พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
อู้ได้ซะป๊ะเรื่อง

ขอแสดงความเห็นต่อยอดกระทู้ของคุณ"นวกร"

   
  ผมขอออกความเห็นส่วนตัวในกรณีที่ผมยืนอยู่ฝั่งผู้ลงประมูลขายนะครับสมมุตินะว่าผมซื้อพระมาหนึ่งองค์ทุน5000.-แล้วกระแสหรือค่าการตลาด ณ.เวลานั้นเขาซื้อขายกันสูงสุดที่1หมื่นบาทแน่นอนผมเองก็ต้องอยากขายให้ได้ราคาสูงแบบนั้นบ้างเพื่อจะได้มีกำไรเยอะๆจึงตั้งปิดไว้ในราคาสูงๆที่หมื่นบาทเหมือนกันส่วนกติกาในเว๊บเราหรือเว๊บยูนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อโทรติดต่อพูดคุยกับผู้ขายหลังไมล์ได้ จากนั้นผู้สนใจก็จะโทรหาเราบ้างก็โทรเพื่อเช็คราคา บ้างโทรเพราะสนใจอยากได้กรณีนี้เขาก็อยากฟังราคาที่เราเปิด้วยว่าเราตกควายรึเปล่าถ้าเราเปิดผิดราคาถูกกว่าความเป็นจริงที่ตลาดเขาเล่นหากันเขาก็จะขอปิดเลย ส่วนอีกกรณีหากราคาที่เราเปิดให้ไปเขารู้ว่าเรารู้ราคาบางทีอาจมีการต่อรองกันถ้าจบหลังไมล์ไม่ได้ก็ต้องสู้กันหน้าจอ ต่อจากนั้นผู้ซื้อเขาก็มีสิทธ์เคาะไล่ราคาอาจจะเคาะไล่ไปถึง7-8พันก็ได้เพื่อจุดประสงค์ต้องการสร้างกระแสให้พระรุ่นนั้นหรือยืนยันว่าสู้ได้แค่นี้ หรือบางคนอาจเคาะเล่นเอามันก็มีเพราะรู้ว่าเคาะยังไงก็ไม่โดนตราบใดที่ไม่เกิดไปเคาะถึงหมื่นระบบก็จะไม่ปิด ลักษณะแบบนี้ตัวผมเองถ้าพอใจอยากขายราคานี้แล้วผมจะใช้วิธีเขียนบอกหน้าจอเลยว่าขออีกเคาะเดียวปิด(เคาะละร้อย)เชื่อเถอะถ้าคนที่เคาะมานั้นเขาซื้อจริงเขาต้องปิดแน่นอนแต่ถ้าเป็นตัวปลอมรับรองเงียบฉี่ไปเลย วิธีที่สองที่ผมใช้คือผมจะไม่เขียนบอกหน้าจอหรอกแต่จะแอบแก้ราคาที่ตั้งประมูลไว้ให้ลดต่ำลงมาแบบว่าอีกเคาะเดียวให้ระบบปิดไปเลยทีนี้ใครที่เผลอเคาะเข้ามาไม่ว่าจริงหรือเล่นเขาต้องรับผิดชอบแล้วตามกติกาแต่ถ้ามันไม่ซื้อไม่รับผิดชอบแบบนี้ครับเรามีสิทธ์ว่าเขาได้ วิธีสุดท้ายที่ผมใช้คือผมจะโทรกลับติดต่อผู้ซื้อหลังไมล์ว่าผมพอใจขายให้ราคาที่คุณเคาะไว้ไม่ทราบว่ายังต้องการอยู่รึเปล่าวิธีนี้ถ้าเป็นพระที่มีราคาไม่แพงไม่จำเป็นผมจะไม่ใช้เพราะถือว่าเสียฟรอม์ เพราะ99%จะถูกปฎิเสธบอกไม่เอาแล้วหรือว่าได้จากที่อื่นแล้วกรณีนี้เราเป็นรองไม่มีสิทธ์ต่อว่าผู้ซื้อได้เพราะเขาไม่ผิด ในเมื่อตอนนั้นเราไม่ขายเอง 3วิธีที่บอกไปนั้นเป็นวิธีที่คิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ผมจะเปิดโอกาสให้ลูกค้าเสมอรักษาน้ำใจกันไว้ส่วนวิธีที่อยู่ๆเราอยากขายแล้วปรับราคาต่ำลงมาให้ระบบปิดให้ผู้เคาะราคาทิ้งไว้สูงสุดแบบนั้นผมจะไม่ทำครับเพราะเหมือนเป็นการหักดิบผู้ซื้อ หากจะทำแบบนั้นได้เราต้องตั้งกติกาการเคาะก่อนเช่นพระเราทุนแค่5พันเราก็เปิดราคาแรกเคาะประมูลไปเลยที่6พันแล้วก็กำหนดกติกาไปว่าภายใน24ชั่วโมงปิดให้ผู้ประมูลสูงสุดอย่างนี้ครับแฟร์ดี ถ้าหากพระรุ่นนั้นเขาเล่นกันที่หมื่นจริงไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีคนเคาะหรอกครับทีนี้เราค่อยมาตั้งระบบปิดให้ผู้ที่เคาะสูงสุดแล้วค่อยโทรติดต่อไปถ้ามันไม่ซื้อด่ามันได้เลย ว่าไม่ซื้อแล้วมาเคาะทำไม เพราะเราตั้งกติกาไว้แล้ว ขอแนะวิธีดัดหลังพวกคันมือครับวิธีที่ผมใช้คืออย่างพระองค์นี้ทุนแค่5พันใช่ไม๊ผมพอใจขายที่8พันผมก็ตั้งปิดไว้ที่8พัน แต่เวลามีคนโทรมาหลังไมล์ผมก็บอกเปิดราคาตลาดให้ที่หมื่นถ้วนทุกสายคนซื้อจริงเขาจะต่ออยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นตัวปลอมเขาก็ไม่กล้าต่อหรอกเพราะกลัวโดนทีนี้เกิดเราไปเจอพวกคันมือโทรมาเช็คแล้วมาเคาะไล่ราคาเล่นๆกะยังไงก็ไม่โดนแต่หารู้ไม่เราตั้งปิดไว้ต่ำกว่าหมื่น ถ้าเคาะจนปิดไปแล้วอย่างงี้ครับถ้าไม่รับผิดชอบ ถ้างอแงไม่ซื้อเราถึงจะต่อว่าเขาได้เต็มปากเต็มคำ จบครับกับวิธีการประมูลแบบแบ่งปันน้ำใจยาวไปหน่อยอย่าว่ากัน สวัสดี  
     
