ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่างๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิลผสมอยู่ ช่างทำกริช หรือ เอมปู จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ
ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง
ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช
เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็น
ลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปามอร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับ เหล็กกล้า ดามัสคัส และญี่ปุ่น มีการใช้
กรดกัดตัวใบมีด หลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายาก
แถบมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย ใบกริชนั้นจะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก
และนับเลขคี่เสมอ
ความเชื่อเรื่องจำนวนคดของกริช
3 คด ประสบความสำเร็จ ในสิ่งคาดหวัง
5 คด เป็นที่รักของคนอื่น
7 คด เกียรติ
9 คด เกียรติ มีพรสวรรค์ และ มีภาวะผู้นำ
11 คด ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น
13 คด มีชีวิตสงบสุข และมั่นคง
กริชเล่มนี้เป็นกริชสกุลช่างสงขลา-ปัตตานี ใบกริช7คด ตีเห็ลกเป็นชั้นๆด้วยความอุตสาหะเป็นลายที่ผิวใบกริช เซาะร่อง(จิตอ)3ร่องสามลอน คือร่องเลือดของมีดหมอภาคกลาง ด้ามเป็นรูปนกพังกะทั้งตัว เป็นศิลป์ที่ไม่ค่อยได้พบเห็นทั่วไป ส่วนใหญ่จะแกะเป้นรูปหัวนกเท่านั้น ฝักแกะแบบสกุลช่างสงขลาครับ