องค์ที่2
พระหยกเชียงราย หน้าตัก5นิ้วพร้อมกล่องเดิมๆ จากวัด แกะจากหยกประเทศแคนาดา พีธีใหญ่วัดพระแก้ว เป็นหยกเนื้อเดียวกัน ก้อนเดียวกัน กับองค์ที่ประดิษฐานอยู่วัดพระแก้ว จ.เชียงรายปัจจุบันนี้
องค์นี้พึ่งนิมนต์มาสดๆร้อนๆครับ กว่าจะได้มาแสนยากครับ ยังดีที่ผู้ใหญ่ใจดีท่านแบ่งให้ครับ เพราะเป็นพระที่หายากส่วนมากก็เก็บหมดครับ เป็นพระพุทธรูปที่มีคุณค่ามากน่าบูชาครับ ทั้งคุณค่าในตัวองค์เนื้อพระพุทธรูปเอง ที่แกะจากหยกประเทศ แคนนาดา หยกที่สวยที่สุด และงดงามมากครับ และพุทธคุณครับ
องค์นี้หยกสวยมากครับ เขียวมรกตครับ เรียกได้ว่า เกรดA ครับ หยกที่มีสีเขียวสดเข้ม มีไม่กี่องค์ครับที่เขียวสวยขนาดนี้ ส่วนมากที่เจอก็จะมีสีขาว ผสมในเนื้อหยกเยอะ บางท่านก็ตีไปเป็นปลายหยก หยกเกรด B ,C คับ ในจำนวนสร้างทั้งหมดจาก 2534 องค์ ตรงตามปี พ.ศ สร้าง องค์นี้แกะจากโรงงานที่ 1 คือ โรงงานวาลินนานกู เมืองปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คือโรงงานแม่ จึงแกะออกมาได้เหมือนองค์จริง และองค์อื่นๆ แ่บ่งส่งไปแกะที่โรงงานลูก อีก 2 แห่ง
ราคาสั่งจองตอนนั้น ปี 2534 ราคา 49,999บาท ถือว่าสมัยนั้นเงินหลักหมื่นถือว่ามากมายเหมือนกัน ส่วนมากผู้ที่ทำบุญสั่งจอง จะเป็นข้าราชการ ครู อาจารย์ นายธนาคาร ที่มีกำลังทรัพย์ บูชาแล้วเก็บยาว เลยจนมาปัจจุบันนี้ กลายเป็นพระที่หายาก และน้อยคนที่จะปล่อยออกมาให้เช่าบูชาครับ
ประวัติการสร้าง
“พระแก้วหยกเชียงราย” สร้างด้วยหยกชนิดที่ดีที่สุดจากประเทศแคนาดา ซึ่งมิสเตอร์ ฮูเวิร์ด โล เป็นผู้นำมาถวายเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย โดยมีอาจารย์กนก วิศวะกุล เป็นผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งให้มิสเตอร์เหยน หวุน หุ้ย นายช่างแกะสลักหยกของโรงงานวาลินนานกู เมืองปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้แกะสลัก โดยได้รับความอุปถัมภ์จาก พณฯ พลเอกชาติชาย และท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัน เป็นประธานอุปถัมภ์และบริจาคเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้าง
เมื่อการแกะสลัก “พระแก้วหยกเชียงราย” เสร็จเรียบร้อยแล้ว มิสเตอร์ฮูเวิร์ด โล ได้กราบอาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ พร้อมด้วย พระราชรัตนากร (สมณศักดิ์ในขณะนั้นของพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระแก้วเชียงรายรูปปัจจุบัน) และคณะรวม ๑๕ ท่าน เดินทางไปรับมอบถวาย ซึ่งได้ประกอบพิธีขึ้น ณ พระวิหารวัดกวางจี้ มหานครปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ในพิธีนี้ ได้มีพระสงฆ์จีนและชาวพุทธเมืองปักกิ่งมาร่วมพิธีจำนวนหลายร้อยคน
เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี้ ได้พระราชทานนามพระพุทธรูปหยกว่า “พระพุทธรตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล” แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นอากรแห่งรัตนะ เป็นอนุสรณ์ ๙๐ พรรษา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามสามัญว่า “พระหยกเชียงราย”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ในวันศุกร์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ และได้เสด็จพระราชดำเนินในพิธี ตั้งแต่ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย และทรงจุดเทียนชนวนถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงจุดเทียนชัย
ทางจังหวัดเชียงรายได้จัดทำพิธีอัญเชิญและสมโภช“พระหยกเชียงราย” ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยในวันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ ได้เริ่มเคลื่อนขบวนรถอัญเชิญพระแก้วหยกจากวัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และในวันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๐๙.๐๙ น. ขบวนอัญเชิญพระพุทธรูปเข้าเมือง อันประกอบด้วยขบวนเสลี่ยง เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ขบวนพระสงฆ์ ๑๐๐๐ รูป และขบวนแห่งเครื่องสักการบูชา นำโดยท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัน ก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่วัดพระแก้วเชียงราย
|