โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา
ครูบาติ๊บ อุปาลีี วัดหัวฝาย
|
|
|
|
|
|
ประวัติ ครูบาติ๊บ อุบาลีอดีตเจ้าอาวาสวัดหัวฝาย
อาจารย์ติ๊บ อุบาลี เป็นคำที่ชาวบ้านตลอดทั้งศิษยานุศิษย์เรียกกัน
ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนรูปหนึ่ง ที่ได้พบเห็นมา ท่านเป็นพระที่มักน้อย สันโดษ
ที่แท้จริง ท่านไม่มีความทะเยอทะยานในเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญใดๆ ทั้งสิ้น
เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างมาก เปรี่ยมด้วย เมตตาบารมี
พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี นามเดิมติ๊บ นามสกุล มณีอุด
นามฉายา อุบาลี เกิด พ.ศ.๒๔๔๐ ณ บ้านผาปัง ตำบลผาปัง อำเภอเถิน
(ขณะนี้เป็น อำเภอแม่พริก) จังหวัดลำปาง บิดาชื่อปั๋น
มารดาชื่อหน่อแก้ว มณีอุด มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕
คน เป็นหญิง ๒ ชาย ๓ คือ ๑.นางจันทร์ ๒.นางดิบ อุประวรรณา ๓.นายยา มณีอุด ๔. พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี ๕.นายใจมา มณีอุด
บิดา มารดาของพระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี
ได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านอายุยังไม่ถึง ๑๐ ขวบ ท่านได้อาศัยอยู่กับนางดิบ
ผู้เป็นพี่สาว นับว่าท่าน เป็นกำพร้าตั้งแต่เยาว์วัย ท่านเป็นคนว่านอนสอนง่ายไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งกับใครเป็นเกรงใจคนอื่นและเป็นคนเสงี่ยมเจียมตนเสมอ พอ อายุ
ย่าง ๑๔ ปี พี่ก็นำไปฝากให้เป็นศิษย์วัด เพื่อเรียนหนังสือแบบล้านนา ณ
วัดบ้านผาปังหลวง ซึ่งเป็นวัดในหมู่บ้าน พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี ท่านเป็นคนมีเมตตามาตั้งแต่เด็ก ๆ สมัยเมื่อท่านเป็นศิษย์วัด ได้มีศิษย์วัดด้วยกันชวนท่านไปจับนกตะขาบโดยใช้กับดัก ท่านก็ไปด้วยความ ไม่อยากจะขัดใจเพื่อน ท่านก็ไปเมื่อจับนกตะขาบได้เพื่อนๆ ก็ให้ท่านเป็นผู้ถือเพราะท่านไม่ค่อยจะร่วมทำกิจกรรมอื่นๆ เมื่อท่านถือนก ก็เกิดความสงสารจึงแอบปล่อยนกไปหมด แล้วบอกเพื่อนๆ ว่านกหลุดมือไป เพื่อนๆ ชวนท่านไปจับปลาท่านก็แอบปล่อย จนเพื่อนๆไม่ชวนท่าน
ไปอีกเลย
ต่อมาเมื่อท่านเรียนสวดมนต์ได้คล่องแล้วก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัด
บ้านผาปังหลวงนั่นเอง โดยมีพระคำมูลเป็นเจ้าอาวาส พอวันแรกที่ท่านเป็น
สามเณรท่านก็เริ่มฉันอาหารมื้อเดียว
