มีข่าวเอิ้นบอก
ข้อมูลและขอเชิญบูชาล็อกเก็ตพระอาจารย์มั่น-ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดป่าดาราภิรมย์
|
|
|
|
|
|
ล็อกเก็ตสองพระอริยสงฆ์
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง : เพื่อนำรายได้ไปซ่อมแซมพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทสี่รอย ที่ชำรุดทรุดโทรม
ลักษณะและรูปแบบล็อกเก็ต :เป็นล็อกเก็ตรูปเหมือนพระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิเต็มองค์ และครูบาเจ้าศรีวิชัยนั่งเต็มองค์นับประคำ ล็อกเก็ตทั้งหมดเป็นฉากทอง มีสองขนาดคือ ขนาดความสูง ๕ เซนติเมตร และ ๔.๕ เซนติเมตร
สาเหตุที่เลือกจัดสร้างล็อกเก็ตรูปเหมือนพระอาจารย์มั่น และครูบาศรีวิชัย เพราะว่าองค์ท่านทั้งสองทีคุณูปการต่อวงการพระพุทธศาสนาในด้านปฏิบัติของภาคเหนือ ทั้งฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และฝ่ายมหานิกาย นอกจากนี้ท่านทั้งสองยังเป็นสหธรรมมิกร่วมสมัยกันอีกด้วย ท่านทั้งสองเคยพบกันเมื่อครั้งพระอาจารย์มั่นเดินทางมากับท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ เพื่อปฏิบัติกิจในภาคเหนือ
การสร้างล็อกเก็ตรูปเหมือนขององค์ท่านทั้งสอง ส่วนหนึ่งก็เพื่อรำลึกถึงคุณูประการของครูบาอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง และเพื่อรำลึกถึงความสนิทสนมในทางธรรมของพระอาจารย์มั่นและครูบาเจ้าศรีวิชัย
|
สามารถติดต่อสอบถามรายเพิ่มเติมได้ที่
วัดป่าดาราภิรมย์ ,คุณวัฒน์ ประตูเชียงใหม่ (088-400-9967) ,ร้านกอร์ม ทิพย์เนตร (ข้างร้านลุงน้อย ประปา)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ครูบาอาจารย์ทั้งหมดที่ร่วมอธิฐานจิตวัตถุมงคล รุ่นสองพระอริยะสงฆ์ ของวัดป่าดาราภิรมย์
แถวบนสุด จากซ้ายไปขวา : ครูบาตั๋น ปัญโญ วัดม่อนปู่อิน เชียงใหม่ ,ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ้อน เชียงใหม่ ,ครูบาสิทธิ วัดดอยลางปางต้นเดื่อ เชียงใหม่ ,ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย ลำพูน ,พระอุดมญาณโมลี หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ,หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ ขอนแก่น ,หลวงปู่บุญมี ปริปุญโณ วัดป่านาคูณ อุดรธานี ,หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อุดรธานี ,หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี ,
แถวกลาง จากซ้ายไปขวา : ครูบาพรรณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน ,ครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด พะเยา , ครูบาออ วัดพระธาตุดอยจอมแวะ เชียงใหม่ ,หลวงพ่อโอภาส วัดจองคำ ลำปาง ,พระราชเจติยาจารย์ วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ , หลวงพ่อไพโรจน์ วิโรจโน วัดดอยปุย เชียงใหม่ ,หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ เชียงใหม่ ,พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่ ,หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ เชียงใหม่
แถวล่าง จากซ้ายไปขวา : ครูบามา วัดศิริชัยนิมิตร เชียงใหม่ ,ครูบาตั๋น วัดย่าพาย เชียงใหม่ ,ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน เชียงใหม่ , ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง เชียงใหม่ , พระญาณวิศิษฏ์ หลวงพ่อทอง วัดอโศการาม สมุทรปราการ , พระราชภาวนาพินิจ หลวงพ่อสนธิ์ วัดพุทธบูชา กรุงเทพ ,หลวงพ่อบุญกู้ อนุวัฑฒโน วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพ , หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง อุดรธานี , หลวงตาม้า วัดถ้ำเมืองนะ เชียงใหม่
ทั้ง 27 องค์ ล้วนเป็นพระอริยะสงฆ์ สายวัดป่าพระอาจารย์มั่นและสายครูบาเจ้าศรีวิชัย พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ทุกค์รูปได้โปรดเมตตาวัดป่าดาราภิรมย์ เพื่อการบูรณะเจดีย์ของหลวงปู่จันทร์ ให้เสร็จลุล่วงไปด้วยดี
