นานแล้วครับที่ไม่ได้เอาอะไรมาโชว์
ผม ธันชนก และ หนานน้อย เคยเสนอเรื่องพระพุทธรัศมีพรหม18เกศาธาตุพระอริยะเจ้า ที่คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้เคยสร้างไว้มาโชว์
แต่ครั้งนี้ครับ ประวัติศาสตร์หน้านี้ได้นำมาแผยแพร่เวปพระล้านนาแห่งนี้อีกครั้งทั้งรูปภาพเหตุการณ์ประวัติความเป็นมาสาเหตุที่มาแห่งการณ์สร้างพระชุดนี้ครับ
เมื่อครั้งที่ครูบาขันแก้วท่านยังดำรงขันธ์ในปีพ.ศ.2525 อาจารย์หมอสมสุข คงอุไร ท่านมีโครงการจะสร้างรูปหล่อพระพุทธ เป็นพระกริ่ง และพระชัยซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงห์หนึ่งประจำคณะศิษย์รัศมีพรหม ที่เหล่าบรรดาชาวคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกให้ความเคารพ และพร้อมกันนี้จึงได้จัดสร้างรูปหล่อครูบาขันแก้วรุ่นที่2ขนาดเล็ก(ไม่สวมลูกประคำ)พร้อมกัน โดยขออนุญาตเมตตาจากครูบาขันแก้วเป็นเจ้าพิธี และจะทำการหล่อพระที่ในวัดสันพระเจ้าแดง ณ เวลาช่วงนั้น
อาจารย์หมอสมสุขได้จัดการดำเนินการเตรีมพร้อมทุกอย่าง....แต่เหตุการณ์นี้ก็ต้องเลื่อนไปก่อนเมื่อครูบาขันแก้วเกิดล้มป่วย ร่างกายไม่แข็งแรงเข้าโรงพยาบาลตรวจร่างกายอยู่เรื่อยๆ จนถึงเหตุการณ์อันหน้าเศร้าของเหล่าบรรดาลูกศิษย์ครูบาขันแก้วท่านก็ได้เกิดขึ้นเมื่อครูบาขันแก้วท่านมรณะภาพลงเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2526
เมื่อทำการจัดการเรื่องงานศพเสร็จแล้วอาจารย์มอสมสุข ก็มึนสิครับงานนี้เพราะเจ้าพิธีคือครูบาขันแก้วท่านมรณะแล้วจนต้องยกเลิกที่จะทำทั้งที่มีการเตรียมการมานาน แต่เหตุการณ์ในเรื่องการสร้างพระชุดนี้ได้ล่วงรู้ถึงครูบาหล้า วัดป่าตึง(ครูบาหล้าตาทิพย์) สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ทั้งที่ไม่มีใครบอกท่านแต่ท่านก็ล่วงรู้ด้วยอำนาจจิตแห่งพระอริยะเจ้า ท่านก็ได้มาบอกกับ อาจารย์หมอว่า “งานพิธีหล่อพระของครูบาขันแก้วนี้ ท่านอาสาเป็นเจ้าพิธีให้เองให้โยมหมอกำหนดวันมาเลย” สร้างความประหลาดใจให้กับอาจารย์หมอสมสุขเป็นอย่างมาก จนเมื่อถึงวันที่ 21เดือน สิงหาคม ในปี2526 ซึ่งตรงกับวันมรณะภาพของครูบาขันแก้วครบ50วันทางวัดสันพระเจ้าแดงได้มีการเปิดพระศพของครูบาขันแก้วและเป็นที่ตะลึงกันทั่วว่าศพของครูบาขันแก้วท่านไม่เน่าไม่เปื่อย ผม และเล็บงอก ศพเหมือนเพิ่งมรณภาพใหม่ ยังเห็นดวงตาไม่มีการบุบสลายแต่อย่างใด เป็นที่ปราบปลื้มใจกับบรรดาลูกศิษย์ของครูบาขันแก้ว และในวันนั้นเองในช่วงเวลา10.09พิธีการจัดสร้างพระและรูปหล่อรุ่น2ของครูบาขันแก้วก็ได้เริ่มขึ้น ครูบาหล้าท่านเดินทางมาถึงพิธีที่วัดสันพระเจ้าแดงและก็ได้ทำการบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์ พระเจ้าแดงพระพุทธรูปศักสิทธิ์ประจำวัดและเทพยดาทุกพระองค์จนถึงครูบาขันแก้ว ครูบาอินทจักรักษา วัดน้ำบ่อหลวง ครูบาชุม โพธิโกและหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค การหล่อพระก็ให้เหล่าบรรดาคณะศิษย์รัศมีรพรมช่วยกันหล่อ โดยการนุ่งขาวห่มขาวและถือศีล8อย่างน้อย7วัน
การจัดการสร้างพระพุทธรูปขนาดพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ ออกแบบการปั้น และควบคุมการหล่อพระในงานนี้โดยช่างที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมือหนึ่งในคณะนั้นคือ อาจารย์ กิจจา วาจาสัจ
พระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ สร้างอย่างละ1000องค์
**พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ไม่มีกริ่งนะครับ อาจารย์หมอสมสุขท่านได้นำพระเกษาพระอริยะเจ้าทั้ง18องค์ มาบรรจุไต้ฐาน ผงพุทธคุณแก้ว3ดวง หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค เทียนชันเสกของครูบาขันแก้ว มาบรรจุที่ไต้ฐานพระ ปิดฝา ตอกโค๊ต รพก (รัศมีพรหมโพธิโก)
รูปเหมือนครูบาขันแก้วรุ่น2(ไม่สวมประคำ) สร้าง 2000 องค์
