โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา
พระเกศาครูบาศรีวิชัย สิ่งมงคลสูงสุดของชาวเหนือ
พระเกศา ครูบาศรีวิชัย สิ่งมงคลสูงสุดของชาวเหนือ
พระเกศาครูบาศรีวิชัย เป็นพระเครื่องที่ชาวบ้านเกิดความศรัทธาอาลัย ต่อครูบาเจ้าฯจึงได้ร่วมกันสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะเก็บรักษาเส้นเกศา ของครูบาศรีวิชัย เพื่อใช้บูชาหรือพกติดตัวยามเดินทางไปทำมาค้าขาย บ้างก็เก็บเอาไว้บูชากราบไหว้บนหิ้งพระประจำบ้าน จึงถือเอาได้ว่าพระเกศาครูบาศรีวิชัย เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นจากฝีมือของช่างชาวบ้านโดยแท้ ในการนำเอาเส้นเกศาครูบาเจ้าฯ มาคลุกเคล้ากับมวลสารเกสร, ผงธูปเพื่อสร้างเป็นพระเครื่องนั้น เกิดจากการศรัทธานับถือเส้นเกศาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตามตำนานปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุในล้านนามาแต่โบราณ แม้แต่ในคำเทศนาของพระสงฆ์ในล้านนา มักจะกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ในดินแดนแถบล้านนานี้ เมื่อมาถึงทรงได้พบผู้คนในพื้นถิ่น และพระองค์ก็ได้มอบเส้นเกศาของพระองค์พร้อมคำทำนายว่า ในภายภาคหน้าดินแดนแคว้นนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นที่ตั้งแห่งพระรัตนตรัย เจ้าเมืองก็จะสร้างที่บรรจุเส้นเกศาและพระบรมสารีริกธาตุซึ่งจะมาเพิ่มในภาย หลัง เมื่อชาวบ้านหรือเจ้าเมืองได้รับเอาเส้นเกศาของพระพุทธองค์ไว้แล้ว ก็จึงได้เก็บบรรจุไว้ในกระบอกเงิน กระบอกทองคำ หรือบรรจุในกระบอกไม้อันเป็นมงคลบ้าง แล้วจึงนำไปบรรจุฝังดิน หรือบางแห่งก็สร้างพระสถูปเจดีย์จนเป็นพระบรมธาตุเจดีย์หลายองค์ในล้านนา สืบมาจวบทุกวันนี้
ในความเชื่อบูชาเส้นพระเกศาของพระพุทธองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายาวสืบทอดกันมาจวบจนถึงพระครูบาเจ้าศรีวิชัย อันชาวบ้านล้านนา ยกย่องเคารพบูชาด้วยบารมีที่ครูบาเจ้าฯมีแต่ให้แก่พระพุทธศาสนา จวบวาระสุดท้ายได้มาถึง คุณงามความดีที่ได้สร้างถาวรวัตถุให้แก่ชาวพุทธล้านนาไว้มากเหลือคณานับ จึงบังเกิดบุญบารมีอันแก่กล้า เกิดศรัทธาของศิษย์และคณะศรัทธาชาวบ้าน อันส่วนใหญ่มักจะเป็นกรรมการของวัดต่างๆ ในจังหวัดลำพูน, เชียงใหม่ที่ได้ร่วมกันสร้างพระเกศาครูบาศรีวิชัยขึ้น ภายหลังจากที่ท่านได้ล่วงลับดับขันไปแล้ว
จากตำนานเล่าขานกันสืบมา ถึงการสร้างพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย มวลสารที่สร้างมักจะนำเอาผงเกสรและดอกไม้ต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมากราบไหว้พระในโบสถ์ ในพระวิหารรวมถึงตามพระบรมธาตุจากที่ต่างๆ มาผสมกับดอกพิกุลหรือดอกแก้วที่ตากแห้งดีแล้ว ตลอดทั้งเถ้าธูปจากกระถางบูชาพระพุทธอันหมายถึงพระประธานในพระวิหารของวัด ที่เป็นผู้สร้างพระเกศานั้นๆ
เมื่อได้มวลสารผงเกสรตลอดจนวัสดุมงคลครบถ้วนตามความเชื่อของศรัทธาชาวบ้าน แล้ว ก็จะนำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาคลุกเคล้ากับยางรักโดยมีผงใบลานที่เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระ พุทธองค์ ซึ่งคนล้านนาโบราณได้จารึกอักขระไว้ เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าปั้นเป็นก้อนเหนียวได้ตามประสงค์เจตนา จึงนำเอามากดลงบนแม่พิมพ์เป็นองค์พระเครื่อง โดยจะผสมเอาเส้นพระเกศาครูบาเจ้าฯ ลงไปก่อนจะกดลงพิมพ์บ้าง นำเอาเส้นพระเกศาผสมลงในเนื้อผงเกสรเลยก็มีจึงปรากฏในภายหลังของพระเครื่อง เส้นเกศาฯ นี้ ด้วยบางองค์ก็จะเห็นเส้นพระเกศาชัดเจน บางองค์ก็จะไม่พบเส้นพระเกศาข้างนอกเลย หลายท่านถึงกับลงทุนหักพระที่ได้มาเพื่อดูภายในว่ามีเส้นเกศาของครูบาเจ้า หรือไม่ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ขอส่งเสริมแนะนำ เพราะหากเป็นพระเกศาครูบาเจ้าจากคำยืนยันและศึกษาไตร่ตรองดีแล้วไม่ควรได้ทำ การพิสูจน์ด้วยวิธีหักองค์พระเพื่อดู จงมีความศรัทธาเชื่อถือบูชาพระเกศาครูบาเจ้าฯ ความสุขความเจริญจะบังเกิดแก่ท่าน อย่างไม่รู้ตัวในภายหลัง
สำหรับแม่พิมพ์ที่นำมาสร้างพระเกศาครูบาศรีวิชัยนั้นได้ยึดถือเอาแบบพุทธ พิมพ์ของพระสกุลลำพูนเป็นตัวอย่างแม่พิมพ์พระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงมีหลายแบบหลายพิมพ์ทรงไม่ยึดถือเอา พิมพ์ทรงใดพิมพ์ทรงหนึ่ง
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปก็จะกล่าวคำบอกเล่าแตกต่างกันไป อย่าง เช่นพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์พระรอดนั้นมักจะสร้างโดยคณะศรัทธาชาวบ้านที่มอบไว้ให้แก่วัดพระธาตุ เจ้าหริภุญไชย เพื่อเป็นของขวัญที่ระลึกมอบแก่ผู้มาร่วมงานบุญฉลองสมโภชน์พระบรม สารีริกธาตุ หริภุญไชยเจ้า
ส่วนพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ก็จะสร้างตามแหล่งกำเนิดหรือตามกรุของพระพิมพ์นั้นๆ แต่จะสร้างกันในเวลาไม่ห่างกันมากนักเรียกได้ว่าทันยุคกัน จะแตกต่างกันไปของอายุก็ไม่เกิน 4-5 ปีเท่านั้น ข้อนี้เป็นคำยืนยันจากผู้สูงอายุที่เป็นชาวบ้านป่าซางบ้าง ชาวลำพูนเก่าแก่ดั้งเดิมบ้าง
แม่พิมพ์ของพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ กันจะสร้างจากดินเผา บางครั้งก็ใช้พระสกุลลำพูนกดลงบนพื้นดินแล้วนำไปเป็นแม่พิมพ์ เรียกได้ว่าลอกแบบเลยก็มี ดังนั้นมีพระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยในรูปแบบพิมพ์ทรงเป็นพระสกุลลำพูน เป็นส่วนมาก จะมีเป็นพิมพ์ทรงแปลกๆ บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านที่ได้เก็บรักษา หรือได้มาซึ่งเส้นเกศาของครูบาเจ้าฯ แล้วนำเอาไปสร้างไปทำเป็นพระเครื่องเองก็มีมากพิมพ์องค์เหมือนกัน
ตลอดระยะเวลาที่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย เมื่อยังมีชีวิตอยู่นั้นในครั้งคราใดที่พระครูบาเจ้าจะปลงผม (เส้นเกศา) เหล่าบรรดาพระลูกศิษย์และศรัทธา ชาวบ้านจะพากันเอาผ้าขาวมารอง พร้อมใบบัวมาคอยรับคอยห่อ เอาพระเกศาของท่านครูบาเจ้าฯ เมื่อได้เส้นเกศาที่ครูบาท่านปลงแล้ว ก็จะขออนุญาตินำออกไปแจกให้ คณะศรัทธาชาวบ้านส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้กับวัดที่ท่านจำอยู่คราปลงเส้นผมนั้น ครั้นกาลเวลาต่อมาบางวัดก็ได้นำเอาไปบรรจุรวมกับอัฐิธาตุ ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยดังปรากฏตามประวัติการสร้างสถูป อนุสาวรีย์ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สืบมาถึงปัจจุบัน
และยังมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งเมื่อได้รับเอาเส้นพระเกศาของครูบาเจ้าฯ มาแล้วก็จะนำเอาไปเก็บไว้ในกระบอกไม้ไผ่เสร็จแล้วก็จะลงรัก ลงชาดปิดทองคำเปลวบนกระบอกไม้ไผ่เก็บรักษา บูชาไว้บนหิ้งพระประจำบ้านก็ยังคงมีให้พบเห็นอยู่
