สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกทุกๆท่าน อาจารย์ อเล็ก หายไปนานต้องขอโทษเพราะติดธุระเรื่องงานเลยไม่ค่อยมีเวลามาคุยเล่นกับเพื่อนๆสมาชิก วันนี้ถือโอกาศก็อยากจะมาขอแบ่งปันความรู้และความเป็นมาของพระกรุเนื้อดินยอดนิยมกันสักหน่อย หลังจากหายหน้าไปนาน วันนี้ อาจารย์ จะหยิบเอาพระกรุที่มีความนิยมสูงซึ่งเป็นของดีเมืองสุพรรณและมีแนวโน้มว่าจะมีราคาแพงและหายากขึ้นไปเรื่อยๆ มาพูดคุยกัน นั่นก็คือ พระกรุวัดบ้านกราง หรือที่คุ้นหูกันดีในฐานะ ที่เป็นต้นกำเนิดของพระขุนแผนเลยก็ว่าได้ วัดบ้านกร่างนี้อาจารย์ได้เคยไปมาแล้วสองสามครั้ง รวมถึงวันนี้ด้วย ยังจำได้ในครั้งแรกที่ได้ไปวัดนี้ก็เพราะต้องไปติดต่อซื้อข้าวกับโรงสีบ้านกร่างซึ่งก็นึกไม่ถึงว่าว่าโรงสีจะอยู่ติดวัด ก็เลยมีโอกาศได้ไปเยี่ยมเยือนและทำบุญที่วัดนี้เป็นครั้งแรก ดังนั้น เพื่อที่จะได้พูดคุย ให้ละเอียดและครอบคลุมทั้งหมด เกี่ยวกับพระกรุวัดบ้านกร่าง เลยจะพูดเป็นข้อๆไป
1.ประวัติวัด
วัดบ้านกร่าง ตั่งอยู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เหตุที่รู้ว่าสร้างในสมัยอยุทธยาตอนกลางก็เพราะดูได้จาก รูปแบบการสร้างพระอุโบสถ พระประธาน และเจดี ที่เป็นแบบ ย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างเจดีที่นิยมสร้างในสมัย กลางอยุทธยา เช่น เจดีสุริโยทัย และเจดีภูเขาทอง บางคนอาจสงสัยว่า อาจารย์ อยุทธยาตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย เขานับยังไง ตอนต้นก็นับตั่งแต่ พระเจ้าอู่ทอง จนถึง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ตอนกลางนับ ตั่งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จน ถึง สมัย พระนารายมหาราช ตอนปลายก็ตั่งแต่พระเพทราชา จนถึง พระเจ้าเอกทัศ ถ้าจะให้จำง่ายๆ อยุทธยาตอนกลางก็คือ ช่วงที่เราเสียกรุงครั้งที่หนึ่ง นั่นเอง ดังนั้นวัดบ้านกร่างก็เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุทธยาตอนกลางอย่างแน่นอน ถึงแม้จะไม่อาจทราบว่าอยู่ในยุคของพระมหากษัตพระองค์ใหนแต่ก็อยู่ในยุคของพระนเรศวรแน่นอน วัดบ้านกร่างไม่ใช่วัดใหญ่เป็นวัดขนาดเล็กตั่งอยู่กลางหมู่บ้านและติดแม่ ด้านข้างติดโรงสี ในวัดก็ดูสงบดี
2.ประหวัติการสร้างพระ
พระกรุวัดบ้านกร่าง หรือ ขุนแผนวัดบ้านกร่าง นั้น ไม่มีประหวัติการสร้างที่แน่นอน มีแต่เพียงการสันนิฐานเอาเท่านั้น บางคนว่าพระนเรศวรเป็นผู้สร้างใว้บางคนว่า สร้างมาพร้อมวัด ก็แล้วแต่จะว่ากันไป แต่ที่แน่ๆ อายุของพระขุนแผนของกรุวัดบ้านกร่างนี้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 400 – 500 ปีอย่างแน่นอน แล้วตามความดิดเห็นของ อาจารย์ ถ้าจะบอกว่าพระกรุวัดบ้านกร่างนั้นพระนเรศวรเป็นผู้สร้าง ก็ดูจะเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความจริง กล่าวคืออาจมีความเป็นไปได้ ทำไม อาจารย์ถึงคิดแบบนี้ อันนี้ก็มีเหตุผล