ไม่นานท่านก็ได้ไปเรียนหนังสือไทยภาคกลางและเรียนนักธรรมที่วัดท่านางอำเภอเถิน ตามประเพณีท้องถิ่นของอำเภอเถินพอมีสามเณรมาเรียนนักธรรมจะมีพ่อแม่อุปถัมภ์(เรียกว่าพ่อออกแม่ออก)จะนำอาหารมาส่งให้ทั้งตอน เช้าและตอนกลางวันสามเณรรูปอื่นเขามีโยมอุปถากกันหมด พระอาจารย์ติ๊บมีพ่อแม่อุปถัมภ์ช้ากว่าเขาเนื่องจาก บุคลิกที่ไม่ค่อยพูดประกอบกับหน้าตาไม่
หล่อเหลาเหมือนคนอื่นเขาในที่สุดท่านก็ได้พ่อหนานป้อง แม่มา
(ไม่ทราบนามสกุล)เป็นผู้อุปถัมภ์ มีเรื่องเล่าว่าพ่อหนานป้อง แม่มา
เกิดความ-สงสัยว่า อาหารมื้อกลางวันที่ส่งให้พระอาจารย์ติ๊บ
ไม่พร่องเลยคล้ายกับไม่ฉันหลายวันติดต่อกัน พ่อหนานป้องจึงถามดู
ด้ความว่าพระอาจารย์ติ๊บ ฉันอาหารมื้อเดียว
และเลือกแต่อาหารผักเท่านั้น
เกิดความปลื้มปิติยินดีแก่พ่อแม่อุปถัมภ์เป็นอย่างมากถึงกับเที่ยวอวดใครต่อ
ใครว่าสามเณร เหลือเดนที่พ่อหนานป้องรับอุปถาก นั้นเป็นเพชรในตม ที่คนอื่นมองไม่เห็น พ่อหนานป้องแม่มาจึงภูมิใจและเพิ่มความเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น เป็น
พิเศษ พออยู่มา ๒ ปี ท่านก็เริ่มฉันอาหารเจ และออกปฏิบัติธรรมในที่ต่างๆ
นับว่าท่านสร้างสมบารมีมามากท่านจึงทำได้ถึงเพียงนี้เพราะสมัยนั้นท่านไม่มีแบบอย่างที่ไหนมาก่อนเลย
พออายุครบ๒๑ปี ท่านก็อุปสมบท ณ วัดผาปังหลวง พอจำพรรษาอยู่ที่วัดผาปังหลวงได้ไม่นาน ท่านก็เดินทางไปเรียนมูลกัจจาย์สามัญญภิธาน-สนธิ
กับครูบาหมีที่วัดเมืองหม้อ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
อยู่หลายพรรษาจนจบแล้วสามารถแปลบาลีได้
ครูบาติ๊บท่านมีความศรัทธาครูบาศรีวิไชยเพราะได้ยินกิตติศัพท์ของครูบาศรีวิไชย
ท่านจึงจาริกติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัยและอยู่ปรนนิบัติรับใช้ครูบาศรีวิไชยตลอดมา
และครูบาศรีวิไชยคงจะทราบด้วยญาณว่าครูบาติ๊บเป็นพระระดับไหน
จึงทำให้ครูบาถึงกับเอ่ยว่า ครูบาติ๊บจะเสมอท่านแต่ติดตรงที่
ครูบาศรีวิไชยชี้ไปที่ลำตัวครูบาติ๊บที่สักยันต์เต็มตัวไปหมด หลายปี ท่านก็แยกตัวออกมาจาริกไปจำพรรษาอยู่วัดพระนอนม่อนช้าง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้ ๕ พรรษา แล้วจึงกลับมาวัดผาปังบ้านเดิม
ปีพ.ศ.๒๔๗๔ ชาวบ้านผาปังประมาณ ๒๐
ครอบครัว ได้พากันอพยพมาอยู่บ้านหัวฝาย ตำบลนาทุ่ง
อำเภอสวรรคโลก(สมัยนั้นยังไม่แยกเป็นอำเภอทุ่งเสลี่ยม) จังหวัดสุโขทัย
ตามบรรดาชาวบ้านที่อพยบมาก่อนหน้านี้ ๕-๖ ปี
ในจำนวนผู้อพยบมีนางดิบพี่สาวของท่านด้วย ท่านก็ได้อพยบมาพร้อม
กับพี่สาว มาอยู่บ้านหัวฝายในปัจจุบัน
สมัยนั้นบ้านหัวฝายยังเป็นป่าดงดิบเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด
