พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยวัดพันหลัง
เมื่อประมาณเดือน ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ซึ่งตรงกับงานจอบ๕ ข้าพเจ้าได้มีโอกาส ได้รับเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดพันหลัง มาหนึ่งองค์(วัดพันหลัง ต.สำราณราษฏร์ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่) จากเซียนพระรุ่นพี่สายตรงครูบาเจ้าศรีวิชัย (ไม่ขอเอยนาม) และท่านเองก็ได้ขอให้ผมหาข้อมูลเกศาครูบาศรีวิชัยวัดพันหลัง เพื่อได้เผยแพร่ความจริง ว่าเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยองค์นี้ ได้สร้างในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัยยังมีชีวิตอยู่นั้นเอง และบันจุปันยังพอพบเห็นในท้องตลอดพระ แต่ไม่ได้รับความนิยม หรือไม่มีใครรู้จักและไม่รู้ค่าในจิตศรัทธานั้นเอง ข้าพเจ้าได้ไปสอบถวามเซียนพระรุ่นใหญ่หายคนที่มีอายุมากพอสมควร ก็ไม่ทราบบ้างประวัติคุมเครือบ้าง เซียนรุ่นใหม่ไฟแรงหลายคนที่เป็นสายตรงก็ไม่เคยมีใครรู้จักเลย ดังนั้นก่อนที่ข้อมูลจะหายสาบสูญไปเรื่อย ๆ ข้าพเจ้ารับปากว่าจะทำให้สำเร็จ และได้สืบเสาะ,ค้นหาและศึกษาข้อมูล รวมถึงประวัติวัดพันหลัง จึงได้เดินทางไปยังวัดพันหลัง โดยได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจาก พระประสิทธิ ภัททณาโน,พระครูสุนทรพัฒนาภิรัต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และชาวบ้านที่มายังวัดพันหลัง
ท่านเชื่อไหมว่า ณ ปัจจุบัน ประวัติวัดพันหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นเว็ปไซค์ใด ๆในโลกเลย แม้กระทั่ง เว็ปไซค์ของ “วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี” ที่ข้าพเจ้าได้เปิดเข้าไปดูบ่อย ๆ เชื่อไหมว่า ทุกวัดที่มีอยู่ในอำเภอดอยสะเก็ด มีอยู่วัดเดี่ยวที่ไม่มีชื่อ ก็คือวัดพันหลัง แห่งนี้ น่าประหลาดใจมาก เพราะวัดแห่งนี้อยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่และเกี่ยวกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เช่นเดี่ยวกันกับวัดอื่นๆ แต่ไม่มีผู้ใดจะมาช่วยเหลือวัดแห่งนี้ได้มีข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ อีกทั่งวงการพระเครื่องบ้านเราให้ความสนใจแต่พระเครื่องราคาแฟงและเป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ เลยมองข้ามไป เกือบถูกลบไปจากหน้าประวัติศาสตร์เลยซะงั้น..
มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ ว่าความเป็นมาของพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยวัดพันหลัง มีความเป็นมาอย่าง ส่วนประวัติวัดพันหลัง ข้าพเจ้าขออุบไว้ก่อน เดี่ยวทางวัดทำเป็นรูปเล่มเมื่อไร ข้าพเจ้าจะนำมาเสนอครับ
พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยวัดพันหลัง
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้บูรณะวัดพระสิงห์แล้วเสร็จ ก็ได้เดินธุดงค์ไปยังชนบท ในปีเดี่ยวกันนั้นเอง ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ทำการบูรณะวัดพระนอนปูคา (พระป้าน) ครูบาแปง สุนันโท เจ้าอาวาสวัดพันหลังในขณะนั้น พร้อมด้วยขุนผดุง แดนป่าสัก,หมดใจ๋ และศรัทธาชาวบ้านในขณะนั้น ได้ไปกราบอาราธนาท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ วัดพระนอนปูคา ท่านก็รับนิมนต์
