มีข่าวเอิ้นบอก
มาช่วยกันสร้างโบสถ์วัดปางต้นเดื่อ อ.แม่อาย
|
|
|
|
|
|
หลวงปู่ครูบาสิทธินักบุญแห่งขุนเขา เทพเจ้าแห่งดอยลาง ประวัติโดยย่อครูบาสิทธิ หลวง ปู่ครูบาสิทธิ อภิวัณโณ ปัจจุบันอายุ ๘๙
ปี(นับตามหลวงปู่ฯบอก) นามเดิมชื่อสิทธิ เมืองใจ เกิด ๑๐ มิย. พศ .๒๔๖๕ ณ.
บ้านแม่ฮ่าง ต.แม่สาว อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรคนโตของพ่อบุญมา
และแม่ป้อ เมืองใจ ในพี่น้องทั้งหมด ๕ คน
หลังจากหลวงปู่ฯเกิดได้ไม่นานพ่อแม่ก็ย้ายมาอยู่ที่บ้านปางกลาง
อายุ
๑๖ ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดปางกลาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ในวันที่ ๕
เม.ย. ๒๔๘๑ โดยมีครูบาแก้ว กาวิชโย วัดมงคลสถาน อุปัชฌาย์
ต่อ
มาได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดชัยสถาน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
ในวันเสาร์ที่ ๑๓ มิ.ย. ๒๔๘๕ โดยมีครูบาก๋องคำ วัดมาตุการาม
เป็นพระอุปปัชฌาย์ ครูบาอุ่นเรือน ธีรปัญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระคำภีร์
ธมฺมวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม กับครูบาสิงห์แก้ว
ที่วัดแม่อายหลวง จนจบนักธรรมเอก
ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาอักขระและเวทย์มนต์ล้านนากับพระอธิการวงศ์
เจ้าอาวาสวัดจองกล๋าง
อีกทั้งยังใช้เวลาว่างศึกษาค้นคว้าพระเวทย์จากปั๊ปสาต่างๆอีกจำนวนมาก
หลัง
จากนั้นในปี ๒๔๙๓
หลวงปู่ท่านได้ถูกส่งไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดห้วยม่วงจนถึง พ.ศ.๒๔๙๗
วัดถำตับเต่าซึ่งอยู่ในป่าลึกเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์
พระต้องอยู่ในถ้ำที่มีปู่ฤาษีเจ้าที่แรง
เป็นเหตุให้พระที่มีศีลไม่บริสุทธิ์อยู่ไม่ได้ ทำให้ขาดพระจำพรรษามาตลอด
ดังนั้นท่านเจ้าคณะอำเภอจึงอาราธณาหลวงปู่ครูบาสิทธิไปช่วยจำพรรษา
พอไปถึงหลวงปู่ฯก็ถูกทดสอบอย่างหนัก
จนปู่ฤาษีเจ้าที่ยอมรับและดลบันดาลให้การเจริญกรรมฐานของหลวงปู่ฯรุดหน้าไป
อย่างรวดเร็ว มีกำลังฌาณสมาบัติสูง ขณะเดียวกันพ่อหนานมูล บ้านร้องธาร
ฆาราวาสผู้แก่กล้าอาคมที่โด่งดังสุดๆในยุคนั้นมีบ้านอยู่ใกล้วัดถ้ำตับเต่า
ก็ได้ถ่ายทอดวิชาอาคมและยกตำราให้หลวงปู่จนสิ้น
ทำให้หลวงปู่ฯได้ใช้เวลาศึกษาพระเวทย์และปฎิบัติภาวนาอยู่ในถ้ำตับเต่าแห่ง
นี้นานถึง ๙ ปี
กระทั่ง ปี พศ.๒๕๐๘ พ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) เสา
แห่งหมู่บ้านปางต้นเดื่อ ยอดดอยลาง
ดินแดนที่อำนาจรัฐของประเทศไทยในขณะนั้นเข้าไปไม่ถึง
ในพื้นที่เต็มไปด้วยกองกำลังกลุ่มต่างๆ ของหลายชนเผ่า
ได้มาขอพระสงฆ์กับท่านเจ้าคณะอำเภอฝาง(สมัยนั้นยังไม่มีอำเภอแม่อาย)