ชาวบ้านก็ช่วยกันถางป่าบนเนินเขาเล็กๆใกล้ๆหมู่บ้านเป็นที่
จำวัตรและเป็นที่ปฏิบัติของท่าน จนมาเป็นวัดหัวฝายในปัจจุบัน
ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวฝายเป็นรูปแรก สมัยนั้นในระแวกนี้ไม่มีอุปัชฌาย์กุลบุตร ที่มีความประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทต้องไปที่อำเภอสวรรคโลก ระยะทางไกลประกอบอันตรายต่างๆนาๆ เจ้าคุณสังวรสังฆปรินายก ซึ่งเป็นเจ้าคณะ จังหวัดสุโขทัยสมัยแต่งตั้งท่านเป็นอุปัชฌาย์ พอท่านทราบข่าว(ตอนนั้นท่านมีพรรษา ๑๒ พรรษา) ท่านกลัวจะเป็นการผูกมัดด้วยยศตำแหน่งท่านจึงลาสิกขา ๗ วัน โดยนุ่งขาวห่มขาวถือศีลแปดอยู่ในวัด และก็อุปสมบทใหม่ เพื่อให้
พรรษาต่ำลงจนไม่สามารถเป็นอุปัชฌาย์ได้
ท่านเป็นพระที่ไม่ชอบอยู่กับที่ท่านมักจะหาทีสงบอยู่เสมอเช่นในถ้ำเช่นถ้ำ
แม่กะสา ถ้ำเชิงผา และหลายๆที่
ท่านเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นจำนวนมากสมัยนั้นมีญาติโยมหลายที่
นิมนต์ท่านไปเป็นประธานสร้างวัดทั้งใกล้ทั้งไกลพอที่ จะเรียบเรียงได้มีดังนี้ ๑. กุฏิ วิหารวัดสันหล่อ อำเภอแม่ละมาด ๒. เจดีย์ วัดผาปัง อำเภอแม่พริก ๓.เจดีย์ ถ้ำแม่กะสา อำเภอแม่สอด ๔.หอประชุม อุบาลีอุปถัมภ์ โรงเรียนบ้าหัวฝาย
แล้วก็มีวัดที่ญาติโยมนิมนต์ท่านเป็นประธานก่อตั้งวัดมีดังนี้ ๑.วัดสังฆทน(แม่ทุเลา) อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๒.วัดคลองสำราญ อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๓.วัดท่วิเศษ อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๔.วัดเชิงผา อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๕.วัดต้นธงชัย (วัดที่ครูบาขาวปีมรณะภาพ) อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๖.วัดชัยอุดม อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๗.วัดเขาแก้วชัยมงคล อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๘.วัดม่อนศรีสมบุรณาราม อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๙.วัดฝั่งหมิ่น อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๑๐.วัดวังธาร อำเภอทุ่งเสลี่ยม ๑๑.วัดห้วยขี้นก อำเภอแม่พริก ๑๒.วัดป่าคา อำเภอศรีสัชชนาลัย
ประวัติการสร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังท่านครูบาติ๊บ ท่านได้สร้างเครื่องรางของขลังทุกอย่างไว้แจกจ่ายชาวบ้านเพื่อป้องกันอันตราย ครั้ง
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2485 ครูบาอายุราวๆ 45 ปี
