บทที่ 3 พื้นฐานการดูพระกรุ
หลังจากที่ผู้ศึกษาได้เตรียมอุปกรณ์ในการศึกษา ตามที่ผู้เขียนได้อธิบายไว้แล้วในบทที่ 2 แล้ว เราก็จะมาเริ่มต้นในการศึกษาขั้นพื้นฐานในบทที่ 3 กัน สำหรับบทที่ 3 นี้ ผู้เขียนมุ่งหวังให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงหลักพื้นฐานในการดูพระกรุ เพราะหลักพื้นฐานนี้จะเป็นบันไดขั้นแรก ที่จะทำให้ท่านเป็นเซียนพระกรุที่แท้จริงได้เมื่อท่านเรียนจบกับผู้เขียนไปแล้ว ผมเชื่อว่าหลายๆคนร่วมถึงผมด้วยเมื่อเริ่มแรกเล่นพระใหม่ๆ เราเดินเข้าไปในสนามพระและจับพระองที่เราชอบองค์หนึ่งขึ้นมาส่องดู ในหัวสมองของเราก็จะเริ่มคิดว่า “ เอ๊ องค์นี้ก็เก่าดีนะ น่าจะแท้นะ หรือว่าเก๊วะ เอ๊ แล้วพวกเซียนพระกรุมันดูกันยังไงวะ” นั่นคือความจริงที่ว่าเร่ายังดูพระไม่เป็น แยกแยะความเก่าและเก๊แท้ยังไม่ได้ เราจึงได้แต่คิดและจินตนาการเอาหรือ เพียงเพราะเรารู้แต่หน้าพระว่าพระองค์นี้นะชื่อ พระคงนะ องค์นี้ชื่อพระเปิมนะ องค์นี้ขุนแผนนะ แต่ว่าเราไม่สามารถแยกแยะเก๊-แท้ได้ หรือไม่เราก็เพียงแต่จดจำเอาตำหนิในองค์พระว่ามีตรงโน้นนะตรงนี้นะ แต่ผลสุดท้ายก็จับได้แต่ของเก๊ ซึ่งต่างจากคนที่เขาเป็นเซียนจริงๆที่เขาสามารถแยกแยะเก๊-แท้ได้ เพียงแค่ได้ส่องเพียงครั้งเดียว ท่านก็ได้แต่ตั่งคำถามในใจว่า ทำไมเราถึงดูไม่ได้แบบเขาละแล้วเขาดูกันยังไงนะ นี่แหละครับคนที่เขาดูพระและแยกแยะได้เพียงครั้งเดียวเขาก็เริ่มมาจากพื้นฐานที่ผู้เขียนกำลังจะถ่ายทอดให้กับท่านผู้ต้องการจะศึกษา ซึ่ง การดูพระโดยจดจำแต่ตำหนิในองค์พระนั้นไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดในการดูพระกรุ การเรียนวิธีการดูพระกรุกับผู้เขียนไม่ได้ต้องการให้ท่านมุ่งจดจำแต่ตำหนิของพระ ในเรื่องของตำหนิในองค์พระนั้นผู้เขียนต้องการให้ท่านผู้ศึกษาพียงแต่รู้ไว้เฉยๆว่ามีตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งไม่ได้ต้องการให้ท่านนำเอามาเป็นบันทัดฐานในการตัดสินเก๊-แท้ ให้ท่านจำไว้ว่าคนเก๊พระสมัยนี้เขาก็กางตำราที่ท่านซื้อมาอ่านผลิตพระเก๊เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องสงสัยว่าองค์นี้ก็มีตำหนิเหมือนในหนังสือนะ ทำไมเก๊ละ นั่นแหละครับคือเหตุผลที่ผมไม่ได้ให้ท่านซื้อหนังสือพระที่ชี้ตำหนิมาเรียนกับผม แต่ให้ท่านซื้อหนังสือที่รวบรวมพระชนิดนั้นๆเพื่อใช้ในการศึกษาในแบบฉบับของผม สิ่งที่ผมต้องการให้ท่านใด้จากหนังสือพระที่จะทำให้ท่านเป็นเซียนพระกรุจริงๆเหมือนกับคนที่เขาดูพระเก่งๆที่เหนือกว่าการจดจำตำหนิ ก็คือ การแม่นในพิมพ์ทรงของพระองค์นั้นๆ เพราะการที่ท่านแม่นในพิมพ์ทรงของพระ ในวินาทีแรกที่ท่านเห็นพระท่านก็จะสามารถบอกได้เลยว่าควรจะหยิบพระองค์นั้นมาส่องหรือไม่ นอกจากจะไม่เป็นการสิ้นเปลืองเวลาในการหยิบมาส่องแล้วยังไม่ต้องจำเป็นไปจดจำตำหนิที่มีไม่รู้กี่สิบจุด แม้แต่ในของแท้ๆท่านก็อาจจะไม่เจอตำหนิครบตามที่ท่านได้ศึกษามา และนี่ก็คือพื้นฐานที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้ศึกษาได้จดจำและเรียนรู้
ก่อนที่ท่านจะเริ่มขั้นตอนในการศึกษาพิมพ์ทรงในบทพื้นฐานนี้ ของให้ท่านทำตามที่ผู้เขียนกำหนดอย่างเคร่งคัด บทพื้นฐานนี้จะง่ายมาก
ขั้นตอนที่ 1 ขอให้ท่านตัดความรู้ที่ท่านมีอยู่เอาวางไว้ ตัดเอาความคิดว่า เก๊แท้ เอาวางไว้ คือไม่ต้องคิดอะไร ให้มุ่งสนใจแต่ในการดูหนังสือพระที่ท่านซื้อมาประกอบกับการส่องดูพระที่ท่านมีอยู่ สลับกัน โดยไม่ต้องคิดแยกแยะเก๊แท้ พูดง่ายๆคือการเปิดดูพระในหนังสือสลับกับการส่องพระเฉยๆ ผู้เขียนกำหนดการทำแบบนี้อย่างน้อยๆ 1 สัปดา วันละ 1 ชั่วโมง ท่านอาจจะนั่งเปิดดูเล่นๆส่องเล่นๆ ในวันหนึ่งรวมเวลาที่ท่านทำแบบนี้ 1ชั่วโมง ทำต่อเนื่อง 1 สัปดาอย่างน้อย
ขั้นตอนที่2 ดูรูปพระในหนังสือแต่ละองค์ให้เปรียบเที่ยบกัน และพระองค์ที่ท่านมีอยู่ในมือก็นำ มาส่องเปรียบเที่ยบด้วย การเปรียบนี้คือการให้ส่องดูและพิจารณาว่า แต่ละจุดในองค์พระมีการวางแขนยังไง, ซุ้มเป็นยังไง ,รูปทรงเป็นยังไง,หน้าหลังเป็นยังไง อีกเหมือนเคยไม่ต้องคิดว่ามันเก๊หรือแท้ เหมือนเดิม ผู้เขียนกำหนดการทำแบบนี้อย่างน้อยๆ 1 สัปดา วันละ 1 ชั่วโมง ท่านอาจจะนั่งเปิดดูเล่นๆส่องเล่นๆ ในวันหนึ่งรวมเวลาที่ท่านทำแบบนี้ 1ชั่วโมง ทำต่อเนื่อง 1 สัปดาอย่างน้อย
รวมเวลาที่ท่านศึกษาในบทที่ 3 นี้ อย่างน้อยที่สุด 15 วัน แต่ก่อนที่ท่านจะจบบทนี้และข้ามไปบทต่อไปได้นั้น ท่านต้องศึกษาจนแม้หลับตาก็นึกออกทันที่ว่า พระกรุองค์นั้นรูปทรงต้องเป็นนั้นแบบนี้ แขนต้องเป็นแบบนั้น หัวต้องเป็นแบบนี้ บัวต้องเป็นแบบนั้น ฐานต้องเป็นแบบนี้ หากสิบห้าวันยังทำแบบนี้ยังไม่ได้ ก็ทำอีกเท่าหนึ่ง เอามันจนได้ พื้นฐานนี้สำคัญ เพราะเมื่อท่านเรียนจบไปแล้ว เดิน สหนามพระ แว๊บแรกที่ท่านเจอกับพระท่านก็จะแยกออกทันทีว่า เก๊ แท้ ราวกับว่าพระแสดง แสงออรอร่าออกมา
วันนี้อาจารย์ขอจบ บทนี้ไว้เท่านี้ก่อนหากเรียนแล้วยังติดขัดอะไรก็คอมเม้นไว้ อาจารจะมาตอบให้ในภายหลัง
ขอขอบคุณครับ
|