โดย : อู๊ดผมยาว   [Feedback +18 -0] [+0 -0]   Sun 1, Aug 2010 14:11:15
 
 

กราบขอบพระคุณอาจารย์อู๊ดผมยาวที่ได้ให้แนวทางปฎิบัติพร้อมความรู้เกี่ยวกับการประมูลพระเครื่องในเวปพระ ผมขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง อาจารย์ท่านใดมีความเห็นเพิ่มเติมก็กราบขอบพระคุณล่วงหน้าด้วยครับ

 
โดย : นวกร    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Sun 1, Aug 2010 17:36:58

 
555 การประมูลแบบนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาครับ และต้องใช้ความจริงใจเป็นสำคัญ  ส่วนกลเม็ดก็เป็นเรื่องของผู้ขายที่จะต้องติดตาม  ส่วนผู้ซื้อ หากจำเป็นจริง ๆ ก็ขอให้คุยกับผู้ขายได้ครับ ขอให้ทุกคนเอื้อเฟื้อกัน  ตกลงกันเป็นดีที่สุดคร๊าบ
 
โดย : sankrubsan    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Mon 2, Aug 2010 15:09:12

 

อธิบายในมุมมองของนักกฏหมายนะครับ

 โดยหลักของการเกิดสัญญา 

คือจะต้องมีคำเสนอ มีคำสนอง  คำเสนอและคำสนอง จะต้องมีเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญถูกต้องตรงกันจึงจะเกิดสัญญาขึ้น  ราคาค่าซื้อ ในทางกฏหมายถือเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ราคาค่าซื้อจึงต้องตรงกับความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายจึงจะเกิดเป็นสัญญา(โดยเวบจะโชว์ออโต้ขึ้นมาให้)

 

