มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์นี้ว่า เมื่อพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จแล้ว ได้ยกถวายหอบรรทมของพระองค์ให้ตั้งขึ้นเป็นวัด นามว่า วัดเชียงมั่น และได้อัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปางลีลาห้ามญาติ เนื้อสัมฤทธิ์ จากเวียงกุมกาม ซึ่งมีขนาดองค์พระใหญ่โตเท่าตัวของพญามังราย ให้มาประดิษฐานไว้ในวัดเชียงมั่นแห่งนี้ ขณะที่หามพระพุทธรูปดังกล่าวนี้ มาถึงบริเวณวัดพระเจ้าเม็งราย ที่เดิมชื่อ วัดคานคอด ที่เพี้ยนมาจากคำว่า ก๋าละก้อต ไม้ที่ใช้หามพระพุทธรูปได้หักคอนลง พญามังรายถือเป็นบุพพนิมิตที่ดี จึงโปรดให้สร้างพระอารามขึ้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรุป ปางลีลาห้ามญาติองค์นี้มาตราบเท่าทุกวันนี้ ปัจจุบันชื่อวัดพระเจ้าเม็งราย อยู่ไม่ไกลจากวัดเชียงมั่นมากนัก
ที่มา : เมืองพระ
เหรียญรุ่นนี้มี 2 เนื้อ เนื้อทองแดงและอัลปาก้า ด้านหนึ่งเป็นรูปครูบาเจ้าศรีวิชัย อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปางลีลาห้ามญาติ ที่ชาวเชียงใหม่ทั่วไปเรียกว่า พระเจ้าค่าคิง หรือเท่าคิง พญามังราย วัดศรีโสดาสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวสร้างเมืองเชียงใหม่กับพระพุทธรูป ปางลีลาห้ามญาติ เนื้อทองสัมฤทธิ์ ศิลปเชียงแสนเชียงใหม่ที่งดงาม ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดพระเจ้าเม็งราย ภายในกำแพงเมืองเก่า อ.เมือง จ.เชียงใหม่
แต่ก็มีประวัติ ของที่มาคำว่า "ค่าคิง" อีกข้อมูลหนึ่งคือ
พระพุทธปฏิมาค่าคิง
พระพุทธปฏิมาค่าคิง (เท่าพระวรกาย) เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”
ที่มา : วิกิพีเดีย
พระพุทธปฏิมาค่าคิง
เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช พ.ศ.1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า "พระเจ้าค่าคิง" |