เหตุผลข้อแรกก็คือ การที่คนสมัยก่อนจะสร้างพระเพื่อเป็นพุทธบูชานั้น จะต้องเป็นคนที่มีอำนาจบารมี ตลอดจนกำลังทรัพย์ที่มากพอควร เพราะพระมีจำนวนถึง 84,000 องค์ ไม่ใช่ลำพังคน สองคนก็ทำได้ ไม่ต้องพูดถึงสมัยก่อน ขนาดสมัยนี้ มีเครื่องมือกดพระที่ทันสมัย จะทำพระ84,000 องค์ ก็ต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ สอง อาทิตย์ แล้วสมัยก่อนที่ต้องทำด้วยมือล้วนๆละ จะต้องใช้คนกี่คนทำ ก็ลองนึกดู เหตุผลข้อที่สอง ดูจากศิลปะบนองค์พระก็พอจะรู้ได้ว่า ช่างที่แกะแม่พิมพ์ต้องเป็นฝีมือช่างหลวงอย่างแน่นอนเพราะมีความอ่อนช้อยงดงามอย่างมาก หากเป็นช่างชาวบ้านแกะพิมพ์รูปแบบก็คงไม่งดงามเช่นนี้ได้ เหตุผลข้อที่สาม ในสมัยก่อน การเดินทัพจับศึกของคนโบราญ ท่านดิดว่าเขาจะเดินติดเลียบแม่น้ำ หรือ จะเดินไปตามท้องทุ่ง เพราะคนตั่งกี่หมื่นกี่พันคนไปออกรบ ไม่ได้มีรถถังรถไฟไว้ใช้ มีแต่คน ช้าง มา เดินขาไปรบตั้งกี่ร้อยกี่พันกิโล ใหนจะต้องแบกปืนใหญ่ไปด้วย ถ้าเดินไปตามท้องทุ่ง เวลาหิวน้ำหิวข้าว ตายห่าก่อนจะถึงสนามรบอีก ฉนั้นเวลาคนสมัยก่อนไปออกรบเขาจะพยายามเดินติดเลียบแม่น้ำ ดั้งนั้นก็ไม่แปลกถ้ากองทัพของพระนเรศวรที่ ชนะสึกหงสาเกตุมวดี จะมาพักทัพในบริเวณวัดบ้านกร่างแล้วก็สร้างวัดและพระพิมพ์เพื่อเป็นพุทธบูชาที่ชนะสึกพม่า โดยมี ทหาร และชาวบ้านช่วยกันกดพระเหตุผลข้อที่สี่ หลังจากที่กลับจากสึกที่รบชนะพม่าแล้วนั้น พระนเรศวรก็ทรงสร้างวัดและเจดีขึ้นเพื่อ ฉลองชัยชนะโดยให้ชื่อ วัดว่า วัดใหญ่ชัยมงคล โดยมีเจดีสูงสง่างามที่เรียกว่า เจดีชัยมงคล ที่กรุงศรีอยุทธยา โดยมีการสร้างพระพิมพ์เพื่อ บรรจุอยู่ภายในเจดี โดยพระพิมพ์เหล่านั้นเราเรียกว่า ขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชังมงคล ท่านสังเกตุใหมว่า พิมพ์ทรงของขุนแผนกรุวัดใหญ่ชัยมงคล มีความคล้ายคลึงกับขุนแผนพิมพ์ห้าเหลื่ยมอกใหญ่และห้าเหลี่ยมอกเล็ก ของกรุวัดบ้านกร่างยังกับฝาแฝด ที่เป็นเช่นนี้ก็แน่นอนว่าเป็นช่างหลวงคนเดียวกันเป็นคนสร้างไว้อย่างแน่นอนไม่ผิดแน่ ดังนั้น เหตุที่ว่าพระนเรศวรเป็นผู้สร้างพระขุนแผนกรุบ้านกร่างนั้นไม่ใช่คำพูดที่พูดขึ้นมาลอยๆอย่างแน่นอน ส่วนคำว่าพระขุนแผนนั้นคงตั่งมาในภายหลังเนื่องจากพุทธคุณและประสบการณ์ต่างๆว่าเมื่อใส่พระขุนแผนแล้วนั้น จะมีความเมตามหานิยม และ อยู่ยงคงกระพันเช่นเดียวกับแผน ส่วนพิมพ์ที่เป็นพระคู่ติดกันได้ให้สมยานามว่าพลายคู่ เพราะมีความสวยงามน้อยกว่าพิมพ์ขุนแผน และคำว่าพลาย ก้หมายถึงลูกของขุนแผนนั่นเอง
3.จำนวนพระพิมพ์ ของกรุวัดบ้านกร่าง
วัดบ้านกร่าง มีจำนวนการสร้าง 84000 องค์ มีทั้งหมด 25 พิมพ์ โดยมี สกุลขุนแผน 9 พิมพ์ พลายเดี่ยว 8 พิมพ์ พลายคู่ 8 พิมพ์ทังหมดเป็นพระเนื้อดินเผาเพียงอย่างเดียวไม่ปรากฎเนื้ออื่นๆหรือพิมพิเศษอืนใค มี เพียงมาตราฐาน 25 พิมพ์เท่านั้นที่ยอมรับ โดยมีการเรียงลำดับความนิยมดังต่อไปนี้
พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่
พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกเล็ก
พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่ธรรมดา
พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่ฐานบัว
พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลเล็ก
พระขุนแผน พิมพ์เถาวัลย์เลื้อย
พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเหลือบ
พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง
พระขุนแผน พิมพ์ทรงพล
พระพลายเดี่ยว พิมพ์พระประธาน
พระพลายเดี่ยว พิมพ์หน้าเทวดา
พระพลายเดี่ยว พิมพ์หน้าฤาษี
พระพลายเดี่ยว พิมพ์ใบมะยม
พระพลายเดี่ยว พิมพ์แขนอ่อน
พระพลายเดี่ยว พิมพ์ก้างปลา
พระพลายเดี่ยว พิมพ์ซุ้มประตู
พระพลายเดี่ยว พิมพ์ใบพุทรา
พระพลายคู่ พิมพ์หน้ายักษ์
พระพลายคู่ พิมพ์อกครุฑ
พระพลายคู่ พิมพ์หน้าเทวดา
พระพลายคู่ พิมพ์หน้ากลม
พระพลายคู่ พิมพ์หน้าฤาษี
พระพลายคู่ พิมพ์หน้ามงคล
พระพลายคู่ พิมพ์ 2 ปาง (ปางสมาธิและปางมารวิชัย)
พระพลายคู่ พิมพ์จัมโบ้
4.หลักการดูและเคล็ดลับการแยกเก๊แท้ ของพระขุนแผน
เนื่องจากพระขุนแผนกำลังเป็นที่นิยมของคนรักพระกรุดังนั้นจึงมีของเทียมของเรียนแบบออกมามากพอสมควร ซึ่งฝีมือการปลอมก็ต้องยอมรับว่าร้ายกาจมาก แต่ถึงอย่างไรก็ยังพอจะช่วยท่านให้แยกของจริงของปลอมกันได้ถ้าท่านอ่านบทความนี้
ขั้นแรกเมื่อท่านหยิบพระขุนแผนขึ้นมาส่อง ไม่ว่าพระจะสึกหรือว่าช้ำขนาดใหน เม็ดแร่และองค์พระจะต้องไม่ทำให้ท่านสากมือเหมือนกระดาษทราย และจะต้องไม่รู้สึกว่าพระทำให้เราเหนียวมือเหมือนลูกอม หากว่าหยิบขึ้นมาแล้วสากมือหรือเหนียวมือเหมือนกับหยิบลูกอมก็ให้วางลงไปเลยไม่ต้องส่องให้เสียเวลา
ก่อนจะเอาพระมาส่องกล้อง ให้พลิกดูหน้าดูหลังว่ารอยว่านหลุดเป็นแบบใหน ถ้ามีรอยเต็มองพระเลยก็ไม่ต้องไปส่องเสียเวลา การดู รอยว่านหลุด ต้องดูว่ามันหลุดเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ หลุดทัวเต็มองค์ไปหมด แล้วรอยก็ต้องไม่ลึกเป็นหลุม จะต้องเป็นรอยหลุดแต่ผิวๆ หรือหากไม่มี ก็ไม่ใช่ว่าพระจะเก๊ จำไว้ว่า ยุคสมัยการดูพระขุนแผนมันเปรียนไปแล้ว ไม่ใช่ดูขุนแผนก็ดูแต่ว่านหลุด เพราะถ้าดูแต่ว่านหลุด เงินท่านก็จะหลุดไปตามว่าน
หลักการดูเนื้อดินได้สอนไปแล้วในบทเรียน แต่สำหรับการดูกรุบ้านกร่างนั้นให้ท่านจดจำผิวของพระให้ดีๆเนื้อพระจะมีโซนแบบเดียวกันหมด เนื้อพระต้องเป็นชั้นๆแน่นนึก อันนี้ตายตัวของขุนแผนเลย เก็ยังทำเนื้อเป็นชั้นได้ไม่เหมือน
เม็ดแร่ของบ้านกร่างส่วนมากจะมีขนาดเล็ก หากเป็นเม็ดสีขาวต้องขาวแบบใสๆ หากเป็นแร่กรวดก็ต้องสีแดงแบบเลือดหมูคือแดงหม่นๆ แร่ต้องมีความเก่า ส่องดูแล้วมีความเก่าไม่สดใสแวววาว
แค่นี้ก็จะทำให้ท่านปลอดภัย และได้พระดีไปบูชา วันนี้ขอจบการพูดคุยเรื่องพระขุนแผนแต่เพียงเท่านี้ วันหลังจะเอากรุอื่นมาคุยบ้าง
อาจารย์ อเล็ก พระกรุ
|