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๒ คณะศรัทธาโดยการนำของขุนผดุง แดนป่าสัก,พ่อหมดใจ๋ ได้นำชาวบ้านไปรับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ตอนแรกท่านไม่ยอมจะขึ้นจอง ท่านต้องการเดินเท้า แต่ชาวบ้านขอร้องท่าน โดยบอกว่าเป็นบุญกุศลแก่ชาวบ้าน ขออย่าให้มีบาปกรรมแก่กัน ดังนั้นด้วยความเมตตาของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านจึงยอมขึ้นจองให้ชาวบ้านหามไป
เมื่อท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยมาถึง ก็มีศรัทธาชาวบ้านมาตอนรับท่านมากมาย มาคอนตอนรับ คณะศรัทธาจึงได้ทำการจัดที่พักให้ท่านทางด้านทิศตะวันออกของวัดพันหลัง โดยจัดทำเป็นซุ้มที่มุงด้วยหญ้าคา หลังจากท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เริ่มทำการบูรณะ โดยในการก่อสร้างนั้นใช้พระเณรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนในการขนอุปกรณ์ในการก่อสร้างทั่งหมด เป็นหน้าที่ของ เจ๊กโหง้ว ซึ่งท่านเป็นศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยคนหนี่ง และท่านก็ได้ใช้รถของท่าน ซึ่งในตอนนั้นมีเพียงรถของเจ๊กโหง้วเท่านั้น ดังนั้นงานบูรณะจึงรวดหน้าไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อครั้งที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย บูรณะพระธาตุวัดพันหลังนั้น ท่านก็ได้สร้างพระวิหารให้กับวัดพันหลัง โดยระหว่างนั้นก็ได้มีชาวบ้านพระเณรร่วมกันสร้างพระเกศาขั้นมา จากคำบอกเล่าที่สืบต่อกันมานั้น จากคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า ช่วงที่มีการปลงผมครูบาเจ้าศรีวิชัย ก็ได้นำเส้นผมเกศาครูเจ้าศรีวิชัย นำมาสร้างเป็นพระผงเกศามากมายหลายพิมพ์ มีทั้งพิมพ์พระคง,พระรอด,พิมพ์รูปครูบาเจ้าศรีวิชัย และพิมพ์ต่าง ๆ อีกหลายพิมพ์ การสร้างนั้นมีจุดประสงค์เพื่อไว้เป็นที่ระลึกและบรรจุไว้ในฐานพระวิหาร บ้างส่วนได้แจกจ่ายกันไป แต่ส่วนใหญ่บรรจุไว้ยังใต้พระวิหารวัดพันหลัง ที่แจกจ่ายกันไปนั้นส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งมี ๒ วรรณะ คือสีเท่า และสีขาว ซึ่งทำมาจากมวลสารที่หาได้จากภายในวัดพันหลัง มีทั้งผงข้างเย็น,ใบลานเผ่าที่นำมาจากพระคัมภีร์ ที่ชำรุด,ปูนขาว และอื่นๆที่หามาได้ นั้นมาเป็นส่วนผสม ครั้งเมื่อมีการสวดทำวัตรเย็นพระผงเกศาที่อยู่ในบาตรนั้น ก่อนบรรจุและแจกจ่าย ก็จำนำนั้นเข้าพิธีสวด โดยมีพระครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นประธานสวด เมื่อมีการวางศิลาฤกษ์ ก็ได้นำพระเกศาบรรจุไว้ในใต้ฐานพระวิหารวัดพันหลังสืบมา
พระเกศาพิมพ์รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยวัดพันหลัง ปันจุบัน ได้มีคนเฒ่าคนแก่ ที่ได้ร่วมงานในขณะนั้น เก็บรักษาไว้สืบมาถึงลูกหลานปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่มีค่าทางใจเป็นอย่างมาก จึงไม่มีชาวบ้านวัดพันหลังคนไหนที่เก็บรักษาพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย นำมาให้บูชา ดังนั้นผู้ที่จะเช่าบูชาพระผงเกศาวัดพันหลังจะต้องไปค้นหาเช่าบูชาเองล่ะกันครับ ส่วนของผมที่ได้มาจะก็จะมอบถวายในกับวัดพันหลัง เพื่อเก็บรักษาไว้ครับ
สรุปว่าพระผงเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยวัดพันหลังได้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ ครับ ส่วนในปี พ.ศ.๒๔๗๓ ก็ได้มีงานเฉลิมฉลองวัดพันหลัง โดยมีครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ครับ
หากท่านใต้มีข้อมูลเพิ่มเติมหรือข้อสงสัยโต้แยง ข้าพเจ้ายินดีพร้อมจะรับฟังและแก้ไข ก่อนที่จะทำเป็นรูปเล่นเพื่อแจกจ่ายครับ
สวัสดี
|