เหตุต้องโชว์หลังเหรียญก็เพราะขอนำเรื่องราวของยันต์ข้าวหลามตัดมาเล่าสู่กันฟัง
ยันต์ข้าวหลามตัด (ผมชอบเรียกว่ายันต์สิริจันโท) ยันต์นี้ปรากฏในเหรียญสายพระกัมมัฏฐานครั้งแรก ในเหรียญสิริจันโท ปี พ.ศ.๒๔๖๕ ของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) จึงถือได้ว่ายันต์นี้เป็นยันต์หลักของสายกัมมัฏฐานยันต์หนึ่งก็ว่าได้
ลักษณะของยันต์ เป็นยันต์รูปข้าวหลามตัด ๕ ช่องต่อกัน ตัวกลางสุดคือตัว "นะ" ขอม คือ หัวใจพุทธคุณ และหัวใจของคาถาหลายคาถา ตัวบนสุดคือตัว "มิ" คือ หัวใจของ ศีล ด้านซ้าย คือตัว "มะ" ขวาคือตัว "อะ" และล่าง คือตัว "อุ" ซึ่งทั้งสามตัวคือหัวใจพระไตรปิฎก
หลังจากเหรียญสิริจันโทแล้ว ยันต์นี้ถูกนำมาใช้กับวัตถุมงคลสายวัดบรมนิวาส กรุงเทพ วัดเขาพระงาม ลพบุรี อันเป็นวัดที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีเคยจำพรรษาอยู่ อีกวัดคือวัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี วัดนี้พระเทพวรคุณ (อ่ำ ภัทรวุฑโท) น้องชาย แท้ ๆ ของท่านเจ้าคุณอุบาลีเป็นเจ้าอาวาส
พระอริยะสงฆ์ที่เป็นสัทธิวิหาริก ในองค์ท่านเจ้าคุณอุบาลีหลายรูปก็เคยใช้ เช่น หลวงปู่พระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดศรีเมือง หนองคาย หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ทั้งบรรดาลูกศิษย์ องค์อื่น ๆ ก็เคยใช้ เช่นหลวงปู่สิม ที่ใช้ในเหรียญเมตตา
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่านเป็นพระอริยะสงฆ์ที่มีลูกศิษย์มากมาย เช่น พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นอุปัชฌาย์ของ ครูบาอาจารย์ในเขตภาคเหนือองค์สำคัญ สามรูปคือ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระธรรมดิลก (ขันติ์ ขันติโก) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง
ความเป็นพระมหาเถระที่ดีทั้งปริยัติ และเด่นทั้งปฏิบัติ ยันต์ข้าวหลามตัดของพระเดชพระคุณท่าน จึ่งเป็นที่ศึกษายิ่งครับ
|