ผ้ายันต์นางกวักและผ้ายันต์พรหมสี่หน้าสร้างมาแล้วนานมากครับ
ตั้งแต่เมื่อครั้งหลวงปู่ยังจำพรรษาอยู่ที่วัดฟ้าหลั่ง ประมาณปี ๓๐ กว่าๆ
ผ้ายันต์นี้หมดไปจากวัดนานมากแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้ายันต์นางกวัก เป็นผ้ายันต์ที่ขึ้นชื่อมาก
เพราะลูกศิษย์ลูกหาที่ทำมาค้าขาย หรือร้านค้าต่างๆ ระแวกนั้น
มีติดร้าน ติดบ้านกัน ถ้วนหน้า และมีคำบอกเล่าถึงการทำมาค้าขึ้น มาเล่าสู่กันฟังอยู่เสมอๆ
ส่วนผ้ายันต์พรหมสี่หน้า มีอักขระ ที่เป็นคาถา ที่หลวงปู่จะใช้สอนลูกศิษย์ (พระสงฆ์)
ลูกศิษย์ยุคเก่าๆ ที่ทันได้เรียนกับท่าน (หลังๆ ท่านอ่อนแรงตามอายุขัย เลยไม่ค่อยได้สอน)
น่าจะจดจำคาถาบทนี้กันได้
ประเด็นนี้พระอาจารย์อินทร ท่านกล่าวยืนยันตรงกับท่านพระครูป๋า ว่า
หลวงปู่เคยสอนให้เอาไว้ใช้โปรดญาติโยมอยู่เป็นประจำ... คาถามีอยู่ว่า
“ถานังธะนังสะเหน่ห์หัง อาคะโตสัพพะสะเหน่ห์หัง
อัทธังสวาหูม โอมสุวัณณะพรหมมารัตตังสิเหน่ห์หัง สะตังมะมะ
นะพรหมมารัตตังอิตถียังหะสัตถัง โอมสวาหูมติด”
เป็นคาถาด้านเมตตา เอาไปใช้ได้ครับ...
ส่วนอักขระคาถาอื่น ก็มีคาถาดอกไม้สวรรค์ คาถาเวสสุวัณ ผูกรวมกัน
ล้วนเป็นคาถาทางด้านเมตตามหานิยมทั้งสิ้นครับ
สรุปความว่า หากปรารถนาทางด้านเมตตามหานิยม ทำมาค้าขาย
พูดเรื่องผ้ายันต์พรหมสี่หน้าแล้วผมนึกได้
หลังจากหลวงปู่ย้ายมาอยู่ที่วัดทุ่งปุยได้พักหนึ่ง
ทางวัดก็ได้จัดสร้างผ้ายันต์พรหมสี่หน้าแบบ “ย้อนยุค” ขึ้นมาครั้งหนึ่ง
อักขระเดียวกัน แต่รูปภาพ และอักขระ จะเป็นระเบียบเรียบร้อย มากกว่ารุ่นเก่า
ที่คงความสวยคลาสสิคแบบเดิมๆ ไว้ อีกอย่างผ้ายันต์รุ่นใหม่ที่สร้างจะป็นสีเหลือง
ในขณะที่ผ้ายันต์ยุคต้นนี้จะเป็นสีแดง จึงไม่สับสนแน่นอนครับ
จำนวนการสร้าง ผ้ายันต์ไม่ได้บันทึกไว้ ผมจึงไม่สามารถนำมาแจ้งได้ครับ
ถามท่านพระครูป๋า เจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย ท่านก็บอกว่าจำไม่ได้
แต่คาดว่าเสื้อยันต์น่าจะประมาณ ๓๐๐ ผืนเท่านั้น
เพราะต้องพิมพ์ผ้าผืนใหญ่แล้วนำมาตัดเป็นเสื้อ เย็บสายผูกข้างลำตัว
เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาพอสมควร จึงทำได้ไม่มากนัก
ท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่
พระครูสังวรยติกิจ (พระอาจารย์อินทร จิตตสังวโร) เจ้าอาวาสวัดใหม่หนองหอย
หมู่ที่ ๖ ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๖๐
โทร. ๐๘-๑๙๙๒-๐๔๐๗ โทรสาร. ๐-๕๓๓๖-๗๙๗๑