ประวัติโดยย่อของครูบาสม โอภาโส (ดูมวัน)ครูบาสม โอภาโส เกิดเมื่อวันอังคารที่ 19 พ.ย 2455 ณ บ้านแม่ในป่าม่วง ต.ป่าม่วง ( ชื่อเดิมของตำบลในขณะนั้น ) ปัจจุบันนี้ชื่อว่า ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงรายบิดาชื่อ พ่อจอม มารดาชื่อ แม่ชุ่ม นามสกุล ดูมวันมีพี่น้องด้วยกัน 2 คน คือ1. เด็กชายอินสม ดูมวัน (ครูบาสม โอภาโส)2.ด.ญจันทร์ฟอง ดูมวัน (เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 7 ปี)ด.ช.อินสม ดูมวัน เจริญวัยขึ้นมามีอายุได้ 10 ปี มารดาคือแม่ชุ่ม ดูมวันได้เจ็บป่วยและเสียชีวิตลง ยังความเศร้าโศกเสียใจแก่เด็กชายอินสมซึ่งมีวัยอายุเพียง 10 ปี เป็นอย่างยิ่งที่ได้สูญเสียมารดาอันเป็นที่รัก เสมือนขนาดร่มโพธิ์ร่มไทรที่สร้างความอบอุ่นแก่ชีวิตตนมาตลอด หลังจากปลงศพมารดาเรียบร้อยแล้ว พ่อจอม ดูมวันพิจารณาเห็นว่า ดช.อินสม ดูมวัน เป็นเด็กมีอัธยาศัยเรียบร้อย และอยากให้บุตรของตนได้รับการศึกษาอบรม มีความรู้ จึงนำเอาเด็กชายอินสมเดินทางจากบ้านแม่ในป่าม่วง อ.แม่ริม ไปสู่ อ.สะเมิง พาบุตรของตนไปฝากเป็นศิษย์ของครูบาพรหมเสน ทุเจ้าหลวงวัดทุ่งล้อม วัตถุประสงค์ให้ลูกของตนได้อยู่ใกล้ชิดและอุปฐากรับใช้พระ ประการสำคัญคือฝากให้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทยและอักขระภาษาพื้นเมืองล้านนากับครูบาเจ้าวัดทุ่งล้อม ด.ช. อินสม ดูมวันเป็นเด็กดีตั้งใจศึกษาเล่าเรียนด้วยความรักและสนใจ จนสามารถอ่านและเขียนได้ทั้งภาษาไทยและพื้นเมืองได้อย่างดีเยี่ยม จึงเป็นที่รักและพึงพอใจของครูบาผู้เป็นพระอาจารย์ ครูบาพรหมเสน ผู้เป็นอาจารย์มองเห็นว่า ด.ช.อินสม ดูดวัน ลูกศิษย์มีความขยันหมั่นเพียร มีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนจบ จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 12 ปี และให้ นามฉายาสามเณรใหม่ว่า สามเณรพรหมรังษี ดูมวันหลังจากได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วก็อยู่จำพรรษา ได้ศึกษาเล่าเรียนท่องสวดมนต์ 7 ตำนาน 12 ตำนาน พร้อมกับศึกษาเพิ่มเติมข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ตลอดถึงวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ อยู่รับใช้ปฏิบัตรกรรมฐานและอุปฐากรับใช้พระอาจารย์คือครูบาพรหมเสน วัดทุ่งล้อมอยู่นานถึง 3 พรรษา ครูบาพรหมเสนได้พิจารณาเห็นว่าสามเณรพรหมรังษี ดูมวัน มีความสนใจในการศึกษาเล่าเรียน จึงได้นำไปฝากเรียนนักธรรมที่โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดสำเภา ในอ.เมืองเชียงใหม่ และสามเณรพรหมรังษีก็ใช้วิริยะอุตสาหะเล่าเรียนธรรมวินัยที่วัดสำเภา เป็นเวลาหลายพรรษาจวบจนอายุได้ 22 ปีก็ได้กลับมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทสีมาวัดแม่ริม ต.ริมใต้ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2477 โดยมีพระครูคันธวงษ์ เป็นพระอุปัชฌายะ พระอธิการแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระคำอ้ายเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาใหม่ว่า โอภาโส หลังจากได้อุปสมบทเป็นพระภิกษะแล้วจึงเดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าม่วง อ.แม่ริม โดยมีพระอาจารย์ไสวเป็นเจ้าอาวาส หลังจากออกพรรษาแล้วได้กราบลาพระอาจารย์ไสว เดินทางเข้าไปสู่อ.เมืองเชียงใหม่ อีกครั้ง โดยเข้าไปกราบมอบตัวถวายเป็นลูกศิษย์อุปฐากรับใช้ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญและนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย ซึ่งขณะนั้นครูบาศรีวิชัยกำลังนั่งหนัก เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างพระวิหารหลวงวัดสวนดอก ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ ครูบาศรีวิชัยเป็นที่เคารพนับถือของพระภิกษุ-สามเณร พ่อค้า คฤหบดี ตลอดถึงประชาชนพื้นเมืองและชาวเขา ครูบาสม โอภาโส ในขณะนั้นมีความเคารพนับถือครูบาศรีวิชัยมาก ได้ติดตามอุปฐากรับใช้ครูบาเจ้าศรีวิชัยอย่างใกล้ชิด ได้ร่วมพัฒนาบูรณะก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ในวัดของภาคเหนือจำนวนมาก เช่น วัดสวนดอก วัดพระสิงห์ สร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ วิหารครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม พระธาตุม่อมเปียะ อ.