ให้ไปจำพรรษาณ.ที่พักสงฆ์ปางต้นเดื่อเพื่อเป็นที่พึ่งและช่วยสงเคราะห์ชาว
บ้านชาวเมืองที่ขึ้นไปบุกเบิกป่าทำไร่ชา
เนื่องว่าในขณะนั้นบนดอยลางมีแต่ฤๅษีไม่มีพระ
ท่านเจ้าคณะอำเภอทราบเรื่องดังนั้นแล้วก็พิจารณาเห็นว่าคงมีเพียงหลวงปู่ครู
บาสิทธิรูปเดียวเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้และสามารถจะพัฒนาที่
พักสงฆ์ให้กลายเป็นวัดสำเร็จ
จึงได้ให้พ่อหลวงเสานำคณะศรัทธาไปรับหลวงปู่จากถ้ำตับเต่าขึ้นสู่ยอดดอยลาง
มาจนกระทั่งปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|
โดย : ieam [Feedback +0 -0] [+0 -0]
|
|
Wed 24, Feb 2010 20:29:15 |
|
|
|
ดอย
ลางในอดีตดินแดนที่อำนาจรัฐเข้าไม่ถึง หลวง
ปู่ครูบาสิทธิท่านไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้นะครับแถวนั้น
ไม่แน่จริงจะเป็นพระที่เคารพของกองกำลังต่างๆที่ปะทะกันอยู่แถบดอยลางได้
หรือ? ดูรายงานชิ้นนี้ครับ
ในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐-๒๕๓๐
อาณาบริเวณพื้นที่ชายแดนด้านดอยลาง และพื้นที่ลุ่มน้ำกกตอนบน
มีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมไม่แตกต่างจาก “รัฐอิสระ”
เท่าใดนัก อำนาจรัฐส่วนกลาง ทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า
ไม่สามารถแสดงอำนาจเหนือพื้นที่ได้บริเวณพื้นที่ดอยลาง
ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำกกตอนบน
และห่างจากหมู่บ้านท่าตอนเหนือขึ้นไปตามลำน้ำกกประมาณ ๕ กิโลเมตร
เป็นฐานที่ตั้งของกองบัญชาการของกองทัพปลดปล่อยชนชาติลาหู่ (LNLA.)
ส่วนอีกด้านหนึ่งของแม่น้ำกก จะอยู่ในการควบคุมของกองทัพรัฐฉาน (Shan State
Army, SSA) หากจะสรุปอย่างตรงไปตรงมาแล้ว กล่าวได้ว่า ในช่วงทศวรรษ
๒๕๐๐-๒๕๓๐ พื้นที่ชายแดนไทย-พม่าเขตลุ่มน้ำกกตอนบน ท้องที่อำเภอแม่อาย
จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งศูนย์กลางอำนาจย่างกุ้งและกรุงเทพฯ
หรือหน่วยงานของรัฐบาลไม่มีอำนาจเหนือดินแดน/ไม่สามารถปฏิบัติการจริงในการ
ควบคุมจัดการพื้นที่ได้
อาณาบริเวณดังกล่าวมีกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นจำนวนถึง ๘
กลุ่มย่อย และมีกำลังพลรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ คน
โดยประกอบไปด้วยกองกำลังติดอาวุธกลุ่มต่าง ๆ คือ (๑)
กองทัพปลดปล่อยชนชาติลาหู่ ที่มี ๓ กลุ่มย่อย คือ กลุ่มเจ้าฟ้าจะอื่อ
หรือพญาจะอื่อ, กลุ่มเจ้าฟ้าแอบิ กลุ่มพันเอกแสงหาญ (๒) กองทัพรัฐฉาน (Shan
State Army, SSA) กลุ่มเจ้าหาญสามแสง-ขุนโง๊ะ, กลุ่มขุนส่า (Mong Tai
Army, MTA) (๓) กองกำลังติดอาวุธชนชาติว้า (Wa National Organizations,
WNO) ซึ่งมีกลุ่มของ พ่อเฒ่าพะโป่ หรือ พะโป่กางเสือ, กลุ่มเจ้ามหาซาง