นับได้ว่าเก่งคาถาอาคมมาตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ตะกรุดชนิดต่างๆ ผ้ายันต์แบบต่างๆ
เสื้อยันต์แบบต่างๆ รูปถ่ายขาวดำ เหรียญรุ่น 1 และ รุ่น2 ในปี 2511- 2513 พอมาปี 2514 ก็ไปออกที่วัดผาปังกลางอีก 1 รุ่น คราวบูรณะวัดผาปังกลาง |
|
|
|
|
|
|
|
|
-ข้อมูลดีๆครับ น่าศรัทธาไม่น้อย นับว่าท่านเป็นตนบุญอีกองค์ที่พัฒนาและสาธรณประโยชน์ นับถือๆ
|
|
|
โดย : ตี๋แสงจันทร์ [Feedback +42 -1] [+0 -0] |
|
[ 1 ] Sun 7, Aug 2011 22:38:12
|
|
|
|
ข้อมูลมาเป็นชุดเลยครับ ดอย |
|
|
โดย : สมบูรณ์เจริญ [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 2 ] Sun 7, Aug 2011 23:06:39
|
|
|
|
*** โอ้โฮ...! พี่ศิวิไลไปเอาข้อมูลมาจากไหนกันเอ่ย ขนาดคนพื้นที่อย่างผมยังมีข้อมูลไม่มากขนาดนี้เลยครับพี่ ผมขอสนับสนุนข้อมูลประวัติของครูบาติ๊บ สุดยอดอมตะพระเกจิในภาคเหนืออีกรูปหนึ่ง เป็นพระเกจิธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาครับผม หากครูบาติ๊บไปเกิดที่ภาคกลาง หรือไปอยู่ที่ภาคกลางแล้วก็ ท่านดังระเบิดเถิดเทิงไปนานแล้ว และเหรียญของท่านรุ่น 1 คงเข้าสู่หลักหมื่น แสน ล้าน แน่นอน ด้วยคุณงามความดีของท่าน ด้วยวัตรปฏิบัติอันงดงามยิ่งของท่าน ด้วยประสบการณ์และอภินิหาริย์ของท่าน จากที่ผมไปสืบทราบจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้กับบ้านเหมืองนาหรือทุ่งเสลี่ยมมา 2 ปีกว่าๆ และจากที่ได้ไปอยู่บ้านผาปัง 5 ปีกว่าๆ ผมมีข้อมูลที่จะนำเสนอต่อทุกท่านได้รับทราบเพิ่มเติมจากพี่ศิวิไล มีดังนี้ 1.ครูบาติ๊บสามารถรู้เสียงนกเสียงกาได้ว่ามันปรึกษากันว่าจะไปหากินทางทิศไหน พระเกจิที่สามารถฟังเสียงนกเสียงกาได้ในอดีตก็คือพระมหาป่า วัดไหล่หิน อ.เกาะคา เพียงรูปเดียวเท่านั้น 2.ครูบาติ๊บสามารถสือภาษาอินเดียได้โดยที่ท่านไม่ได้เรียนมา 3.ครูบาติ๊บสามารถล่วงรู้อดีตขชองคนได้อย่างแม่นยำเช่นเดียวกับหลวงพ่อเมือง ที่บ้านปางอ้า อ.เถิน ชาวบ้านร่ำลือกันว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง ชาวบ้านทุ่งเสลียมไปขอบวชจากท่าน ท่านทักว่าเมื่อไม่นานได้ฆ่าแร้งมาใช่ไหม ชายคนนั้นตอบว่าใช่ ครูบาให้ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแร้งเสียอย่างนี้เป็นต้น และก็ทักชาวจีนอย่างกับตาเห็นจนชาวจีนในบริเวณทุ่งเสลี่ยมนับถือท่านมาก จึงทำให้เหรียญรุ่น 1 ที่ออกวัดหัวฝายมีราคาถึง 1 หมื่นบาทในขณะนั้น ความจริงมีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับความสามรถของท่าน ท่านครูบาติ๊บชอบอาศัยอยู่ตามถ้ำเช่นถ้ำห้วยขี้นก อ.