**บรรจุพระเกศาครูบาขันแก้ว ผงพุทธคุณแก้ว3ดวงหลวงพ่อพรหม เทียนชันเสกของครูบาขันแก้ว ปิดฝาตอกโค๊ต รพก เช่นกัน
มวลสารในการสร้างครั้งนี้คือ
1.ทองจังโก๋หุ้มพระธาตุดอยห้างบาตรที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณะและได้เจริญพุทธมนต์ให้(ครูบาขันแก้วเก็บรักษาไว้)ใส่จำนวนมาก
2.ทองระฆังหลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค (ใส่จำนวนมาก)
3.แผ่นยันต์ต่างๆที่ครูบาขันแก้วสร้างไว้ เช่น ยันต์ดาบสรี๋กัญชัย ฯลฯ
4.แผ่นจารยันต์ที่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้าท่านให้มาเป็นชนวนผสม
5.ตะกรุดของหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ที่ อาจารย์หมอสมสุขได้จากหลวงพ่อพรหมโดยตรง
ในช่วงเวลาที่ดำเนินการเททองหล่อพระนั้นได้เกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้นในพิธี ได้มีฝนตกลงมาทั่วบริเวณรอบวัดสันพระเจ้าแดง แต่ ในวัดกลับไม่มีฝนแม้แต่นิดเดียว
เมื่อพิธีหล่อพระดำเนินการเสร็จ ครูบาหล้า ท่านก็ได้กล่าวว่า พิธีนี้ขลังและศักสิทธิ์มาก เมื่อการสร้างพระชุดนี้เสร็จก็ยังไม่มีการแจกให้ทำบุญแต่อย่างใด อาจารย์หมอนำพระชุดนี้เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระธาตุดอยน้อยในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2527โดยครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้าในพิธีตั้งอนุเสาวรีย์ของครูบาพรหมจักร ที่วัดพระธาตุดอยน้อยเหตุการณ์ประวัติศาสตร์คือครูบาพระพุทธบาทตากผ้าเข้านิโรธสมาบัติครั้งสุดท้ายในชีวิตท่านและเป็นการปลุกเสกพระวัตถุมงคลครั้งสุดท้ายเช่นกัน ก่อนที่ครูบาพระพุทธบาทจะมรณะภาพ ในวันที่ 17 สิหาคม 2527 อีก3วันต่อมา และหลังจากนั้นอาจารย์หมอสมสุขก็ยังได้ขอความเมตตาจากหลวงพ่อต่างๆพุทธาภิเษกอีกหลายๆวาระและหลายๆหลวงพ่อ ดังมีรายนามหลวงพ่อบางส่วนเท่าที่จำได้คือ....
ครูบาสุรินทร์ สุรินโท วัดหลวงศรีเตี๊ย บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่
ครูบาบุญมี ชยวุฒโธ วัดท่าสะต๋อย จ.เชียงใหม่
ครูบา สิงห์วิชัย วัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่
หลวงปู่ ธรรมธิ วัดสันป่าตึง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
หลวงปู่เจ๊ก วัดระนาม จ.สิงห์บุรี
หลวงปู่สุภา กนนฺตสีโล วัดเขารัง จ.ภูเก็ต
หลวงพ่อชม วัดโป่งนาเกลือ จ.ชลบุรี
หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร วัดวังหว้า อ.แกลง ระยอง
หลวงพ่อท่านกลั่น วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง
หลวงพ่อท่านแก้ว วัดโคกโดน จ.พัทลุง
หลวงพ่อร่วง วาจาสิทธิ์ วัดศาลาโพธิ์ จ.สงขลา
หลวงพ่อสีนวล วัดเกวียนหัก จ.จันทบุรี
หลวงพ่อเผื่อน วัดสามบัณฑิต จ.อยุธยา
หลวงพ่อสายหยุด วัดบางน้ำผึ้งนอก จ.สมุทรปราการ
หลวงพ่อท่านเนียร สำนักสงฆ์วัดต้นเลียบ จ.สงขลา
พ่อท่านแดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี
พ่อท่านทวดทอง วัดป่ากอ อ.นาหม่อม จ.สงขลา
และอีกมากครับ จำไม่หมด
ทางลูกศิษย์แห่งคณะศิษย์รัศมีพรหมนั้นใครอยากได้ไว้บูชาจริงๆต้องไปขอบูชาจากอาจารย์หมอสมสุขเองเงินที่ทำบุญนั้นได้มีการจัดสร้างผ้าป่ามาถวายวัดพระธาตุดอยน้อย วัดป่าตึง วัดสันพระเจ้าแดง ขึ้นอยู่กับวาสนาด้วยครับว่าท่านจะให้หรือไม่เพราะ(ลูกศิษย์บางคน อาจารย์หมอท่านแจกให้เฉยๆครับ)
นี่แหละครับพระพุทธรูปเล็กๆนี้เหล่าบรรดาคณะศิษย์รัษมีพรหมโคตรหวงสุดๆ จะไม่ไห้หวงได้อย่างไรครับ ประวัติศาสตร์แห่ง18พระเกษาพระอริยะเจ้าที่ถือได้ว่าเป็นอันดับ1แห่งรัศมีพรหมโพธิโก ทั้งพิธี เจตนา การสร้าง มวลสารดีนอกและดีใน การตอกโค๊ตชัดเจน พุทธคุณสุดคำบรรยายครับ
ปล.ใครมีผมก็ยินดีด้วยนะครับพุทธคุณแห่งพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อว่า 18เกษาพระอริยะเจ้า (เพราะไม่มีใครเขายอมออกให้บูชากันครับลองไปถามคนของรัศมีพรหมสิครับ ส่ายหัวกันหมด)
|