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 1 ] Tue 3, Apr 2012 11:52:09
|
|
|
|
ชุดกรรมการรวมกล่อง ประกอบด้วย
๑.ล็อกเก็ตพระอาจารย์มั่น ฉากทอง ขนาด ๕ เซ็นติเมตร หลังแผ่นปั้มรูปเหมือนพระอาจารย์มั่นเนื้อเงิน บรรจุอัฐิและเกศาครูบาอาจารย์ แผ่นทองจังโก๋วัดเจดีย์หลวง ต็อกโคด ตราวัด
๒.ล็อกเก็ตครูบาเจ้าศรีวิชัย ฉากทองขนาด ๕ เช็นติเมตร หลังแผ่นปั้มรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยเนื้อเงิน บรรจุอัฐิและเกศาครูบาอาจารย์ แผ่นทองจังโก๋วัดเจดีย์หลวง ตอกโค๊ด ตราวัด
๓.เหรียญบาตรน้ำมนต์รูปเหมือนพระอาจารย์มั่นหลังเรียบ ตอกโค๊ด ตราวัด
๔.เหรียญบาตรน้ำมนต์รูปเหมือนครูบาศรีวิชัยหลังเรียบ ตอกโค๊ด ตราวัด
๕.ล็อกเก็ตพระอาจารย์มั่น ฉากขาว ขนาด ๓.๔ เซนติเมตร ด้านหลังบรรจุผงอังคารและผงอัฐิของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล เกศา ชานหมาก จีวร ของครูบาอาจารย์หลายรูป
บูชาชุดละ ๕๐๐๐ บาท
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 2 ] Tue 3, Apr 2012 11:55:35
|
|
|
|
ชุดกรรมแยกกล่อง รูปเหมือนพระอาจารย์มั่น
๑.ล็อกเก็ตพระอาจารย์มั่น ฉากทอง ขนาด ๕ เซ็นติเมตร หลังแผ่นปั้มรูปเหมือนพระอาจารย์มั่นเนื้อเงิน บรรจุอัฐิและเกศาครูบาอาจารย์ แผ่นทองจังโก๋วัดเจดีย์หลวง ต็อกโคด ตราวัด
๒.เหรียญบาตรน้ำมนต์รูปเหมือนพระอาจารย์มั่นหลังเรียบ ตอกโค๊ด ตราวัด
บูชาชุดละ ๒๕๐๐ บาท บูชา ๒ชุด ได้ล็อกเก็ตฉากขาวรูปพพระอาจารย์มั่นแถม
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 3 ] Tue 3, Apr 2012 11:56:19
|
|
|
|
ชุดกรรมการแยกกล่อง ครูบาเจ้าศรีวิชัย
๑. ล็อกเก็ตครูบาเจ้าศรีวิชัย ฉากทองขนาด ๕ เช็นติเมตร หลังแผ่นปั้มรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยเนื้อเงิน บรรจุอัฐิและเกศาครูบาอาจารย์ แผ่นทองจังโก๋วัดเจดีย์หลวง ตอกโค๊ด ตราวัด
๒.เหรียญบาตรน้ำมนต์รูปเหมือนครูบาศรีวิชัยหลังเรียบ ตอกโค๊ด ตราวัด
บูชาชุดละ ๒๕๐๐ บาท บูชา ๒ชุด ได้ล็อกเก็ตฉากขาวรูปพระอาจารย์มั่นแถม
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 4 ] Tue 3, Apr 2012 11:57:06
|
|
|
|
ชุดฉากทองธรรมดา รูปเหมือนพระอาจารย์มั่น
๑.ล็อกเก็ตพระอาจารย์มั่น ฉากทอง ขนาด ๔.๕ เซ็นติเมตร หลังแผ่นปั้มรูปเหมือนพระอาจารย์มั่นเนื้อทองเหลือง บรรจุอัฐิและเกศาครูบาอาจารย์ ตอกโค๊ด "ด"
บูชาองค์ละ ๑๐๐๐ บาท
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 5 ] Tue 3, Apr 2012 11:58:10
|
|
|
|
ชุดฉากทองธรรมดา รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย
๑.ล็อกเก็ตครูบาเจ้าศรีวิชัย ฉากทอง ขนาด ๔.๕ เซ็นติเมตร หลังแผ่นปั้มรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย เนื้อทองเหลือง บรรจุอัฐิและเกศาครูบาอาจารย์ ตอกโค๊ด "ด"
บูชาองค์ละ ๑๐๐๐ บาท
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 6 ] Tue 3, Apr 2012 11:58:51
|
|
|
|
เหรียญบาตรน้ำมนต์ สองพรอริยสงฆ์ ด้านหน้ารูปเหมือนพระอาจารย์มั่น หลัง ครูบาศรีวิชัย บูชาองค์ละ 300 บาท
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 7 ] Tue 3, Apr 2012 11:59:38
|
|
|
|
เกศาของครูบาอาจารย์
