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเส็ง ณ บ้านสันโป่าง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของนายสิน และ นางคำ รัตนภรณ์ หลวง ปู่คำปัน สุภัทโท ได้เริ่มต้นเข้าสู่ใต้ร่มผ้ากา สาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ณ วัดสันโป่ง โดยมีท่านครูบาปัญญา เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ศึกษาอักขระภาษาไทย อักขระพื้นเมือง พระปริยัติธรรม กับพระอาจารย์อินต๊ะ และได้อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ พัทธสีมาวัดสันโป่ง โดยมีท่านพระครูมงคลญาณเถร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจันต๊ะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวง ปู่คำปัน ได้เรียนปริยัติธรรม ภาษาบาลี พระปรมัตถธรรม วิชาโหราเวทย์ ไสยเวทย์ และวิปัสสนากัมมัฏฐานจากสำนักอาจารย์ต่างๆ เช่น ครูบาปัญญา วัดสันโป่ง ครูบาอินต๊ะ วัดต้นแก้ว (รัตนาราม) ผู้เชี่ยวชาญทางอรรถกถา-บาลี ครูบาธรรมธิ วัดสะลวง ผู้เชี่ยวชาญทางพรหมศาสตร์ ครูบาอินตา วัดเหมืองผ่า (เจดีย์สถาน) เจ้าคุณ(ราชครูวัดฝายหิน) ครูบาอริยะ วัดดับภัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สุดท้ายองค์ท่านได้ฝึกอบรมศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ได้พบท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต หลัง จากออกพรรษาแล้ว กิจวัตรพิเศษคือ หลวงปู่คำปัน จะออกธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์เพื่อปฏิบัติธรรมแสวงหาความวิเวกทุกๆปี มิได้ขาด อยู่มากระทั้งครูบาปัญญา เจ้าอาวาสวัดสันโป่ง และเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่คำปัน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้มอบหมายตำแหน่งเจ้าอาวาสให้หลวงปู่คำปัน ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๒๖ ปี แม้หลวงปู่ จะรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสแล้ว แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัด กิจวัตรธุดงค์มิได้ขาด
ลุ ถึงสมัยหลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดพระธาตุจอมแตง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลวงปู่คำปัน ได้เข้าฝากตัวเป็นสานุศิษย์ศึกษา วิปัสสนากัมมัฏฐาน กับหลวงปู่มั่น จนรอบรู้แตกฉาน เป็นพระสุปฏิปันโน หลวงปู่ใหญ่มั่น ท่านมิได้ให้หลวงปู่คำปัน ญัตติเป็น ธรรมยุตินิกายไม่ แต่ให้คงไว้ซึ่งมหานิกายเดิม เพราะไม่ได้เป็นอุปสรรคประการใด ในการปฏิบัติธรรม พระเถระผู้ร่วมอาจารย์เดียวกัน และต่างไปมาหาสู่กันเสมอๆ คือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ,หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ,หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร เป็นต้น นับ แต่นั้นมา หลวงปู่คำปัน ก็ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ถือวัตรเอกา (ฉันมื้อเดียว) มักน้อย สันโดษ ไม่ยึดติด ไม่สะสม ไม่ติดในอามิสลาภผล ไม่มีปลิโพธกังวลในสิ่งใดๆ ตามแนวทางปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์มั่น แม้คราวเจ็บไข้อาพาธ นายแพทย์จะขอร้องให้ท่าน ฉัน ๒ มื้อ ท่านก็ไม่ยอม ท่านเคยพูดว่า " ถ้าให้ถอยหลังกลับไปมักมากฉันสองมื้ออีก ตายเสียไม่ดีกว่าหรือ.." องค์ หลวงปู่่คำปัน รักธรรมยิ่งกว่าชีวิต ท่านได้วางตนเป็นแบบอย่างอันดีเยี่ยม ตามแบบพระบูรพาจารย์ที่ท่านได้ศึกษาอบรมมา แม้จะเป็นผู้เงียบสงบ มักน้อย พูดน้อย ไม่โฆษณาโอหัง ไม่เผยแผ่ด้วยวาจา แต่ได้ดำเนินการเผยแผ่แบบปฏิบัติทำตนเป็นตัวอย่าง เรียกว่า สั่งสอนด้วยการทำให้ดู ซึ่งเป็นหลักการเผยแผ่ทางหนึ่ง
รูป เหมือนใบโพธิ์ ครูบาคำปัน วัดสันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เนื้อนวะโลหะ สร้างจำนวน 799 องค์ ฝีมีการแกะแม่พิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ.
คลิ๊กเข้ามาดูด้วยความอิฉาครับ...สวยแต๊ๆ
โอ้โฮงามแต้งามว่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