ตำนานพระพุทธบาทจอมคำ
จากตำนานพระเจ้าเลียบโลก
หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่เล่มหนึ่งที่กล่าวถึง ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาที่เข้ามาเผยแผ่ในดินแดนล้านนาเริ่มแรกทีเดียวนั้นคัดลอกมาจากศิลาจารึกในประเทศศรีลังกา
โดยพระเถระชาวมอญที่มีนามว่า “พระมหาสามีธรรมรส” ต่อมาภายหลัง ท่านอาจารย์ สิงฆะ วรรณสัย ได้ทำการปริวรรตภาษาล้านนามาเป็นภาษาไทยและได้จัดทำการพิมพ์เป็นรูปเล่มเมื่อประมาณปี พ.ศ.2545
จากหนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก
กัณฑ์ที่ 8 หน้า 207
นโมตสสตถุฯ โยนกโลกสมิจาริก จรติฯ
ดูราสาธุชนสัตบุรุษ ทั้งหลาย
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายทรงพาพระอรหันต์ พระอินทร์ และพระเจ้าอโศกราชเสด็จจาริก โปรดปาณสัตว์ทั้งหลายในเมืองเขมรัฐทุกแห่งแล้วก็เสด็จเข้ามาในเมืองโยนกโลกสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จบรรลุถึงเมืองลี้ พระพุทธประสงค์จะลงสรงในแม่น้ำ น้ำในแม่น้ำก็มีน้อยเป็นเมืองแล้งแห้งน้ำไหลลี้ขึ้นทางทิศเหนือเมืองนี้จะได้ชื่อว่าเมืองลี้ อนาคตไม่ควรไว้ธาตุเท่าแต่ควรไว้รอยพระบาท แล้วพระเจ้าอโศกจึงเอาฉลองพระบาทมาสวมให้แก่พระองค์แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเหยียบรอยพระบาทไว้เหนือหินก้อนที่พระองค์ประทับนั่งพระเจ้าอโศกทอดพระเนตรรอยพระบาทก็ทรงโสมนัสยิ่งทรงดำริว่า “เราจะเอาทองคำ 1000 ถวาย บูชารอยพระบาท”
ทรงดำริแล้วก็ใช้สิ่วเจาะที่รอบพระบาทแล้วเอาทองคำบรรจุไว้สามพันเพื่อเป็นเครื่องสักการบูชา พระพุทธบาท “พระพุทธบาทจอมคำ”
ตามหารอยพระพุทธบาทโบราณ
โบราณสถานพระพุทธบาทจอมคำ
ในปี พ.ศ.2532 ข้าพเจ้าสามเณร อนันต์ วงศ์ศรีใส ได้ฟังเรื่องพระพุทธบาทที่อยู่ในป่าห้วยย่าผัน จากครูบาจองแปง อุบาลี เจ้าอาวาสวัดสันโป่ง บ้านฮ่อมต้อหมู่ 5 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนและบอกให้ไปสรงน้ำรพบาทเพื่อที่จะได้สืบสานประเพณี สรงน้ำพระพุทธบาทก็อยากจะไปสำรวจดูว่าพระพุทธบาทจำมีรูป่างลักษณะเป็นอย่างไรในครั้งนั้นเป็นเดือนเมษายน ปีใหม่เมืองก็มีการทำบุญ ดำหัวครูบาอาจารย์ในวัดสันโป่งมีครูบาจอมแปง อุบาลี เป็นเจ้าอาวาสเป็นที่เคารพแล้วก็ได้ชวนสามเณรร่วมวัดได้เตรียมน้ำสรงพระพุทธบาทกับเครื่องสักการะ บูชาไปบูชาตามคำบอกของครูบา ได้เดินทางผ่านป่าเขาแล้วมาพบจอมดอยลูกหนึ่งได้ ถามนายนึกเป็นคนทำไร่อยู่บริเวณนั้น ว่าพระพุทธบาทอยู่ตรงที่ใด