เส้นเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตามที่ได้พบเห็นจะมีความยาวประมาณมือหยิบ หรือประมาณ เซนติเมตร เป็นส่วนใหญ่ลักษณะเส้นผมจะเป็นสีน้ำผึ้ง, ใส ดุจดั่งเส้นใยแก้วก็มี
พุทธคุณของพระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้มากด้วยพุทธคุณทางเมตรตามหา นิยมแคล้วคลาดภยันตรายพิษภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่าการเดินทางรอดพ้นภัย ดีนักแล อิทธิปาฏิหารย์ด้านคงกระพันชาตรีไม่ปรากฏ จะมีก็แต่เพียง เมื่อเกิดอุบัติเหตุมักจะแคล้วคลาดรอดพ้นมาได้ อาจมีบาดแผลบ้าง บางครั้งผู้มีประสบการณ์ที่ประสบอุบัติเหตุก็จะพบว่ารถที่ชนกันแหลกพัง ยับเยิน ตนเองน่าจะไม่รอดแต่กลับรอดพ้นมาได้ โดยไม่รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จากคำบอกเล่าของวัยรุ่น นักเรียนนักศึกษาในเชียงใหม่ ส่วนมากที่ประสบการณ์ในด้านการไปขอพรบนบานสารกล่าว ขอพรต่ออนุสาวรีย์พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ ทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพเชียงใหม่ ซึ่งทางจังหวัดและชาวล้านนาได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ รำลึกถึงพระครูบาเจ้าศรีวิชัยที่เป็นองค์ประธานสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุ เทพ อันเป็นอัศจรรย์ยิ่งสืบมา และด้วยแรงศรัทธาเคารพบูชาพระครูบาเจ้าฯ เหล่าบรรดานักเรียน นักศึกษาที่ไปกราบไหว้บนบานบูชาขอพรต่ออนุสาวรีย์ของครูบาเจ้าฯ ส่วนใหญ่จะประสบผลสำเร็จในการสอบเข้าเรียนต่อยังสถาบันแห่งใหม่
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผู้ที่ทั้งอยู่ไกล อยู่ใกล้ก็จะมากราบลาอนุสาวรีย์ของครูบาเจ้าฯ อีกครั้งเป็นเหตุเสมอต้น เสมอปลายอยู่อย่างนี้ตลอดมา
ณ อนุสาวรีย์รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย บนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพนั้นคณะศิษย์ยานุศิษย์ผู้จัดสร้างได้นำเอาอัฐิ ธาตุและเส้นพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยบรรจุไว้ ณ ที่แห่งนั้นด้วยดังปรากฏเป็นหลักฐานให้สาธุชนกราบไหว้บูชาตราบทุกวันนี้ สาธุ
ขอบคุณ ข้อความจาก เว็ป http://board.palungjit.com
โดย :
สยามอาร์ต
[
Feedback
+6
-0
] [
+0
-0
]
Mon 14, Jun 2010 17:15:58
โดย :
Dear shop
[
Feedback
+1
-0
] [
+0
-0
]
[ 1 ] Mon 14, Jun 2010 20:31:03
หายไปนานเลย เสี่ยเอกสงสัยหลงสาวกทม ไม่ยอมกลับเชียงใหม่
โดย :
bandit
[
Feedback
+8
-0
] [
+0
-0
]
[ 2 ] Mon 14, Jun 2010 21:04:16
.... พระสวย ข้อมูลแน่น ดีครับ...
โดย :
พรดาราภิรมย์
[
Feedback
+15
-0
] [
+0
-0
]
[ 3 ] Mon 14, Jun 2010 21:12:18
ปิ๊กมาอยู่บ้านเฮาแล้วกา
โดย :
พรมารดา
[
Feedback
+72
-1
] [
+0
-0
]
[ 4 ] Mon 14, Jun 2010 22:01:13
สิ่งมงคลจริงๆครับ
โดย :
sidtad
[
Feedback
+0
-0
] [
+0
-0
]
[ 5 ] Mon 14, Jun 2010 23:13:29
สุดยอด
โดย :
พระช้างเผือก
[
Feedback
+37
-0
] [
+0
-0
]
[ 6 ] Tue 15, Jun 2010 09:30:23
พระเกศาครูบาศรีวิชัย สิ่งมงคลสูงสุดของชาวเหนือ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ
ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
www.Stats.in.th
Copyright
Pralanna.com
All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย
บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด
.