กติกาของการประมูลในเวบนี้เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปแล้วว่าผู้ขายมีราคาขายเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว(แต่ไม่เปิดเผยให้ผู้ซื้อได้เห็น) เมื่อผู้ซิ้อแสดงเจตนาราคาซื้อตรงกับที่ผู้ขายตั้ง   สาระสำคัญถูกต้องตรงกันก็เกิดเป็นสัญญาซื้อขายแล้ว  กรณีนี้ เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระราคา ก็เป็นการผิดสัญญา

แต่หากผู้ซื้อแสดงเจตนาสนองรับราคาไม่ถึงราคาที่ผู้ขายได้เสนอตั้งไว้  เงื่อนไขในสาระสำคัญไม่ตรงกัน สัญญาย่อมไม่เกิดขึ้น  ดังนั้น ในทางกฏหมายถือว่าคำสนองของผู้ซื้อเป็นคำเสนอขึ้นใหม่  หากผู้ขายต้องการให้เกิดสัญญา ก็อาจแสดงเจตนาของตนเปลี่ยนแปลงราคาทำคำสนองให้กับผู้ซื้อ ตามราคาที่ผู้ซื้อได้เสนอมานั้น 

แล้วผู้ขายควรทำสนอง(เปลี่ยนแปลงราคา)ในกำหนดเวลาใด ให้กับผู้เสนอซื้อถึงจะเหมาะสม

 

ในทางกฏหมาย การแสดงเจตนาทาง  Internet ถือเป็นการแสดงเจตนาแก่ผู้อยู่เฉพาะหน้า (เปรียบเสมือนการนั่งเจรจาต่อหน้ากันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย) ดังนั้น หากผู้ขายต้องการเปลี่ยนแปลงราคา ก็ต้อง แสดงเจตนาในทันที ณ เวลานั้น (กรณีนี้มันไม่เหมือนกับนั่งเจรจากัน ผู้เขียนจึงเห็นว่าผู้ขายควรจะตอบกลับ ณ วันที่มีการทำคำเสนอ(ขึ้นใหม่) นั้นเองหรืออย่างช้าก็ไม่ควรเกินหนึ่งวัน  หากข้ามวันหรือสองวัน  คำเสนอของผู้ซื้อย่อมสิ้นผล เท่ากับไม่มีคำเสนอแล้ว   แม้ผู้ขายจะแสดงเจตนาในราคาใหม่มา ก็ไม่มีผลและไม่ก่อให้เกิดเป็นสัญญาซื้อขาย   หากเป็นกรณีนี้ทั้งผู้ซิ้อและผู้ขายควรจะมีการเจรจาหรือทำข้อตกลงกัน ใหม่เพื่อให้มีผลเป็นสัญญาซื้อขาย

 

แล้วกรณีนี้มิใช่การขายทอดตลาดหรือ เพราะหากเป็นขายทอดตลาด ผู้เสนอซื้อย่อมผูกพันกับราคาที่ตนได้เสนอซื้อนั้นตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้

 

ในความเห็นของผม กรณีนี้มิใช่เป็นการขายทอดตลาด  เพราะหลักสาระสำคัญของการทอดตลาด  จะต้องมีการขายเสมอ  ผู้ขายจะปฏิเสธไม่ขายไม่ได้   

ในการขายทอดตลาดนั้น ผู้ขายอาจจะกำหนดเวลาไว้ว่าจะขายให้กับผู้ซื้อ  ในระยะใดตามที่กำหนดไว้  อาจจะให้เวลาหนึ่งวัน หรือ ห้าวัน ฯลฯ  เมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ ผู้ขายก็ต้องขายให้กับผู้ให้ราคาสูงสุด จะปฎิเสธไม่ขายทำไม่ได้    ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่างกันโดยสิ้นเชิง เมื่อเปรียบเทียบกับการขายของในเวบนี้

 เมื่อมิใช่การขายทอดตลาด  ผู้ซื้อจึงไม่ผูกพันกับราคาที่ตนได้เสนอซื้อ หากไม่มีการตอบกับในเวลานั้น(หนึ่งวัน) คำเสนอราคาย่อมสิ้นผล

 
โดย : ริมฝั่งวัง    [Feedback +19 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Tue 3, Aug 2010 11:19:57

 

