สวย เดิมๆทั้งคู่ครับ
เหรียญ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น "ตองโข่" เป็นการเรียกทหารของกองทัพเมืองไต ของคนล้านนา เหรียญนี้เป็นการร่วมมือกันสร้างระหว่างผู้นำกองทัพเมืองไต โดยหนุ่มหาญศึก กับ นายกรัฐมนตรีของไทยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีของไทยและผู้บัญชาการทหารสูงสุดร่วมกันสร้างเหรียญบูชาสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช จำนวน 1,000 เหรียญและมอบให้กับสมาชิกกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อซึมซับน้อมนำใจศรัทธาในพระบารมี และพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ช่วยรักษา ปกป้อง คุ้มครองภัยในการปฏิบัติภารกิจใหญ่ ที่เป็นอันตรายและมากด้วยศาสตราวุธนานาชนิด กล่าวกันว่าพระบารมี ของพระองค์ปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากคมกระสุนของผ่ายตรงข้ามได้อย่าง ปาฏิหาริย์ เหตุการณ์นี้บังเกิดความอัศจรรย์ใจ และเพิ่มพลังศรัทธา พลังใจแก่กลุ่มเหล่าทหารหาญของกองทัพเมืองไตยิ่งนัก ส่วนความเกี่ยวพันระหว่างองค์สมเด็จพระนเรศวรกับ ชนชาติไทใหญ่นั้น มีเรื่องราวเล่าขานดังนี้ เมื่อสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพระเชาว์ ตอนที่ถูกจับไปเป็นเชลยศึกที่กรุงหงสา พระองค์ท่านมีพระสหายเป็นลูกเจ้าฟ้าเมืองไต ชื่อว่าเจ้าคำก่ายน้อย ซึงสองพระองค์ต่างก็เป็นเชลยศึกเหมือนกัน และเคยสัญญากันว่า อนาคตข้างหน้าสองพระองค์จะช่วยกันรบเคียงบ่า เคียงใหล่กับกองทัพของ พม่าด้วยกัน ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่ง กองทัพเมืองไต ถูกกองทัพอังวะ บุกเข้ามาตีเมืองไต ซึ่งตอนนั้นเจ้าคำก่ายน้อยทรงปกครองอยู่ ร้อนถึงสมเด็จพระนเรศวรที่ทรงทราบว่า เจ้าฟ้าคำก่ายน้อยถูกโจมตี จากกองทัพอังวะ พระองค์จึงได้กรีฑาทัพไปช่วยรบ แต่พระองค์ท่านไม่ทันถึงเมืองนาย ก็ทรงมาสวรรคตเสียก่อนด้วยโรคไข้ป่า ที่ ทุ่งดอนแก้ว เขตเมืองห้างหลวง แขวงเมืองเชียงใหม่ พอเจ้าฟ้าคำก่ายน้อยทรงทราบว่า องค์สมเด็จพระนเรศวรทรงสวรรคต เสียแล้ว ทำให้เจ้าฟ้าคำก่ายน้อยทรงหมดกำลังใจ และพ่ายแพ้ศึกสงคราม และทรงสิ้นพระชนม์ไปในการสงครามครั้งนั้นเอง อีกกรณีหนึ่ง คือเมื่องปี พ.ศ. 2500 มีคนไทใหญ่ได้ค้นพบเจดีย์ร้างอยู่กลางป่า ในเขตเมืองหาง ซึ่งชาวไทใหญ่ต่างเชื่อว่า เป็นพระสธูปที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวร จึงเกิดความเลื่อมใส และให้ความเคารพบูชาเสมอมา แม้กระทั้งเหล่าทหารหาญของกองทัพไตก็ทรงศัทธาในพระสธูปนี้เช่นกัน เมื่อจะทำการออกศึกรบกับกองทัพพม่าคราใด ก็จะมีการบวงสรวงองค์พระสธูปนี้ทุกครั้ง ทำให้เหล่าทหารหาญมีความฮึกเหิม ไม่กลัวต่อการสงคราม ที่สำคัญจะมีชัยชนะทุกครั้งที่ออกรบ ทำให้ผู้นำกองทัพทหารพม่า สงสัยว่าทำไมทหารไทใหญ่ถึงฮึกเหิม ไม่เกรงกลัวกองทัพพม่าเช่นนี้ มีเหตุจูงใจอันใดกัน จึงได้ส่งไส้ศึกไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพเมืองไต จึงได้รู้ว่า กองทัพเมืองไตมีความศัทธาในพระสธูปเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อว่า เป็นพระสธูปที่บรรจุพระอัฐิองค์สมเด็จพระนเรศวร จึงได้สั่งให้ทางกองทัพพม่าบุกเข้าไปทำลาย โดยการใช้อาวุธหนัก เพราะว่า เคยใช้รถไถ รถเกรดไปทำลายองค์พระสธูป แต่เกิดเรื่องอัศจรรย์ใจทุกครา คือเวลารถไปไถ ไปเกรด เครื่องยนต์ รถก็จะดับทุกครา ไม่สามารถทำงานได้ กว่าจะทำลายพระสธูปเจดีย์นี้ ใช้เวลายาวนานมาก ซึ่งกองทัพพม่าได้ทำลายพระสธูปเจดีย์ สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2502