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หลวงปู่จันทร์ กุสโล วัดเจดีย์หลวง หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดปป่าอุดมสมพร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านพ่อลี ธัมธโร วัดอโศการาม หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจอก้อ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่ทองบัว ตันติกโร วัดโรงธรรมสามัคคี หลวงพ่อทองอินทร์ กุสลจิตโต วัดสันติธรรม หลวงพ่อบัวเกตุ ปทุมสิโร วัดป่าปางกึ๊ด หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิสมภรณ์ หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ หลวงปู่รักษ์ เรวโต วัดศรีเมือง หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต หลวงพ่อบุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ ท่านเจ้าคุณวิมลศีลาจารย์ วัดบรมนิวาส พระราชเจติยาจารย์ วัดเจดีย์หลวง หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย วัดพุทธบูชา หลวงปู่เคน เขมาสโย หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน วัดพระศรีมหาธาตุ หลวงปู่บุญมี ปริปุญโณ วัดป่านาคูณ หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ พระญาณวิเศษ วัดหลวงสุมังคลาราม หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่จาม มหาปุญโญ หลวงปู่ลือ ปุญโญ วัดป่านาทาม
ครูบาเจ้าศรีวิชัย ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง ครูบาอินทจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง ครูบาพรหมมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ครูบาชัยวงศ์ วัดพุทธบาทห้วยต้ม ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ้อน ครูบาตั๋น ปัญโญ วัดม่อนปู่อิน ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย ครูบาอินสม วัดทุ่งน้อย ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ ครูบาพรรณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 9 ] Tue 3, Apr 2012 12:02:33
|
|
|
|
เหรียญ 300 ยังเหลืออยู่หรือเปล่าครับ
|
|
|
โดย : song_mon [Feedback +0 -0] [ +0 -0] |
|
[ 10 ] Tue 3, Apr 2012 12:38:40
|
|
|
|
“หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป” หรือ “พระอุดมญาณโมลี” เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ แม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา และเป็นแบบอย่างอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนชาวอีสานมาอย่างยาวนาน ด้วยยึดหลักธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพลังเกื้อหนุนจากธรรมะของครูบาอาจารย์ที่คอยสนับสนุนตลอดมา ปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่จึงเป็นครูของชีวิตที่คณะศิษยานุศิษย์ภาคภูมิใจยิ่ง
หลวงปู่จันทร์ศรี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญสาร และนางหลุน แสนมงคล ก่อนที่โยมมารดาจะตั้งครรภ์ ในคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 นั้น ฝันเห็นพระ 9 รูป มายืนอยู่ที่ประตูหน้าบ้าน พอรุ่งขึ้นตรงวันขึ้น 15 ค่ำ เพ็ญเดือน 3 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ได้เห็นพระกัมมัฏฐาน 9 รูปมาบิณฑบาตยืนอยู่หน้าบ้าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงรีบจัดภัตตาหารใส่ภาชนะ ไปนั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าพระเถระผู้เป็นหัวหน้า ยกมือไหว้ แล้วใส่บาตรจนครบทั้ง 9 รูป แล้วนั่งพับเพียบประนมมือกล่าวขอพรว่า
“ดิฉันปรารถนาอยากได้ลูกชายสัก 1 คน จะให้บวชเหมือนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ”
พระเถระก็กล่าวอนุโมทนา หลังจากนั้นอีก 1 เดือน นางหลุน แสนมงคล ก็ได้ตั้งครรภ์ และต่อมาก็คลอดบุตรชายรูปงามในวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2454
ปัจจุบัน หลวงปู่จันทร์ศรี สิริอายุได้ 100 ปี พรรษา 80 (เมื่อปี พ.ศ.2555) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 11 ] Thu 5, Apr 2012 09:52:16
|
|
|
|
ประวัติหลวงปู่พระมหาโส กัสสโป
document.write(unescape("%3Cscript src='" + (document.location.protocol == "https:" ? "https://sb" : "http://b") + ".scorecardresearch.com/beacon.js?c1=8&c2=6864323&c3=995&c4=&c5=&c6=&c10=&c15=' %3E%3C/script%3E"));
หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป พระอรหันต์กลางป่าบำเพ็ญสมณะกรรมฐานเป็นนิจ
**หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป นามสกุลเดิม ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ วันจันทร์ ที่ 8 พ.ย.2458 เวลาตี 2 (ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ปีเถาะ) ปัจจุบันสิริอายุ 94 ปี
**สถานที่เกิด : เกิดที่ บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ เคน โยมมาดาชื่อ ค้ำ มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน คือ
บรรพชา
**ในปี พ.ศ.2477 เมื่อมีอายุ 19 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรกับหลวงปู่อุปัฌชาย์อ่อน ที่วัดบ้านก่อ(บ้านเกิดท่าน) เป็นการบวชหน้าไฟให้โยมมารดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ครบกำหนดแล้ว ก็ธรรมทำความรู้ในพระธรรมวินัยด้านปริยัติแตกฉาก จนสอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ติดต่อกันมาทุกปี จนทำให้มีศรัทธาบวชต่อ
อุปสมบท
**ถึงปี พ.ศ.2478 อายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยมีพระอุปัฌชาอ่อน เป็นพระอุปัฌชาย์ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น
ญัตติเป็นธรรมยุติ
**ล่วงเข้าปี พ.ศ.2480 ท่านได้กราบลาพระอุปัฌชาย์อ่อนออกเดินทางติดตามพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน (ซึ่งเป็นญาติกันด้วย) โดยมีจุดหมายปลายทางที่ จ.อุดรธานี เมื่อเดินทางถึง จ.อุดรธานี หลวงปู่พระมหาสีทนได้นำท่านไปเปลี่ยนยัตติเป็นพระธรรมยุต ในวันที่ 17 ก.ค.2480 ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัฌชาย์ มีพระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อยัตติแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์
เป็นมหาเปรียญ
**หลวงปู่พระมหาโส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด ท่านแสวงธรรมทั้งในด้าน ปฏิยัติ(แสวงหาความรู้) ปฏิบัติ(แสวงธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) ปฏิเวธ(แสวงหาธรรมด้วยปัญญาของตนเองเพื่อแสวงหาวิโมกติสุข) ถึงเวลาต่อมาในพรรษาที่ 12 ท่านก็ได้แตกฉากบาลี จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง จ.อุดรฯ ด้วย
**แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง 4 ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า"พ้นจากวัฏสงสาร"อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป
ประวัติอื่นๆ
**หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดว่าท่านเป็นศิษย์หรือสหธรรมิกของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แต่ที่จริงไม่ใช่เพราะถ้านับพรรษาหลวงปู่มหาโสพรรษามากกว่าหลวงปู่ผางถึง 10 ปี เพราะหลวงปู่ผางท่านอุปสมบทตอนอายุ 40 ปีครับ) ในขณะที่ผู้คนรู้จักชื่อเสียงของหลวงปู่ผาง หลวงปู่มหาโสยังคงธุดงธ์แสวงวิเวกอยู่ในป่าอยู่
**ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่งชึ่งผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใด เพราะปฏิปทาท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตในป่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นับตั้งแต่อายุ 70 ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่งสังคมทางโลกอีกเลยจนถึงปัจจุบัน สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ต่อมาเมื่อท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็งจนถึงปัจจุบันท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
**หลวงปู่มหาโส กัสสโป แห่งวัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ไม่เคยพบกับหลวงปู่มั่นโดยตรง แต่ก็มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม) วัดป่าโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน และเป็นพระอุปัฌชาย์ผู้ญัติเป็นธรรมยุติให้หลวงปู่ด้วย และท่านก็ยังมีท่านพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระวิปัสสนากรรมฐานผู้เป็นเสาหลักใหญ่ของจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น คอยสอนกรรมฐานให้หลวงปู่มหาโส เมื่อครั้งพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พาหมู่คณะพระกรรมฐานมาจำพรรษาเพื่อเผยแผ่ธรรมะในจังหวัดขอนแก่น ระยะประมาณ พ.