ไปพบบทความของผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญอย่างจริงๆ และแท้จริง ของท่านเชน เชียงใหม่(ประธานชมรมเครื่องรางล้านนา) ซึ่งเป็นบทความที่น่าสนใจ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันกับ อาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง (ผู้เชี่ยวชาญอันดับหนึ่งแห่งแดนล้านนา) จึงนับว่าเป็นบทความที่สำคัญที่ควรได้อ่านศึกษาและเก็บข้อมูลไว้เป็นหลักอย่างมั่นคง จะได้ไม่สับสน ถ้าหลักไม่นิ่ง จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัตถุมงคลของครูบาชุ่มได้
บทความของท่านเชน เชียงใหม่ มีดังนี้
ลงให้ชมกันชัดๆ ครับ สำหรับตะกรุดครูบาชุ่ม วัดวังมุย ยุคต้น ที่เล่นหากันเป็นมาตรฐาน คือ หนังต้องบางครั่งต้องเก่า แบบนี้
ตะกรุดของท่านมีทั้งแบบลงทองและไม่ลงทองครับ อย่าสับสนยึดติดว่าต้องมีทองอย่างเดียว คิดแบบนั้นหลงทางทันที
ตะกรุดครูบาชุ่ม มีที่ลงทองและไม่ลงทอง แบบที่ลงทองนั้น จะมีสองแบบ คือ แบบ ที่ลงทองเก่า ที่ออกวังมุย
กับ แบบที่ลงทองบรอนซ์ ไม่เก่ามาก เชือกเหลือง แจกศิษย์ท่าซุง ปี18 ซึ่งจริงๆ แล้วตะกรุดที่สร้างแจกท่าซุงนั้นเป็นยุคสุดท้ายของตะกรุดครูบาชุ่ม หรือ ยุคปลายนั่นเอง
>>>ตะกรุดครูบาชุ่มแท้ๆ นั้น มีผู้ที่ได้รับมากับมือมีมากมายหลายท่านครับ มีทั้งที่ไม่ลงทอง และลงทองการลงทอหรือไม่ลงนั้น ไม่ได้เป็นข้อยุติว่าเป็นตะกรุดของครูบาชุ่มหรือไม่ ต้องดูองค์ประกอบอย่างอื่น เช่น ลักษณะของตะกรุด ความเก่าของครั่ง ความแห่งของหนัง ดอกที่ปริแตก มองเห็นลวดหรือเชือกที่พันภายในเป็นต้น
เพราะตะกรุดหนังที่ลงทองนั้น มิใช่มีเพียงของครูบาชุ่มเพียงองค์เดียว เท่าที่ทราบ มีของครูบาต๋า วัดบ้านเหล่า และ ศิษย์ฆราวาสของครูบาชุ่ม คือ พ่อหนานปัน ก็ทำตะกรุดลงทอง ทุกวันนี้ถูกตียัดเป็นครูบาชุ่มไปแล้วเพราะได้ราคา
>>>ขอให้พี่น้องผู้นิยมเครื่องรางทุกท่านลองศึกษาหรือสอบถามผู้รู้หลายๆท่านตลอดจนชาวบ้านละแวกวังมุยว่า จริงหรือไม่ที่ตะกรุดครูบาชุ่ม จะต้องมีลงทองอย่างเดียว แล้วท่านจะเข้าใจคำตอบว่าอะไรคือความจริง ชาวบ้านวังมุย ส่วนใหญ่ที่ได้รับตะกรุดจากมือครูบาชุ่ม จะเป็นดอกไม่ลงทอง และ ผมได้ไปค้นคว้าเรื่องตะกรุดครูบาชุ่ม ตั้งแต่ปี2545
และ ตอนนั้นได้ไปบ้านพ่อหนานปัน จินา เพื่อขอความรู้เกี่ยวกับตะกรุดครูบาชุ่ม และ ผมยังได้บูชาลูกปรอทของพ่อหนานปัน มาจำนวน 3 ลูก ลูกละ300 บาทได้แบ่งให้เพื่อนไปจนหมด พ่อหนานว่า ดีเอาไว้กันงูเงี้ยวเขี้ยวขอ ส่วนตัวผมมีของครูบาชุ่มแล้ว(จะลูกเล็กมีตะกรุดทองแดงเล็กๆภายใน และ เก่าจัดๆ) ซึ่งตะกรุดปรอทของพ่อหนานปันนั้นจะใหญ่กว่าของครูบาชุ่ม สีคล้ายตะกั่วไม่วาว ปัจจุบันถูกนำมาโชว์เป็นของครูบาชุ่มไปแล้ว
