พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
ร่วมด้วยจ้วยกั๋นผ่อ

รบกวนช่วยวิจารณ์พระหินแกะองค์นี้ด้วยครับ


รบกวนช่วยวิจารณ์พระหินแกะองค์นี้ด้วยครับ


รบกวนช่วยวิจารณ์พระหินแกะองค์นี้ด้วยครับ

   
 

บูชามาเพราะเห็นว่าไม่เคยพบเจอที่ไหนทั้งศิลปะองค์พระและผิวพระ ทั้งๆที่ไม่เคยศึกษาพระหินแกะจำพวกกรุฮอดเลยครับ จึงต้องรบกวนพี่ๆที่เชี่ยวชาญกว่าช่วยชี้แนะ ส่วนตัวคิดว่าองค์นี้น่าจะดีเพราะ

1. ผิวพระกรุ คราบแน่น ไม่มันวาว

2. ศิลปะแกะแบบนี้ ไม่ใช่งานโหลในสมัยนี้

3. รายละเอียดมีร่องรอยการแกะแบบโบราณ

แต่ก็ดูแค่พื้นฐานครับ ให้เจอะลึกๆเลยไม่ได้ครับ

กลัวว่าพระฝีมือสมัยนี้ก้าวหน้าแบบตามไม่ทัน

จึงรบกวนพี่ๆที่มีความรู้ในการดูพระกรุหินแกะด้วยครับ

ฟันมาเต็มๆแบบไม่ต้องเกรงใจนะครับ อยากรู้และศึกษาจริงๆ

 
     
โดย : Entabond   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Tue 13, Dec 2011 22:58:26
 








 

หินแบบนี้เท่าที่ศึกษาตามเวป เค้าเรียกว่า บุษย์น้ำแตง

รบบกวนด้วยครับ

 
โดย : Entabond    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Tue 13, Dec 2011 23:00:10

 
ลืมบอก หน้าตักประมาณ หนึ่งนิ้วครับ
 
โดย : Entabond    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Tue 13, Dec 2011 23:00:35

 

ต้องทำความเข้าใจระหว่างหินกับแก้วก่อนนะครับ

บุศน้ำแตงนี่เป็นแก้ว ไม่ใช่หิน ความหนาแน่นน้อยกว่า กรรมวิธีการทำคือหล่อเทลงพิมพ์แล้วแกะครับ

ต่างจากหินที่เก็บมาเป็นก้อนแล้วแกะเป็นองค์ หลอมให้เหลวไม่ได้

องค์นี้เป็นแก้ว จากศิลป์ ถือว่าไม่แท้ครับ

 
โดย : Tae    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Wed 14, Dec 2011 15:20:17

 

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพี่เต้มากครับที่เข้ามาให้ความรู้

อย่างที่พี่เต้ว่าจริงๆครับ องค์นี้ท่าทางเป็นแก้วไม่ใช่หิน

เพราะว่ามีน้ำหนักเบากว่าพระหินแกะทั่วไปเช่น หินจุยเจีย

 

จากที่พี่ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า "จากศิลป์ ถือว่าไม่แท้"

รบกวนเพิ่มเติมอีกนิดเพื่อการเรียนรู้ครับ

1. ถ้าพักเรื่องศิลปะการแกะออกไปก่อน เรื่องผิวพระกรุแก้วแบบนี้

ถือว่าเป็นพระปลอม ฝีมือทำคราบและผิวมาใช่ไหมครับ ผิวแบบนี้ไม่ได้เกิดจาก

ธรรามชาติพระแก้วกรุใช่ไหมครับ ถ้าใช่ ช่วยอธิบายเป็นความรู้ว่าตรงไหน อย่างไร

ด้วยครับ ต้องการศึกษาจริงๆครับ รบกวนพี่สละเวลาพิมพ์ หรือให้ผมโทรไปหาก็ได้ครับ

2. กลับเข้ามาเรื่องศิลปะ แน่นอนว่าศิลป์การแกะแบบนี้ ไม่ใช่ศิลป์ทางเชียงแสนหรือศิลป์พระแก้วแกะของกรุเมืองฮอด เพราะแตกต่างกันอย่างมากครับ ศิลป์ที่แกะองค์นี้จะออกไปทาง ศิลป์ปาละ ซึ่งทางภาคเหนือจะพบพระกรุศิลปะนี้ได้ทางแนวจังหวัดเพชรบูณร์ขึ้นมาจนถึงลำพูน

3. พระแก้วแกะนั้นพบเจอกันหลายๆกรุ หลายๆถิ่น รวมถึงหลายๆยุค ศิลปะที่พบอาจจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นส่วนตัวแล้วคิดว่าดูจากศิลป์อย่างเดียวคงไม่ได้

 

ดังนั้นผมคิดว่าข้อหนึ่ง คือเรื่องความเป็นธรรมชาติของพระกรุแก้วแกะนั้น น่าจะเป็นจุดตัดสินความแท้ของพระแก้วแกะได้ดีที่สุดนะครับ รบกวนพี่วิจารณ์พระองค์นี้ต่อด้วยครับ

