ก่อนจะไปถึงเรื่องเหรียญ ๑๐๐ ปี พระอาจารย์มั่น วัดเจดีย์หลวง ขอกล่าวย้อนไปนิดว่า การเดินทางขึ้นมายังภาคเหนือของพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนากรรมฐานยุคปปัจจุบัน เริ่มต้นเมื่อพระอาจารย์มั่นท่านตามท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ขึ้นมาเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยท่านเจ้าคุณอุบาลี ท่านขึ้นมาจัดการคณะสงฆ์ธรรมยุติและรวบรวมวัดต่าง ๆในบริเวณเดียวกันตั้งวัดเจดีย์หลวงขึ้น และท่านได้ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรกด้วย
แรกทีเดียวพระอาจารย์มั่น ตามท่านเจ้าคุณขึ้นมาเพียงเพื่อหาที่สงบวิเวกในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเร่งความเพียรค้นหาที่สุดแห่งธรรม แต่เมื่อท่านเจ้าคุณอุบาลี ต้องเดินทางกลับกรุงเทพในปี ๒๔๗๕ ท่านได้ขอร้องให้พระอาจารย์มั่นเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงต่อจากท่าน ด้วยความเคารพในตัวท่านเจ้าคุณอุบาลี พระอาจารย์มั่นจึ่งไม่อาจปฏิเสธ โดยพระอาจารย์มั่นได้ดำรงค์ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงเพียงปีเดียว ก็ออกธุดงค์ตามวิถีของพระป่า
วัดเจดีย์หลวงจึงมีความสำคัญต่อวงศ์ธรรมยุติทั้งฝ่ายคันถธุระและวิปัสนาถุระเป็นอย่างมาก วัดเจดีย์หลวงแห่งนี้จึงมีพ่อแม่ครูบาอาจาอรย์ผ่านเข้าออกมากกมายนับไม่ถ้วน
สำหรับเหรียญ ๑๐๐ ปี พระอาจารย์มั่นนี้ ขอให้ข้อมูลเท่าที่ทราบก่อนเป็นข้อ ๆดังนี้
๑. เหรียญจัดสร้างโดยคุณปิยะ งามเอก และ น.อ.เกษม งามเอก
๒.จำนวนการสร้างทุกเนื้อรวมกัน ประมาณ ๒,๐๐๐ เหรียญ โดยมีการแบ่งกันทั้งทางออีสาน และเชียงใหม่
๓.เหรียญนี้สร้างพร้อมเหรียญร้อยปี พระอาจารย์มั่น วัดป่าสุทธาวาส
๔.เหรียญนี้เท่าที่ทราบและสืบค้นได้ เหรียญนี้ถือว่าเป็นวัตถุมงคลชนิดแรกของพระอาจารย์มั่นที่ออกเชียงใหม่
๕.มีการตั้งพิธีเหรียญ ๑๐๐ ปีทั้งที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่และ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกกลนคร
๖.ลูกสาว น.อ.เกษม งามเอก ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เหรียญร้อยปีนี้มีคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่นร่วมอธิฐานจิตมากมาย เช่นพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์ขาว อนาลโย ,พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม ,พระอาจารย์หลุย จันทสาโร ,พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ,พระอาจารย์พุธ ฐานิโย ,พระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ ,พระอาจารย์วัน อุตโม และอีกหลายองค์ที่เมตตาอธิฐานจิตให้ทางอีสาน ส่วนทางภาคเหนือ มีพระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม พระออาจารย์สิม พุทธาจาโร พระอาจารย์คำแสน คุณาลังกกาโร พระอาจารย์คำปัน สุภัทโท
หากท่านผู้ใดมีข้อมูลเพิ่มเติมสามารถแบ่งปันกันได้นะครับ |