ศ.2472 -2475 พระอาจารย์มหาสีทน ก็ได้ฝากหลวงปู่มหาโส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปัญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) อดีตเจ้าคณะ จ.อุบลฯ เป็นศิษย์พระอาจารย์สิงห์ด้วย
**หลวงปู่มหาโส ขณะนี้อายุได้ 97 กว่าปีแล้ว นับเป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย เช่น หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จซ.ขอนแก่น , เจ้าคุณพระธรรมดิลก (หลวงพ่อสมาน สุเมโธ) เจ้าคณะภาค 9 ธรรมยุติ วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร , หลวงพ่อนงค์ ปคุโณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต(หลวงปู่ผาง) จ.ขอนแก่น , หลวงปู่สมาน ถาวโร เจ้าคณะ อ.มัญจาคีรี(ธรรมยุต) วัดป่าโนนสำนัก จ.ขอนแก่น ฯลฯ หลวงปู่มหาโสชราภาพมาก ๆ แต่สุขภาพแข็งแรงดี ความจำดีอยู่ และท่านยังปฏิบัติศาสนกิจของท่านอยู่เสมอต้นเสมอปลาย ทั้งการอบรมธรรมะแก่พระเณร อุบาสก อุบาสิกา การพัฒนาวัด การต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มากราบเยี่ยมที่วัด ซึ่งมีมาไม่เคยขาดสายเลยแม้แต่วันเดียว ไม่ว่าจะอยู่ไกลขนาดไหนก็มา ด้วยบารมีแห่งแสงธรรมขององคืหลวงปู่เอง
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 12 ] Thu 5, Apr 2012 10:00:33
|
|
|
|
ประวัติหลวงปู่พระมหาโส กัสสโป
document.write(unescape("%3Cscript src='" + (document.location.protocol == "https:" ? "https://sb" : "http://b") + ".scorecardresearch.com/beacon.js?c1=8&c2=6864323&c3=995&c4=&c5=&c6=&c10=&c15=' %3E%3C/script%3E"));
หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป พระอรหันต์กลางป่าบำเพ็ญสมณะกรรมฐานเป็นนิจ
**หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป นามสกุลเดิม ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ วันจันทร์ ที่ 8 พ.ย.2458 เวลาตี 2 (ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ปีเถาะ) ปัจจุบันสิริอายุ 94 ปี
**สถานที่เกิด : เกิดที่ บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ เคน โยมมาดาชื่อ ค้ำ มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน
บรรพชา
**ในปี พ.ศ.2477 เมื่อมีอายุ 19 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรกับหลวงปู่อุปัฌชาย์อ่อน ที่วัดบ้านก่อ(บ้านเกิดท่าน) เป็นการบวชหน้าไฟให้โยมมารดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ครบกำหนดแล้ว ก็ธรรมทำความรู้ในพระธรรมวินัยด้านปริยัติแตกฉาก จนสอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ติดต่อกันมาทุกปี จนทำให้มีศรัทธาบวชต่อ
อุปสมบท
**ถึงปี พ.ศ.2478 อายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยมีพระอุปัฌชาอ่อน เป็นพระอุปัฌชาย์ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น
ญัตติเป็นธรรมยุติ
**ล่วงเข้าปี พ.ศ.2480 ท่านได้กราบลาพระอุปัฌชาย์อ่อนออกเดินทางติดตามพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน (ซึ่งเป็นญาติกันด้วย) โดยมีจุดหมายปลายทางที่ จ.อุดรธานี เมื่อเดินทางถึง จ.อุดรธานี หลวงปู่พระมหาสีทนได้นำท่านไปเปลี่ยนยัตติเป็นพระธรรมยุต ในวันที่ 17 ก.ค.2480 ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัฌชาย์ มีพระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อยัตติแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์
เป็นมหาเปรียญ