นายนึกก็ได้นำทางเพื่อไปหารอยพระพุทธบาทโบราณก่อนจะไปถึงพระพุทธบาทนั้นมีห้วยและน้ำไหลอยู่ตลอดเป็นน้ำดิบ ห้วยนี้มีชื่อว่าห้วยย่าผัน สามเณรแต่ละรูปก็ล้างหน้าในห้วยให้เย็นสบายแล้วก็ไปไหว้สาพระพุทธบาท สิ่งที่ผู้เขียนได้เห็นคือ ต้นไม้ขนาดต้นใหญ่ขึ้นหนาเป็นกลุ่มในบริเวณนั้นเมื่อเข้าไปถึงก็พบรอย พระพุทธบาทที่สมบูรณ์มีนิ้วเท้าครบมีก้อนหินศิลาวางรอบๆ รอยพระบาทสันพระบาทมีรูกลมๆ เวลาสรงน้ำก็ไหลลงในรูหมดก็เป็นเนื้อนาบุญที่ได้สักการะบูชารอยพระพุทธบาท ผู้มีบุญ ตนบุญผู้มีศีลธรรมภายหน้าก็จะร่วมใจกันสืบศาสนาอนุรักษ์โบราณสถานเก่าแก่ต่อไปจนครบอายุศาสนา 5000 ปี
ตัวผู้เขียนบวชเรียนอยู่หลายปีจำพรรษาอยู่ ณ วัดจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ถึงเดือนเมษายน ปีใดคิดถึง รอยพระพุทธบาทที่เคยสักการะ แต่ยังไม่มีโอกาสดีได้เข้าไปจนกระทั่งได้เรียนอยู่ในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2542 ได้ตั้งใจเข้าไปเจริญภาวนาในป่าที่พบรอยพระพุทธบาทในรุ่งเช้าเป็นวันพระ ชาวบ้านที่ทราบข่าวก็ไปร่วมทำบุญ เจริญพระพุทธมนต์เทศนาธรรม สรงน้ำพระพุทธบาท มีชาวบ้านมาร่วมสร้างบุญในครั้งนี้เป็นจำนวนมากตามแรงบุญและแรงศรัทธาในรอยพระพุทธบาทเพื่อสืบอายุของพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง
หลังจากทำบุญรอยพระบาทแล้วก็ได้ไปนมัสการครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เล่าเรื่องที่ได้ไปสืบสานปณิธานของครูบาในการบูรณะโบราณสถานและทำบุญสรงน้ำพระพุทธบาทให้ท่านครูบาฟัง ครูบาชัยยะวงศ์ษาพัฒนา ท่านก็อนุโมทนาบุญได้มอบพระธาตุและไม่เท้าเขาควายมังกร ให้ตัวผู้เขียน ไว้สักการะ ด้วยความเมตตาของครูบาเจ้า
พ.ศ.2554 พระมหาศักดิ์ ภทรธมโม ได้ดำเนินการพัฒนารอยพระพุทธบาทและได้ชวนตัวของผู้เขียนได้เข้าร่วม ทำพิธีทรงน้ำพระพุทธบาทในวันวิสาขบูชา คิดบูรณะอย่างเป็นทางการ
พ.ศ.2555 อาจารย์อนันต์ วงศ์ศรีใส ได้แจ้งเรื่องการบูรณะพัฒนารอยพระพุทธบาทให้ ท่านครูนิวิฐธรรมโชติ เจ้าอาวาสวัดจามเทวี เจ้าคณะตำบลในเมืองเขต 1 ท่านครูพิศาลธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดมหาวัน เจ้าคณะอำเภอเมือง ท่านพระครูวิทิตเจติยานุรักษ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ผู้เป็นอาจารย์ได้ทราบหลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัด พระราชปัญยาโมลี ได้อนุโมทนาบุญในการสร้างองค์พระธาตุครอบรอยพระพุทธบาท จัดทอดผ้าป่าสามัคคีในวันวิสาขบูชา
|