" พระอภัยสารทะ นพีสีบุรวุฑฒาจารย์ สังฆปาโมกข์ " ตอนแรกผมเข้าใจว่าเจ้าคุณวัดฝายหิน เชิงดอยสุเทพ แต่ปีที่พระราชทานสมณศักดิ์ของเจ้าคุณวัดฝายหินในปี ๒๔๔๙ ประการที่๒ เจ้าคุณท่านมรณะภาพในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๕๗ จากข้อความข้างล่างภาพถ่าย เข้าใจผิดพลาดแน่นอน แล้วจะทำอย่างไรดี ท่านผู้นี้เป็นใคร แต่คำว่า เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรากฏเลยเป็นจุดเริ่มต้น
ทำเนียบพระราชาคณะ (มหานิกาย )คณะสงฆ์จังหวัเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๙-๒๔๕๔
๑ พระอภัยสารทะสังฆปาโมกข์ (อุ่นเรือน โสภโณ) วัดฝายหิน ๒๔๔๙
๒ พระโพธิรังสีมารชีศาสนา (จันทร์แก้ว คันธาโร ) วัดเชตุพล ๒๔๖๑
๓ พระอภัยสารทะ (ก้อนแก้ว อินทจักโก) วัดเชตวัน ๒๔๖๗
๔ พระอภัยสารทะนพีสีบุรวุฑฒาจารย์ (อุทธา อภิวังโส) วัดทุงยู ๒๔๗๔
และแล้วก็ถึงบางอ้อ วัดทุงยู คำว่า"ทุงยู" ปรากฏในวรรณกรรม และกฏหมายโบราณ หมายถึงร่มที่ประดับยศเจ้านาย วัดทุงยู เป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงค์มังรายได้รับการบูรณะและฟื้นฟูจากเจ้าหลวงเชียงใหม่สืบต่อมา ดังปรากฏใน พ.ศ.๒๔๕๒ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๘ โปรดให้สร้างฉัตร และเจดีย์ ภายในวัดพบกู่อัฐฐิ อดีตเจ้าอาวาสวัดทุงยู บรรทึกไว้ว่า " อัสถิ พระอภัยสารทะนพีสีบุรวุฑฒาจารย์ (อุทธา) เจ้าอาวาสวัดทุงยู เจ้าคนะจังหวัดกิตติมสักดิ์เทียบเท่าพระราชาคนะชั้นราช ดำรงตำแหน่งเจ้าคนะจังหวัดเชียงใหม่ 10 ปี ชาต 2405 มรนะภาพ 2486 สิริชนมายุ80ปี 60พรรสา
เจ้าน้อยบัวระกฏ ตามข้อมูลบรรทึก ไว้ว่า เจ้าหนานบัวระกฏ ณ ลำพูน เป็นบุตรที่ ๑๓ ในเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ (เจ้าน้อย ดาวเรือง ณ ลำพูน ) เจ้าหลวงผู้ครองนครลำพูน ลำดับที่ ๗ ใน ( ทิพยจักราธิวงค์ )
วันพระราชทานสมณศักดิ์ วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ ต่อมาอีก ๘ เดือนสยามประเทศ ได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง แม้แต่คณะสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น ยังต้องแบ่งการปกครอง ออกเป็นสองนิกาย คือมหานิกาย และ ธรรมยุติ การปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย อยู่ในการดูแลของ เจ้าคุณพระอภัยสารทะ วัดทุงยู การปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุต อยู่ในการดูแลของเจ้าคุณอุบาลีคุณูปรมาจารย์ แห่งวัดเจดีย์หลวง
|