**หลวงปู่พระมหาโส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด ท่านแสวงธรรมทั้งในด้าน ปฏิยัติ(แสวงหาความรู้) ปฏิบัติ(แสวงธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) ปฏิเวธ(แสวงหาธรรมด้วยปัญญาของตนเองเพื่อแสวงหาวิโมกติสุข) ถึงเวลาต่อมาในพรรษาที่ 12 ท่านก็ได้แตกฉากบาลี จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง จ.อุดรฯ ด้วย
**แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง 4 ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า"พ้นจากวัฏสงสาร"อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป
ประวัติอื่นๆ
**หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดว่าท่านเป็นศิษย์หรือสหธรรมิกของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แต่ที่จริงไม่ใช่เพราะถ้านับพรรษาหลวงปู่มหาโสพรรษามากกว่าหลวงปู่ผางถึง 10 ปี เพราะหลวงปู่ผางท่านอุปสมบทตอนอายุ 40 ปีครับ) ในขณะที่ผู้คนรู้จักชื่อเสียงของหลวงปู่ผาง หลวงปู่มหาโสยังคงธุดงธ์แสวงวิเวกอยู่ในป่าอยู่
**ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่งชึ่งผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใด เพราะปฏิปทาท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตในป่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นับตั้งแต่อายุ 70 ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่งสังคมทางโลกอีกเลยจนถึงปัจจุบัน สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ต่อมาเมื่อท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็งจนถึงปัจจุบันท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
**หลวงปู่มหาโส กัสสโป แห่งวัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ไม่เคยพบกับหลวงปู่มั่นโดยตรง แต่ก็มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม) วัดป่าโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน และเป็นพระอุปัฌชาย์ผู้ญัติเป็นธรรมยุติให้หลวงปู่ด้วย และท่านก็ยังมีท่านพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระวิปัสสนากรรมฐานผู้เป็นเสาหลักใหญ่ของจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น คอยสอนกรรมฐานให้หลวงปู่มหาโส เมื่อครั้งพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พาหมู่คณะพระกรรมฐานมาจำพรรษาเพื่อเผยแผ่ธรรมะในจังหวัดขอนแก่น ระยะประมาณ พ.ศ.2472 -2475 พระอาจารย์มหาสีทน ก็ได้ฝากหลวงปู่มหาโส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปัญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) อดีตเจ้าคณะ จ.อุบลฯ เป็นศิษย์พระอาจารย์สิงห์ด้วย
**หลวงปู่มหาโส ขณะนี้อายุได้ 96 กว่าปีแล้ว นับเป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย เช่น หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จซ.ขอนแก่น , เจ้าคุณพระธรรมดิลก (หลวงพ่อสมาน สุเมโธ) เจ้าคณะภาค 9 ธรรมยุติ วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร , หลวงพ่อนงค์ ปคุโณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต(หลวงปู่ผาง) จ.ขอนแก่น , หลวงปู่สมาน ถาวโร เจ้าคณะ อ.มัญจาคีรี(ธรรมยุต) วัดป่าโนนสำนัก จ.ขอนแก่น ฯลฯ หลวงปู่มหาโสชราภาพมาก ๆ แต่สุขภาพแข็งแรงดี ความจำดีอยู่ และท่านยังปฏิบัติศาสนกิจของท่านอยู่เสมอต้นเสมอปลาย ทั้งการอบรมธรรมะแก่พระเณร อุบาสก อุบาสิกา การพัฒนาวัด การต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มากราบเยี่ยมที่วัด ซึ่งมีมาไม่เคยขาดสายเลยแม้แต่วันเดียว ไม่ว่าจะอยู่ไกลขนาดไหนก็มา ด้วยบารมีแห่งแสงธรรมขององคืหลวงปู่เอง
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 13 ] Thu 5, Apr 2012 10:03:22