ผมสะสมและศึกษาพระด้วยใจอนุรักษ์ครับ จึงอยากจะรู้จริงจัง

พระแก้วแกะ ไม่เคยได้ศึกษาเลย จนได้องค์นี้มา

จึงรบกวนพี่ๆช่วยเป็นทางลัดครับ

ขอขอบคุณมากครับ

 

 
โดย : Entabond    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Wed 14, Dec 2011 20:57:44

 
"ปาละ" เลยเหรอครับ ปาละพุทธศตวรรษที่14-18 ตอนที่อินเดียเป็นราชวงศ์ปาละ คนแถวนี้ยังปั้นดินแล้วเผาเป็นพระสาม พระเลี่ยง พระคงเองครับ เรื่องแก้วจะรู้ว่าหลอมแล้วเอาไปเทลงพิมพ์มาแกะลืมได้เลย สมัยนั้นยังทำไม่เป็นจริงๆ ลำพูนเป็นศูนย์กลางของเวียงต่างๆในแถบนี้ ถ้าที่อื่นมีคนพบแก้วแบบนี้ ลำพูนต้องมีเหมือนกัน เรื่องผิวองค์นี้ยังไงก็ไม่ใช่ เพราะผิวแก้วที่ทำปฏิกิริยากับความชื้นในดิน จะถูกหุ้มคล้ายเปลือกหินปูน ซึ่งองค์นี้ไม่ใกล้เคียง บางองค์ใกล้กว่านี้ยังเล่นยากเลยครับ ศึกษาดิน หรือสำริดก่อนดีกว่าครับ เรื่องแก้วเอาไว้ศึกษาทีหลังเถอะครับ ถ้าสองอันแรกเก่งแล้ว จะรู้ว่าคนล้านนาหลอมแก้วเป็นเมื่อไหร่ เมื่อผมเขียนว่า "จากศิลป์ ถือว่าไม่แท้" จะได้เข้าใจวลีนี้ครับ
 
โดย : Tae    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Thu 15, Dec 2011 21:50:53

 
เนื้อหาสาระ ท่าน  Entabond   และท่าน Tae  สุดยอดไปเลยครับ จิตนาการตามไปถึง อดีตชาติได้สมน้ำสมเนื้อจริงๆ ได้ความรู้เพิ่มอีก เยอะเลย  
 
โดย : ไก่แจ้ห่ม    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Fri 16, Dec 2011 00:01:21

 

ขอบคุณพี่เต้ที่สละเวลาเข้ามาตอบคำถามผมนะครับ

จากการที่ได้อธิบายเพิ่มเติมนั้น ทำให้ผมได้เข้าใจมากขึ้นครับ

วันนี้ผมก็ได้ความรู้เพิ่มประดับตัวเองไว้อีกประเด็นแล้วครับ

ขอบคุณมากครับพี่ คงต้องศึกษากันต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดครับ

 

ขอบคุณอีกครั้งครับ

 
โดย : Entabond    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Fri 16, Dec 2011 06:00:15

 

ขอเสริมอีกนิดนะครับ

ปกติการศึกษาพระพุทธรูป ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสำริด ดิน ไม้ หิน หรือแก้วก็ตามที สิ่งที่จำเป็นต้องทราบเป็นเบืื้องต้นคือเรื่องของศิลปะ เพราะศิลปะคือเบสิกของการศึกษาพระพุทธรูปทั้งหมด เนื้ออะไรก็ใใช้วิธีดูเหมือนกัน สมัยก่อนตอนพระแก้วเก๊ฮิตๆ มีเห็นกันทั่วไป บางคนตั้งตัวเป็นเซียนเล่นพระแก้ว แต่เชื่อมั้ยครับว่ายังไม่สามารถแบ่งระหว่างเชียงแสนสิงห์สาม กับเชียงแสนลังกาวงศ์ ว่าต่างกันอย่างไรด้วยซ้ำ

ถามว่าแล้วมันจะมีประโยชน์อะไร เพราะการดูแค่ว่าแก้วเป็นแก้ว หินเป็นหิน มันไม่สามารถต่อยอดไปสู่แก่นจริงๆของเรื่องนี้ได้ การศึกษาต้องศึกษาจากแก่น นั่นคือศิลป์ แล้วจึงออกมาที่เปลือกคือเนื้อหา และรายละเอียด ถ้าเรามีแก่นแบบแน่นๆ รับรองว่าเปลือกมันจะไม่แตกอย่างแน่นอนครับ

 
โดย : Tae    [Feedback +37 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Fri 16, Dec 2011 15:14:29

 
สุดยอดนับถือเลยครับ.สาระเต็มๆ

 
โดย : kayton    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Fri 16, Dec 2011 17:20:07





 
พี่ Tae ของผมสุดยอดด
 
โดย : p.som    [Feedback +42 -0] [+1 -0]   [ 10 ] Fri 16, Dec 2011 20:14:06

 
รบกวนช่วยวิจารณ์พระหินแกะองค์นี้ด้วยครับ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.