สะเมิง และสถานที่อื่นๆ อีกมากมาย ในยามว่างเว้นจากการบูรณะก่อสร้าง พระสม โอภาโส ก็ถือโอกาสเล่าเรียนสมถะและวิปัสสนากรรมฐานและปฏิบัติดำเนินตามรอยครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นพระอาจารย์แนะนำอบรมสั่งสอน และยึดถือยอมปฏิบัติตามด้วยดีและสม่ำเสมอตลอดชีวิตของท่าน ในปีพุทธศักราช 2480 คณะศรัทธาวัดศาลาโป่งกวาว โดยการนำของพ่อหนานหลวงแก้ว ซึ่งมีความเคารพเลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติอันดีงามของพระสม โอภาโส จึงได้พาคณะศรัทธาทั้งหลาย พร้อมใจกันไปกราบอาราธนานิมนต์พระสม โอภาโส จากวัดสวนดอกในเมืองมาเป็นเจ้าอาวาส เป็นผู้นำการพัฒนาวัดศาลาโป่งกวาว ต.สะเมิงเหนือ อ.สะเมือง เมื่อวันศุกร์ ที่ 25 มิ.ย 2480จากนั้นพระสม โอภาโส ก็ได้ทำหน้าที่เจ้าอาวาส อบรมสั่งสอนศรัทธาสาธุชน ศิษยานุศิษย์ และสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัดศาลาโป่งกวาว ตลอดถึงวัดอื่นๆ ที่มาขอรับความเมตตาอุปถัมภ์จากท่าน เช่าสร้างวัดแม่เลย และอุปถัมภ์วัดแม่แพะ วัดต้นผึ้ง วัดรุ่งอรุณ วัดต้นตัน วันอัมพวันป่าม่วง วัดน้ำตกแม่สา วัดหนองบัว วัดป่ากล้วย อ.สะเมิง สร้างพระเจ้าตนหลวง อ.สะเมิง สำนักสงฆ์พระบาทตีนดอย บ้านป๊อก อ.สะเมิง ในปี พ.ศ.2506 ท่านครูบาสม โอภาโส ได้ร่วมกับท่านครูบาอินถา สุขวัฑฺฒโก ( วัดสันคอกช้าง พระเจ้าตนหลวง บ้านสุวรรณศรีสันคอกช้างเอง อิอิ ปัจจุบันครูบาอินถายังบ่ได้เผาเน่อเจ้า เก็บไว้ได้เป็นสิบกว่าปี๋มาแล้ว ) ก่อสร้างพระเจดีย์ วัดพระบาทสี่รอย และเป็นประธานสร้างโรงเรียนวัดโป่งกวาวด้านงานคณะสงฆ์ อ.สะเมิง ท่านครูบาได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะ ต.สะเมิงเหนือ ตั้งแต่พ.ศ.2482-2498 รวมระยะเวลา 16 ปี จึงขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะตำบล แต่ก็ยังให้ความช่วยเหลือคณะสงฆ์ด้วยดีเสมอมา จนเป็นที่ประจักต์ต่อสายต่อคณะสงฆ์อ.สะเมิง จากนั้นคณะสงฆ์อ.สะเมิงจึงได้พร้อมใจกัน ขอพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศให้ท่าน ในปี พ.ศ.2519 เป็นพระครูสม โอภาโส ท่านครูบาสมได้ให้การบรรพชา-อุปสมบท ทั้งพระและสามเณรตลอดจนถึงปี 2536 อันเป็นวาระสุดท้ายของท่านครูบามีถึง 99 รูป เมื่อปี 2532 ท่านครูบาสม โอภาโสได้อาพาธลงด้วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นเวลา 9 วัน ท่านก็ออกจากโรงพยาบาลมาพักรักษาตัวอยู่ที่วัด หลังออกจากโรงพยาบาลมานั้นสุขภาพของท่านครูบาเจ้าก็ไม่ค่อยสะสบายเท่าที่ควร แต่ความชรานั้นใครๆ ก็ไม่อาจที่จะหยุดยั้ง มันได้ย่างกลายเข้ามาหาอยู่เรื่อยๆ จวบจนถึงวันที่ 19 มี.ค 2536 ท่านครูบาก็เกิดอาพาธอีกครั้ง คณะศิษย์ จึงได้นำท่านครูบาสมส่งโรงพยาบาลนครพิงค์อีกครั้ง ท่านครูบาได้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 9 วัน อาการก็ดีขึ้นเป็นลำดับ จึงเดินทางกลับวัด ทุกครั้งที่ท่านป่วยท่านจะไม่ยอมเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ทนลูกศิษย์อ้อนวอนไว้ไม่ไหว จึงยอมรักษาตัว จากนั้นเมื่อวันที่ 23 มิ.ย พ.ศ. 2536 ท่านครูบาก็ได้เรียกพระจำนงค์(ท่านอ้าย) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ มาสั่ง โดยบอกว่าไม่ต้องเป็นห่วงตัวท่าน เพราะเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดา ท่านก็อายุมากแล้วแล้ว 80 กว่าปี ถึงแม้ตายไปก็ไม่เป็นห่วงอะไรอีกแล้ว ขอให้สร้างแต่คุณงามความดีไว้ จนเวลา 19.00 น.อาการของท่านก็ทรุดลงเรื่อยๆ และเมื่อวันที่ 25 มิ.ย 2536 ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบบนกุฏิของท่านนั้นเอง ..ไหว้สาครับผม
ก๊อปปี้ประวัติในเน็ตมาครับ..ลืมเช็ค555 อ.แม่ริม จ.เชียงราย 5555 (สายตรง)