พระดีพิธีใหญ่ นาม จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ของประเทศไทย จัดสร้างเป็นครั้งที่ ๒ ของกรุงรัตนโกสินทร์ มีในวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ โดยมี อาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ์ พระนคร และ อาจารย์เทพย์สารกบุตร เป็นเจ้าพิธิ จัดทำครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการในพิธีมีการจัดสร้าง พระพุทธชินราชจำลอง พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ และพระชัยวัฒน์ พระพิมพ์และเหรียญมหาจักรพรรดิ์ โดยพระชัยวัฒน์มีการสร้างน้อยเมื่อเทียบกับพระกริ่ง โดยมีการนิมนต์คณาจารย์มาร่วมพิธี ๑๐๙ รูป ได้แก่ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่ออุตมะ วัดวิเวกการาม หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี อาจารย์นำ วัดดอนศาลา หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน ฯลฯ "กริ่งนเรศวรวังจันทร์" ... ผู้ที่เป็นเจ้าพิธีพระกริ่งนี้คือ "อาจารย์เทพ สาริกบุตร" อ.เทพ ผู้นี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญในไสยเวทย์ เขียนตำหรับ ตำราไว้มากมาย เป็นผู้ร่วมในพิธีพระกริ่งวัดสุทัศน์หลายครั้ง อีกทั้งยังรอบรู้ในการผสมสูตรเนื้อนวะโลหะที่เทพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ จากสมเด็จพระสังฆราช แพ .... ฉนั้น พระกริ่งซึงอาจารย์เทพเป็นเจ้าพิธีนั้น จะดำเนินตามกระแสวัดสุทัศน์ อย่างเข้มขลังทีเดียว กริ่งนเรศวรวังจันทร์ ถือเอาฤกษ์พระนเรศวรออกศึกเป็นสำคัญ .... ทางด้านพิธีกรรมนั้นเล่า เป็นครั้งแรกที่มีการปักฉัตรเก้าชั้นในบริเวณพิธีเทพระกริ่ง ส่วนในพิธีพุทธาภิเษก ก็จัดได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ จะเป็นรองก็น่าจะเพียงพิธีลงตะกรุดมหาจักรพรรดิตราธราช ที่ท่านอ.เฮง ไพรวัลย์ สร้างเพื่อถวายในหลวง ร.6 เท่านั้น ด้านเนื้อหา.... ที่จริงแล้วพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์หาใช่เนื้อนวะโลหะไม่ หากแต่เป็นสำริดเงิน ด้วยเหตุเพราะไม่มีทองคำเป็นส่วนผสม ซึ่งในช่อเบิกฤกษ์และมีทองคำรวมอยู่ด้วยนั้น ดันเทเป็นช่อพระชัยแทน ดังนั้นพระชัยจึงกลับดำแบบนวะโลหะ.... แต่ทำไมถึงกลับดำ นี่เป็นความอัศจรรย์ในขั้นแรก กล่าวคือเมื่อเทพระกริ่ง และเอาออกจากช่อเรียบร้อยแล้ว ได้นำพระกริ่งทั้งหมด ไปแช่ในน้ำที่ผุดจากเศียรพระประธานวัดดอนตูม (ถ้าเข้าใจไม่ผิด วัดนี้พระนเรศวรใช้แช่ศาสตราในพิธีแช่งน้ำ) ที่น่าประหลาดคือทำให้องค์พระกลับดำทุกองค์ ... จำนวนพระทั้งหมดมี 6500 องค์ (ว่าตามสายตรง ไม่ใช่ 5 พันกว่า) ซึ่งในการเทพระนี้ไม่มีเสียเลย ได้พระตามจะนวนที่ตั้งใจ ประกอบพิธีเททองที่หน้าพระอุโบสถวัดพระพุทธชินราช พิษณุโลก .... โดยได้ใช้ไม้มงคลทั้งเก้าเป็นฟืนในการสุมทอง....เช่น ไม้กัลปพฤกษ์ เป็นต้น
เหมาะๆๆๆๆๆ ...ขนาด
งามๆ เหมาะขนาด