พระลือโขงซุ้มเรือนแก้ว (จามเทวีซุ้มเรือนแก้ว) วัดสันมะเหม้า อ.พาน จ.เชียงราย
พระลือโขง มิติใหม่ เป็นพระหล่อเนื้อโลหะศิลปะล้านนา ตามแนวทางพุทธศิลป์ที่มีการสืบทอด มาตั้งแต่โบราณ เชื่อว่าพระลือโขงรุ่นนี้มีศิลปะ กระบวนการหล่อแบบบล็อคที่สมบูรณ์ และเชื่อต่อไปอีกว่าน่าจะเป็นมิติใหม่ของวงการพระใหม่ที่น่าเฝ้าติดตาม เป็นอย่างยิ่ง
พระเศียรเป็นเศียรโล้น ปรากฏเม็ดพระศกชัดเจน แสดงแนวไรพระศกอย่างงดงาม
- พระพักตร์มีลักษณะแป้น พระปรางอิ่มที่เรียกว่า "แก้มยุ้ย" โดยรวมจะแลดูคล้ายหญิงแก่
- พระเนตรแบบตามนุษย์
- พระนาสิก โด่งพองามคล้ายมนุษย์
- พระโอษฐ์ไม่กว้าง และยื่นออกเล็กน้อยคล้ายปากสตรี
- พระกรรณเป็นเส้นนูนคู่ โค้งติดแก้มและตวัดออกตอนปลายติ่งหู
- พระอุระนูน
- พระนาภีกลมกลึงแบบเอวนาง
- ครองจีวรแบบห่มดอง ปรากฏเส้นสังฆาฏิ 2 เส้นชัดเจนอ่อนช้อย และแสดงเส้นแสงการห่มจีวรตลอดลำพระองค์ได้คมและชัดเจน
- พระหัตถ์ขวาแสดงนิ้วพระหัตถ์ชัดเจนทั้ง 5 นิ้ว
การออกแบบพระ ด้านหน้าพระลือ เป็นลักษณะใบหน้าอวบอิ่ม ลำตัวอวบ เป็นลักษณะถึงความอุดมสมบูรณ์ รายล้อมด้วยซุ้มเรือนแก้ว เหมือนหนึ่งว่าเป็นเกราะป้องกันภัย ส่วนด้านหลัง ออกแบบเป็นฮวงจุ้ย คือ มีพระจันทร์ หมายถึงหยาง และมีพระอาทิตย์เป็น หยิน
คติจีนเชื่อว่าสรรพสิ่งในสากลจักรวาล ล้วนมีสองด้านคือหยินและหยาง เป็นกฎแห่งความสมดุลของธรรมชาติ เป็นปรัชญาของลัทธิเต๋าที่เชื่อว่าสรรพสิ่งบนโลกใบนี้จะต้องมีสิ่งคู่กันเสมอ มีมืดก็ต้องมีสว่าง มีร้อนก็ต้องมีเย็น มีผู้หญิงก็ต้องมีผู้ชาย หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป หรือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากหรือน้อยเกินไปก็จะเกิดภาวะไม่สมดุลซึ่งจะนำหายนะมาให้
ที่สุดแล้วคือ "หยิน" เป็นตัวแทนของความมืดมิด ไม่เคลื่อนไหว อ่อนล้า เศร้าโศก ความตาย ความหนาวเย็น ผู้หญิง "หยาง" เป็นตัวแทนของความกระตือรือร้น พลังงาน แสงสว่าง ผู้ชาย การเกิด การเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่ง หยินและหยางเป็นพลังตรงข้ามที่คู่กัน เปลี่ยนแปลงและส่งเสริมซึ่งกันและกัน พลังซึ่งคู่กันนี้หากเท่ากันจะสร้างความสมดุล เช่น บวก-ลบ ชาย-หญิง พระอาทิตย์-พระจันทร์ ร้อน-หนาว กลางวัน-กลางคืน โดยสิ่งแรกในแต่ละคู่คือหยาง อีกสิ่งคือหยิน
พระลือโขง ซุ้มเรือนแก้ว(จามเทวีซุ้มเรือนแก้ว)
"พระลือโขง" หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า "พระจามเทวีซุ้มเรือนแก้ว" นับเป็นพระสกุลลำพูนอีกพิมพ์หนึ่งที่มีความเก่าแก่และพุทธศิลปะอันงดงามมีพุทธคุณเป็นเลิศในด้านโชคลาภ ได้รับความนิยมสูงเรียกได้ว่ารองๆ จาก"พระรอด" เลยทีเดียว
ไพฑูรย์แห่งพระเครื่องชุดนพคุณ....พระเครื่องต้นกำเนิด แห่งพลังคุณวิเศษ....ทางอิทธิพลด้านโชคลาภ
พระตำนานในสกุลหริภุญไชย(ลำพูน ) ลักษณะของพระลือโขงเป็นพระที่มีพุทธศิลป โดดเด่นที่สุดในพระสกุลลำพูน มีความวิจิตร งดงาม อลังการ สวยงาม ที่สุดในบรรดาพระสกุลลำพูนทุกพิมพ์ เชื่อกันว่าเป็นพระที่กษัตริย์ทรงสร้าง ด้วยศิลปะ เชิงช่างชั้นสูง ฝีมืองานช่างละเอียด ทั้งองค์พระประธานนั่งขัดเพชร ปางมารวิชัย ประทับบนฐานบัวสองชั้น และพิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ในซุ้มเรือนแก้วประภามณฑล ตกแต่งด้วยลายกนกเส้นรัศมี ประดับด้วยใบระกาอีก ๒ ชั้นอย่างอลังการเป็นพิเศษ ตามคตินิยมที่ทำใกล้เคียงกับ~ซุ้มโขง~ ที่ปรากฏอยู่รอบธรรมสิคาสถูป ที่”พระเจ้าอลองสิทธิ์ธู”สร้างขึ้นในกรุงพุกาม เมื่อปี พ.ศ.1739 เป็นแบบอย่างศิลปะมอญและพุทธศาสนานิกายคามวาสีในพุกาม ซึ่งแผ่มาถึงเมืองหริภุญไชย ลักษณะองค์พระซุ้มเรือนแก้ว และฐานบัวของพระลือโขง ยังคล้ายกับศิลปะรูปแบบของสมัยปาละ ผ่านทางศิลปะพุกามในช่วงเวลาที่ศิลปะในหริภุญไชยและ พระพุทธศาสนานิกายหินยาน เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในขณะนั้น..."พระลือโขง"...นี้ นับว่ามีความวิจิตรงดงามด้านพุทธศิลปะสูงส่ง กอปรกับพุทธคุณเอกอุ แสดงถึงความมั่นคงและความสมบูรณ์พูนสุข สมกับพุทธคุณ ที่ปรากฏเป็นพระด้าน(โชคลาภ)โดยแท้
อ้างอิงโดยคุณ http://supawich.tarad.com/product.detail_167106_th_3553727
|