หากผู้ขายต้องการให้เกิดสัญญา ก็อาจแสดงเจตนาของตนเปลี่ยนแปลงราคาทำคำสนองให้กับผู้ซื้อ ตามราคาที่ผู้ซื้อได้เสนอมานั้น(ขึ้นใหม่) อย่างช้าก็ไม่ควรเกินหนึ่งวัน  หากข้ามวันหรือสองวัน  คำเสนอของผู้ซื้อย่อมสิ้นผล  

ประโยคใจความนี้ไงครับที่ผมจะบอกเอาไว้ว่าผมจะไม่ปรับราคาปิดให้กับผู้ซื้อโดยไม่แจ้งล่วงหน้าก่อนเพราะปกติแล้วกว่าผู้ขายจะตัดสินใจยอมขายราคานั้นได้บางทีอาจใช้เวลานานเกินหนึ่งวันเพราะต้องการได้ราคาสูงกว่านั้นแต่ในส่วนตัวของผมเห็นว่าถ้าพอใจราคาแล้วไม่ต้องรอนานหรอกครับแค่1-2ชั่วโมงก็พอโทรไปเสนอราคาปิดได้เลยถ้าเขายังมีข้อปฎิเสธอยู่ก็ถือว่าเขาเป็นตัวปลอมแค่นั้นเอง ขอบคุณริมฝั่งวังครับที่ช่วยให้ความรู้ในแง่กฎหมายถือเป็นประโยนช์ครับแต่หวังว่าใครอย่ามีโอกาสได้ใช้เลยเพราะการขึ้นโรงขึ้นศาลมัน บ่ม้วนเน้อคับ..

 
โดย : อู๊ดผมยาว    [Feedback +18 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Tue 3, Aug 2010 13:02:28

 

อธิบายเพิ่มเติมให้ท่านแหร่มอีกนิดนะครับ(ขออนุญาตใช้ชื่อนี้นะครับ มันเท่ห์และดูดีกว่า)

หลักการแสดงเจตนาต่อผู้อยู่เฉพาะหน้า (คือแบบนั่งเจรจากันเลย) เมื่อมีคำเสนอ ในทางกฏหมาย  คู่สัญญา ก็ต้องแสดงเจตนาสนองรับ ณ เวลานั้น คือสนองรับทันที

เมื่อคำเสนอ และคำสนองรับ ในทาง Internet เป็นการแสดงเจตนาแก่คู่สัญญาในลักษณะเฉพาะหน้า   โดยหลัก ก็ต้องตอบรับข้อตกลงในทันทีทันใดเหมือนกับการนั่งเจรจาเช่นกัน

แต่เราจะแปลกฏหมายแบบนี้ไม่ได้ เพราะมันจะขัดแย้งกับทางปฎิบัติ เหตุเพราะว่า เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปแล้วว่า  ผู้แสดงเจตนาทาง Intermet มิได้อยู่หน้าจอคอมฯตลอดเวลา  การตีความเพื่อให้มีผลบังคับได้ จึงควรพิจารณาถึงหลักความจริง คือต้องให้เวลา แก่คู่สัญญาว่าจะมาอยู่หน้าจอคอมฯเพื่อได้รับทราบข้อมูลแล้วหรือยังนั่นเอง เวลาที่ถือให้โอกาสที่เหมาะสมก็คืออย่างน้อยก็ต้องให้เวลาหนึ่งวันนั่นเอง 

ส่วนที่กำหนดเวลาไว้สองวัน เผื่อจะมีการตกลงกันได้ถ้าไม่ซีเรียสอะไร  แต่หากเกินสองวันไปแล้ว   ผู้ขายคงไม่มีสิทธิอะไร ได้แต่ทำใจอย่างเดียว

ทั้งหมดนี้ ก็ต้องคำนึงถึงหลัก ต้องสนองรับในทันที  ดังนั้น การที่ท่านแหร่ม รีบเจรจาในทันทีในวันนั้น จึงเป็นการปฎิบัติที่ถูกต้อง เพื่อให้มีผลเกิดเป็นสัญญาซื้อขายกันต่อไป

 

 
โดย : ริมฝั่งวัง    [Feedback +19 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Tue 3, Aug 2010 20:54:13

 

เยี่ยมครับ

 
โดย : kanung    [Feedback +44 -0] [+1 -0]   [ 6 ] Tue 3, Aug 2010 21:14:59

 
ขอแสดงความเห็นต่อยอดกระทู้ของคุณ"นวกร" : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.