มูลเหตุการสร้างเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ. 2517 วัตถุมงคลที่หลวงปู่ชุ่มจัดสร้างขึ้น ล้วนมาจากความเมตตาของท่านในความปรารถนาที่จะสงเคราะห์ประชาชน บูชาพระรัตนตรัย และสืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น สำหรับมูลเหตุของการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านมีดังนี้ สืบเนื่องจาก ชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มได้ขจรขจายออกไป ทำให้ประชาชนจากทุกสารทิศได้สดับฟัง หาโอกาสเดินทางมากราบนมัสการท่าน แล้วมักแจ้งความประสงค์อยากได้เหรียญรูปเหมือนของท่านกลับไปสักการะบูชา แต่หลวงปู่ชุ่มท่านไม่เคยจัดสร้างเลย และไม่อนุญาตให้ใครจัดสร้างด้วย ท่านยังกล่าวอีกว่าต้องการให้ผู้มีความเคารพเลื่อมใส มีมานะพยายามไปหาท่านด้วยตัวเองมากกว่า ซึ่งท่านก็จะมีวัตถุมงคลชนิดอื่นๆ เมตตาแจกญาติโยมให้ตรงตามจริตวาสนาของแต่ละคนด้วย แต่ทั้งนี้ท่านก็ยังทิ้งท้ายให้ความหวังไว้ว่า เมื่อถึงเวลาอันสมควรนั่นแหละจึงจะทำ เวลาล่วงเลยมานับสิบปี จนถึงปี พ.ศ. 2517 หลวงปู่ชุ่มมีวัย 76 ปี ในที่สุดท่านก็อนุญาตให้ศิษย์ของท่านที่ชื่อ ครูบาท่องใบ จัดสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านขึ้นเป็นวาระแรก ครูบาทองใบ สายพรหมา ตอนนั้นเป็นรองผู้อำนวยการวิทยาลัยพลศึกษา เชียงใหม่ หรือในปัจจุบัน ก็คือหลวงพ่อทองใบ โชติปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพรหมวนาราม อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (เขตติดต่อกับลำพูน) ท่านเมตตาย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 30 กว่าปีก่อนว่า ในวันนั้นเป็นงานบำเพ็ญกุศลศพพ่อตาของครูทองใบ โดยทางบ้านของอดีตภรรยาได้นิมนต์หลวงปู่ชุ่มมาเป็นพระประธานสงฆ์ ครูทองใบจึงมีโอกาสพูดคุยและกราบเรียนการสร้างเหรียญกับท่าน หลวงปู่ชุ่มท่านรักและเมตตาครูทองใบเป็นพิเศษ เพราะครูเป็นคนว่านอนสอนง่าย แล้วยังเป็นผู้มีใจใฝ่ในกุศล โดยมักจะนำรถไปช่วยงานวัด และ รับ-ส่งหลวงปู่ชุ่มไปประกอบศาสนกิจอยู่เสมอ ครูทองใบจึงพูดขึ้นมาว่า เดี๋ยวนี้ใครๆ เขาก็รู้จักหลวงพ่อหมด โดยเฉพาะทางภาคเหนือ เพราะหลวงพ่อเป็นพระเกจิ ผมว่ามันถึงเวลาแล้ว หลวงพ่อน่าจะทำเหรียญออกมาสักรุ่น เพื่อจะได้ให้คนนำไปบูชาและนำปัจจัยมาสร้างวัด หลวงปู่ชุ่มท่านนิ่งพิจารณาอยู่นานพอสมควร ในที่สุดจึงกล่าวว่า หลวงพ่ออนุญาต ถ้าเกิดครูคิดว่าดี และครูสามารถทำได้ แม้ครูทองใบจะเปรยเรื่องการสร้างเหรียญเอง แต่ก็ทราบดีว่า มีลูกศิษย์รุ่นก่อนๆ และคนทั่วไปหลายคนมาขออนุญาตท่านทำเหรียญหลายครั้งหลายหนนับสิบปีแล้ว แต่ท่านก็ไม่เคยอนุญาตพอท่านอนุญาตในคราวนี้ จึงทำให้ครูทองใบทั้งแปลกใจ และภูมิใจนับแต่บัดนั้น ครูทองใบก็ตั้งใจที่จะทำเหรียญของครูบาอาจารย์อย่างดีที่สุด วันหนึ่งได้พบกับครูยุทธ เดชคำรณ ซึ่งเป็นนักสะสมพระ และเป็นนักเขียนสมัครเล่นในหนังสือ ของดีเมืองเหนือ ครูยุทธแสดงความแปลกใจที่ได้ยินชื่อเสียงของหลวงปู่ชุ่มมานาน แต่ไม่เคยเห็นวัตถุมงคลของท่านวางจำหน่ายตามแผงพระเลย โดยเฉพาะเหรียญ เมื่อคุยไปคุยมา ครูยุทธก็ถามครูทองใบว่าพอจะรู้จักหลวงปู่ชุ่ม เมืองลำพูนบ้างไหม ครูทองใบตอบยิ้มๆ ว่า ผมรู้จักดี เพราะท่านเป็นครูบาอาจารย์ของผม ท่านรักผมเหมือนลูก ถ้าพี่นะไป ผมยินดีที่จะอาสาพาไปกราบนับจากนั้น ครูทองใบจึงได้ครูยุทธเป็นแนวร่วมอีกคน แล้วยังมีคุณอิศรา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งเปิดกิจการโรงพิมพ์อยู่ที่ จ.เชียงใหม่ มาช่วยด้วย คุณอิศราได้ให้ช่างทำบล็อก พระแบบต่างๆ ขึ้นมา เพื่อนำไปให้หลวงปู่ชุ่มพิจารณาเลือกแบบ นับว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกที่ต้องรอคอยมาอย่างยาวนาน หลวงปู่ครูบาชุ่มท่านได้ผูกยันต์ ลงอักขระตามพระสูตรให้อย่างครบถ้วน ดังที่ปรากฏอยู่ด้านหลังเหรียญรุ่นนี้ และท่านก็ได้แผ่อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวตลอด 7 วัน7 คืน ในพระวิหาร วัดชัยมงคล (วังมุย) เริ่มทำพิธีเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517 การตรวจรับนัยของที่หลวงปู่อนุญาตให้จัดสร้างครั้งนี้ ได้กระทำกันต่อหน้าหลวงปู่และคณะกรรมการที่หลวงปู่ได้อนุมัติให้แต่งตั้ง ขึ้น คืออาจารย์ยุทธ เดชดำรณ ศึกษานิเทศก์ เขตศึกษา 8 อาจารย์ทองใบ สายพรหมา รองผู้อำนวยการวิทยาลัยพลศึกษา เชียงใหม่ และ ม.ร.ว.เอี่ยมศักดิ์ จรูญโรจน์วันที่5 ธันวาคม 2517 จัดทำพิธีฉลองสมโภช เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดลำพูน สวดเจริญพระพุทธมนต์ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ฯลฯ หลวงปู่ชุ่มนั่งปรกบริกรรมแผ่พลังเมตตาจิตตลอดคืนสุดท้าย เช้าวันที่ 6 ธันวาคม 2517 สวดเบิดพระเนตรและมงคลสูตรต่างๆ เสร็จพิธีทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร พระสงฆ์อนุโมทนา เสร็จพิธี
สุดยอดเลยครับพี่...................
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับพี่
สุดยอดครับ
เรื่องดีๆ แบบนี้ ต้องช่วยกันส่งเสริม
สุดยอดเลยครับ