เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ กว่านั้นทางไปวัดปากคลองแสนลำบาก ไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน แต่ก็มีผู้ที่ศรัทธาเดินทางไปนมัสการท่านเพื่อขอของดีกันมากมายแน่นวัด ยิ่งตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตอนญี่ปุ่นบุกไทยด้วยแล้ว ออกไม่ทันกันเลยทีเดียว ได้เคยทราบจากผู้ใกล้ชิดและมีโอกาสได้เรียนถามท่านได้ความว่า ท่านเดินทางไปเรียนวิชานี้มาจากสองสำนักคือ หลวงพ่อคล้าย วัดพระทรง และ หลวงพ่อแหล่ม วัดบางคลี่ สมุทรสงคราม (ตอนต่อมาได้ย้ายไปวัดจันทร์เจริญสุข)
กรรมวิธีการสร้างพระขรรค์ ตามตำราของท่านกำหนดว่าเขาควายนั้นจะต้องประกอบด้วยลักษณะดังนี้
เขาควายเผือก (ควายธรรมดาใช้ไม่ได้) ต้องตายโหง คือ ถูกยิงตาย ขวิดกันเองตาย หรือถ้าถูกฟ้าผ่าตายได้ก็ยิ่งวิเศษ
เขาควายนั้น จะต้องไม่ถูกต้มมาก่อน กล่าวคือเมื่อควายตายลงก็ต้องชำแหละตัดเขาออกสดๆ ไม่ต้องรอให้แล่ควายออกเป็นส่วน ๆ แล้วจึงนำหัวมาต้มเพื่อเอาเขาออกได้ สะดวกท่านว่าใช้ไม่ได้ แกะเป็นรูปพระขรรค์ (โดยไม่ทวนเขา) ในที่นี้หมายความว่าเวลาแกะให้ตัดออกเป็นชิ้นพอเหมาะกับการแกะ ให้จำไว้ว่าทางไหนทางโคนเขา ทางไหนทางปลายเขาให้ทำเครื่องหมายไว้ เวลาแกะให้แกะจากโคนเขาไปหาปลายเขา เป็นทางเดียวตลอดเวลาการแกะจนสำเร็จ ถ้าทวนแม้แต่ครั้งเดียวใช้ไม่ได้ต้องทิ้งไป
คาถากำกับพระขรรค์มีดังนี้ "พุทโธ ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ ธัมโม ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ สังโฆ ปัพพะชายาโน สัพพะศัตรู วินาสสันติ"
|