|
|
|
|
หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ ที่บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายปุ่น และนางโพธิ์ สาลีเชียงพิณ ท่านมีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน ชาย ๔ คน หญิง ๕ คน ท่านเล่าชีวิตในวัยเด็กว่า สมัยเป็นเด็กพ่อแม่ก็พาทำบุญเหมือนกับชาวบ้านทั่ว ๆ ไป อายุได้ ๑๒ ปี เรียนจบชั้น ป. ๓ พออายุ ๒๐ กว่าปีก็ได้แต่งงานกับนางสาวตี ภรรยาตั้งท้องแล้วคลอดลูกออกมาตาย
ท่านได้เกิดความสลดใจเป็นยิ่งนัก ท่านเล่าว่า การแต่งงานก็มิได้แต่งกันด้วยความรัก แต่งงานกันตามประเพณีที่พ่อแม่บอกให้แต่งเท่านั้น ท่านเองไม่เคยมีคนที่รัก และยังไม่เคยรักหญิงใดเลย ท่านอยู่กินกับภรรยาได้ ๒ ปี ๖ เดือน จึงขอออกบวช เพราะได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐานที่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ที่เดินธุดงค์มาพักยังป่าแถบหมู่บ้านของท่านเก่งนักในการพิจารณาอสุภะกรรมฐาน พิจารณาเมื่อไหร่ ก็ได้เรื่องได้ราวเมื่อนั้น เห็นผลเป็นที่ประจักษ์เป็นอุปนิสัยดั้งเดิมของท่าน
ท่านอุปสมบทที่วัดศรีโพนเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมือวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๑๖.๑๒ น. โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามว่า กุสลธโร แปลว่า พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี
หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านบวชเณรเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากนั้นท่านก็ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จนกระทั่งมาสร้างวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี หลวงปู่ฯท่านพระลูกศิษย์หลวงตามหาบัว รุ่นแรก ๆ เลยก็ว่าได้ สำหรับภูมิธรรมของหลวงปู่ฯนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้หลวงตาบัวท่านก็ได้เทศน์ประกาศให้ลูกศิษย์ได้รับรู้รับทราบกันกระจ่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ว่าหลวงปู่ลีท่านถึงที่สุดแห่งธรรมมานานแล้วนะ แต่ท่านอยู่ของท่านอย่างเงียบ ๆ รู้กันเฉพาะในวงกรรมฐานเท่านั้น
หลังจากงานประชุมเพลิงหลวงปู่ใหญ่มั่นฯ เสร็จแล้ว องค์ท่านก็ได้มาอยู่สำนักของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่บ้านหนองบัวบานก่อน (ต่อมาบริเวณนี้ได้กลายเป็นวัดป่านิโครธาราม) องค์ท่านเองได้เป็นพระพี่เลี้ยง พระอาจารย์จันทร์เรียน และได้ร่วมวิเวกด้วยกันหลาย ต่อหลายแห่ง และได้พบกันบ้างเมื่อติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เข้าป่าไป มีเรื่องอภินิหารที่ได้รับฟังจากประสบการณ์ของหลวงพ่อจันทร์เรียน ครั้นที่ท่านทั้ง ๒ อยู่ร่วมกันหลายเรื่อง แต่ถ้าเล่าไปคงต้องโดนท่านเข่น ภายหลังแน่ ฉะนั้นไปสอบถามท่านเองดีกว่า
หลังจากนั้นองค์หลวงปู่ลี ท่านก็ได้มาอยู่ที่ดอยน้ำจั่น ใครไปภูสังโฆ คงเห็นป้ายอยู่ ปัจจุบันท่านพระอาจารย์สมหมาย อริโย ศิษย์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว มาอยู่ดูแลแทน และได้ตั้งเป็นวัดดอยน้ำจั่น บ.ห้วยไร่ ต.อุบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี สมัยที่หลวงปู่ลี ไปอยู่เกิดเหตุการณ์ถูกรบกวนจากพวกนายหน้าตัดไม้ทำลายป่า เข้ามาก่อกวน ท่านจึงวิเวกมาอยูที่ วัดป่าภูทอง บ.ภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เดิมที หลวงปู่มหาบุญมี สิรินธโร มาสร้างไว้ ก่อนไปอยู่ถ้ำและวัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม ตามลำดับ
|
|
|
โดย : เด็กวัด [Feedback +3 -0] [ +0 -0] |
|
[ 14 ] Thu 5, Apr 2012 10:08:15
|
|
|
|
|
|
|
|