แม่พริก ครูผิ่น คนห้วยขี้นกเล่าให้ผมฟังว่า บ่อยครั้งที่ครูผิ่นจะเป็นผู้ที่อาสารับส่งครูบาติ๊บจากผาปังเข้าห้วยขี้นกเพื่อนำท่านไปยังถ้ำบำเพ็ญภาวนาที่ถ้ำห้วยขี้นก มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่ครูผิ่นกำลังขับรถเครื่อง ครูบาติ๊บเอ่ยบอกว่าที่ถ้ำโน้นมีงูเจ้าที่บำเพ็ญภาวนาอยู่ตัวใหญ่มาก นี่ก็แสดงว่าครูบาติ๊บมีตาทิพย์ อีกเรื่องหนึ่งมีชาวบ้านแม่ปุ ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่ใกล้กับผาปังเพียง 2-3 กิโล เขาเล่าว่ามีสวนอยู่แห่งหนึ่ง ผีดุมาก เข้าไปทำกินไม่ได้เลย เข้าไปเมื่อไหร่เป็นอันไม่สบายทุกครั้ง อันเนื่องมาจากผีรบกวน เร่องนี้ได้นำไปปรึกษาครูบาติ๊บ ครูบาติ๊บก็ไปทำพิธีเท่านั้นแหละตั้งแต่วันนั้นไม่มีภูติผีปิศาจมารบกวนเลย เยี่ยมจริงๆ ความจริงยังมีอีกหลายเรื่องราวที่เกี่ยวกับประสบการณ์และอภินิหาริย์ที่เกิดกับลูกหลานชาวผาปังที่ทุกครอบครัวจะมีเหรียญครูบาติ๊บรุ่น 1 ไว้ทุกหลังคาด้วยความศรัทธาและนับถือยิ่ง เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 54 ลูกชายของผมจะเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตเลีย ฝ่ายแม่เขาบอกว่าเอาพระให้ลูกแขวนซักองค์ซิพ่อมึง ผมเป็นนักสะสมพระเครื่องทุกชนิดมาตั้งแต่ปี 2517 ก็มีพระต่างๆมากมายเต็มตู้ ภาคเหนือก็มีหลวงปู่แหวน ครูบาวงศ์ หลวงพ่อเกษมทุกรุ่น ฯลฯ แต่ผมให้ความไว้วางใจเหรียญครูบาติ๊บรุ่น 1 ปี 14 ออกที่วัดผาปังกลางเพียง 1 เหรียญนำติดตัวลูกชายบินไปนอก ครับผม และผมจะแขวนแต่เหรียญครูบาติ๊บ ปี 14 ผาปัง รุ่น 1-2 วัดหัวฝาย ครับผม *** เมื่อประมาณปี 2540 กว่าๆขณะนั้นผมรับราชการอยู่ที่ผาปังพอดี ก็พยายามเก็บเหรียญครูบาติ๊บรุ่น 1 ปี 14 ที่ออกผาปัง ส่วนใหญ่หาได้แต่เหรียญทองแดงรมดำ ส่วนเนื้ออัลปาก้าหายากชมัด เหรียญที่ได้มาก็สึกเสียส่วนใหญ่ ชาวบ้านเขาหวงแหนมากไม่ยอมออกง่ายๆ มีอยู่วันหนึ่ง เจ้าอาวาสวัดผาปังหลวงฝันว่าครูบาติ๊บมาบอกว่าเหรียญของท่านยังมีเหลืออยู่ถูกซ่อนไว้ที่ลับตาให้เอามาออกเช่าหาเงินเข้าวัด ปรากฏว่าพบจริงๆตามฝัน มีอยู่ประมาณ 200 เหรียญ คณะกรรมการได้นำออกให้บูชาเหรียญละ 50 บาท เหรียญสวยงามมากๆ ผมเลยเก็บมาเป็น 10 โชคดีจังเลย และแขวนมาตลอดเวลาเดินทางไกล ครับผม ไปอยู่ผาปังผมได้ เหรียญ ได้รูปถ่ายขาวดำด้านหลังลงอักขระ ได้ผ้ายันต์ ได้ขี้ผึ้งห่อกระดาษซองบุหรี่ลงอักขระ ได้ตะกรุด ได้เกษา ครับผม *** |
|
|
โดย : luksamngao [Feedback +1 -0] [+0 -0] |
|
[ 3 ] Tue 9, Aug 2011 12:56:59
|
|
|
|
|
|