สิ่งไหนดีเพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์ทำไปเถอะครับ ผม และ ชมรมเครื่องรางล้านนาทุกคนยินดีให้การสนับสนุน
แต่ข้อมูลบางอย่างที่บางท่านศึกษามาอย่างไม่ถ่องแท้ ใช้ตะกรุดยุคปลาย ของครูบาชุ่มที่ลงทองเป็นตัวชี้วัดตะกรุดครูบาชุ่มทั้งหมด จึงผิดทันที และทำให้คนที่หลงเชื่อ คิดตามผิดไปด้วย
ผมในฐานะประธานชมรมเครื่องรางล้านนา จึงต้องออกมาบอกกล่าวให้ฟังถึงความจริง
ฝากไว้ตอนท้ายสักนิดนะครับว่า คนที่ห้อยสมเด็จวัดระฆังอยู่ บางคนอาจดูสมเด็จวัดระฆังไม่เป็นฉันใด
คนที่มี หรือได้รับมอบตะกรุดจากครูบาชุ่มมาก็ไม่ได้จำเป็นว่าต้องดูตะกรุดครูบาชุ่มเก่ง หรือ ดูเป็นเสมอไปนะครับ
ทุกอย่างอยู่ที่การศึกษาค้นคว้าอย่างเอาจริงเอาจังต่างหาก เราถึงจะไขปริศนาแห่งตะกรุดได้ว่า อะไรคือยุคต้น อะไรคือยุคปลาย อะไรคือใช่ อะไรคือไม่ใช่ ดอกไหนของอาจารย์ ดอกไหนของลูกศิษย์
สิ่งที่พึงสังเกตุอีกอย่าง ทำไม่ตะกรุดทาทองบรอนซ์ของครูบาชุ่มช่วงนี้ออกมาเยอะจัง
โดยส่วนตัว ผมจะเลือกเก็บเลือกเช่าเฉพาะที่ทองบรอนซ์เก่าๆ แบบถึงยุคครูบาชุ่มเท่านั้น
เพราะของพ่อหนานปัน นั้น ทุกวันนี้มันกลายเป็นของครูบาชุ่มไปแล้ว
ประวัติศาสตร์เรื่องราวของตะกรุดอาจเปลี่ยนภายในวันเดียว ถ้าวันหนึ่ง ผู้คนยึดถือว่าตะกรุดครูบาชุ่มต้องมีลงทองอย่างเดียว แค่ประโยคนี้ประโยคเดียวก็ผิดแล้วครับ
แล้วอย่างนี้คนที่เขารับตะกรุดที่ไม่ได้ลงทองจากมือครูบาชุ่มโดยตรง ตลอดจนของที่ได้รับจากพ่อแม่ปู่ย่าเป็นมรดกไม่ลงทอง ทั้งๆ ที่พ่อแม่ปู่ย่าก็ยืนยันว่ารับกับมือครูบาชุ่ม แบบนี้จะเชื่อใครครับ
ถามผม ว่าผมเล่นแบบไหน ผมจะซื้อทุกดอกที่เห็นหนังและครั่งเก่า ทุกดอกจะเป็นครูบาชุ่มหรือไม่ ผมตอบไม่ได้ถ้าไม่ได้เห็นดอกจริง ลักษณะตะกรุด ธรรมชาติความเก่าของครั่งและหนังจะเป็นตัวบอกยุ แต่สิ่งที่ผมรู้คือ
ตะกรุดหนังพอกครั่ง ส่วนใหญ่ เป็นของครูบาชุ่ม แต่ตะกรุดหนังลงทองนั้น ถ้าทองไม่เก่าผมไม่เอาและผมไม่ซื้อ
เพราะผมเชื่อว่า ไม่ใช่ของครูบาชุ่ม
ขอบคุณครับ
ด้วยความเคารพ
เชน เชียงใหม่
เครดิต
http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid=258108
ท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง และท่านเชน เชียงใหม่ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
|