พ่อหนานบุญมี เล่าความเป็นมาการสร้างเหรียญครูบาอินสม สุมะโน
“ผมเป็นคณะกรรมการในขณะนั้น เหรียญรุ่น
๑สร้างเมื่อปี พ.ศ ๒๕๑๔ ในเหรียญไม่ได้บอก พ.ศ
ไว้ คณะกรรมการจะสร้างกุฏิวัด แต่เงินไม่พอจึงคิดทำเหรียญให้เช่าบูชา
ไปทำที่กรุงเทพฯไปกัน ๓ คนผมไปด้วยคนหนึ่ง ทำมา ๒๕๑๔ เหรียญ ทุนเหรียญละ ๑บาท ๕๐
สตางค์ มีเหรียญเนื้อทองแดง ๒๔๐๐ เหรียญ เหรียญเนื้อฝาบาตร ๑๑๔ เหรียญ ทีแรกตั้งใจว่าจะทำเป็นเนื้อทองแดงทั้งหมด
แต่แผ่นทองแดงไม่พอทางโรงงานจึงเอาแผ่นทองฝาบาตรทำเพิ่มให้ครบจำนวน นำมาให้ท่านครูบาปลุกเสกเดี่ยว
แล้วออกให้เช่าเหรียญละ ๑๐ บาท ได้เงินซื้อกระเบื้องทำกุฏิที่วัด
ไม่นานนักเมื่อเหรียญรุ่น ๑ หมดก็ไปทำรุ่น ๒ ในปี ๒๕๑๙ จำนวน ๒๕๐๐ เหรียญ
หาทุนทำกุฏิจนเสร็จ มีงานฉลอง ต่อมาปี พ.ศ ๒๕๒๒ สร้างรุ่น ๓ จำนวน ๓๐๐๐ เหรียญ หาเงินสร้างวิหารได้เงินเป็นหลักแสนสร้างวิหารได้”
“เหรียญรุ่น ๔ ปี ๒๕๒๕
เรียกรุ่นรวมใจสหกรณ์ หมอวินัยกับคณะ ซึ่งเป็นกรรมการสหกรณ์(กลางทุ่ง)
ตอนนั้นสหกรณ์เพิ่งเริ่มไม่กี่ปี ได้สร้างเหรียญรูปเหมือน ครูบาอินสม จำนวน ๓๐๐๐
เหรียญ แบ่งให้วัดครึ่งหนึ่ง ทางวัดจำหน่ายเหรียญละ ๑๙ บาท
นำรายได้สร้างเจดีย์ด้านหลังวิหาร ส่วนเหรียญรุ่น ๕ ปี ๒๕๒๙ รุ่นเสาหลักเมือง จำนวน
๙๙๙๙ เหรียญ คณะกรรมการสุขาภิบาลพร้าวสร้าง มีหมอวินัย เฮียหนำ ผู้ใหญ่บ้านก๋องคำ เพื่อหาเงินสร้างเสาหลักเมืองพร้าว ต่อมาคณะกรรมการได้สร้างเหรียญรุ่น ๖ ปี ๒๕๓๕
ประมาณ ๕๐๐๐ เหรียญ ที่เขียนด้านหลังว่ารุ่นสุดท้าย จริงๆแล้วไม่ใช่รุ่นสุดท้ายคือตอนนั้นคณะกรรมการไม่อยากให้ครูบาเหนื่อย
ไม่อยากให้ใครมาขอสร้างเหรียญท่านอีก จึงสั่งให้โรงงานเขียนไว้ว่ารุ่นสุดท้าย เหรียญรุ่น
๗ ปี ๒๕๓๗ รุ่นยันต์สี่ ประมาณ ๒๕๓๗ เหรียญ สร้างถวายโดย พระครูอาทรธรรมรัตถ์
และเหรียญรุ่น ๘ ปี ๒๕๓๙ รุ่นชัยมงคล มีเนื้อทองแดง ๕๐๐๐ เหรียญ เนื้อเงิน ๑๐๐
เหรียญ และเนื้อตะกั่วผมไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ให้ครูบาแจกศรัทธาที่มากราบไหว้ ไม่นานนัก
พอปี ๒๕๔๐ ครูบาก็มรณภาพลง ก็เลยใช้แจกในงานศพต่อไปจนหมด”
“ท่านเคยทำพระเนื้อว่านเหมือนกัน
นำดอกไม้ที่เข้าโบสถ์ ผสมกับข้าวกันบาตร ว่าน ใบลานเก่า
มีหลายพิมพ์ที่เขาเรียกกันว่าพระผงข้าวเย็น สร้างก่อนเหรียญรุ่นแรก”
“พระกริ่งพระชัยวัฒน์
เหรียญฉีดใบโพธิ์ ดาบตำรวจเรวัฒน์ กิตติ อยู่นาหวาย สร้างร่วมกับ คุณอดิศร มณีวงศ์
เมื่อปี พ.ศ ๒๕๓๘ พิธีปลุกเสกพิธีใหญ่ สหธรรมท่านครูบาก็มา เช่น
ครูบาหน้อย วัดบ้านปง ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง ครูบาชัยวงศ์ วัดนาหวาย ครูบาสิงห์
วัดฟ้าฮ่าม เป็นต้น”
“รูปหล่อเนื้อตะกั่วของท่าน
สร้างก่อนเหรียญรุ่น ๑ ก็มีสร้างพร้อมเหรียญรุ่น ๑ ก็มี มีทั้งพิมพ์พระพุทธ
พิมพ์ครูบาเจ้าศรีวิชัย และพิมพ์รูปเหมือนท่านมีทั้งพิมพ์อุ้มบาตรและไม่อุ้มบาตร
ได้รับความนิยมเหมือนกัน” |