และไอ่เชียวสือ, กลุ่มเจ้ายี่ลาย บาง
ประสบการณ์จากเวปล้านนา ครูบา
สิทธิ วัดปางต้นเดื่อ อ.แม่อาย เชียงใหม่ ประวัติ ท่านผมไม่ทราบมากนัก
หนังสือก้อไม่มี
หมายความว่าไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในโลกนี้เลย น่าแปลกน่ะครับ
ผมเคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับครูบาฯก้อเมื่อพี่เล็ก
นำศิลป์พูดคุยกัน สัพเพเหระ จนมาถึงครูบาสิทธิ องค์นี้
(พี่เล็กนี่มีครูบาอาจารย์มากน่ะ ครับ) พี่เล็กว่า
"ครูบาสิทธินี้เมื่อก่อนเปิ้ลอยู่กับอาจารย์เปิ้ลที่ถ้ำตับเต่า(ดับเถ้า)
เมื่อาจารย์ท่านสิ้น ครูบาสิทธิจึงได้ย้ายออกมา" ประสบการณ์
มากมายเกี่ยวกับท่าน จากปากคุณอู๊ด แอมเวย์ เคยเล่าให้ผมฟังว่า "มี
ทหารลาดตะเวณเดินพลัดตกไหล่เขา หาเท่าไรก้อหาไม่เจอ จนใจแล้ว จึงไปหาครูบาฯ
ครูบาฯก้อบอกๆ ว่า "อยู่ฮั่นน่ะ ตกลงไป บ่อได้นอน นั่งกั๊ดอกอยู่ฮั่นน่ะ
ถ้าจะตายล่ะ " ทหารร่วมกับชาวบ้านไปหากันก้อเจอตามที่ครูบาฯบอกครับ อีก
เรื่อง หนึ่ง เค้าว่า(เค้าว่าน่ะครับ
ฟังหูไว้หู)ตอนที่เหรียญนี้มันดังเนี้ย มีคนเอาไปหื้อคนทางใต้
แล้วมันสู้กัน ใช้มีดกรีดยางเฉือดไม่เข้า อะไรอะไรอย่างนี้แหล่ะครับ เล่า
กันบ่อดาย เน้อ ถ้าลองกลับไปอ่านประวัติหลวงปู่ครูบาสิทธิตอนที่ได้เรียนกับปู่ฤๅษีฯในนิ
มิตรขณะที่จำพรรษาอยู่ในถำตับเต่านาน ถึง๙ปี และ
กลับไปอ่านเรื่องประวัติที่มาของบรมครูปู่ฤๅษีพัดโบกกับความคิดส่วนตัวของผม
ที่บอกว่า
ผมเริ่มสัมผัสกับบรมครูปู่ฤๅษีพัดโบกตั้งแต่ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ครูบา
สิทธิและท่านจะมาประสิทธิในมงคลพิธีต่างๆที่ผมจัดขึ้นโดยส่นใหญ่จะปรากฏใน
รูปแบบลมหอบ ลมกรรโชกเป้นลูกเล็กๆ
แม้กระทั่งในพิธีบวงสรวงวัตถุมงคลรักชาติของหลวงปู่เจือต่อหน้าพระเจดีย์
ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล
ที่สถิตย์ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็เหมือนกันมีลมกรรโชกแรงๆ
เป็นระลอกๆแต่ขณะนั้นเทียนไม่ดับ
มาวันนี้จะเป็นเรื่องบังเอิญหรือปู่พัดโบกดลบันดาลให้เปิดปูมประวัติบางภาค
ส่วนของปู่พัดโบกท่านก็ยากที่จะสรุปได้
แต่ผมเพิ่งพบว่าบรมครูปู่ฤๅษีพัดโบกนั้นนอกจากท่านเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ครู
บาสิทธิแล้วท่านยังข้องเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาในอดีตด้วย
เรื่องราวจึงดำเนินมาในยุคปัจจุบันโดยท่านใช้ผมและคณะทำภารกิจนี้(เป็นความ
เชื่อส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร)
ที่ผมสรุปเช่น
นี้เพราะผมได้ไปค้นคว้าประวัติของถ้ำตับเต่าตามข้อมูล
มหัศจรรย์หลายอย่างที่หลวงปู่ครูบาสิทธิท่านเล่าให้ฟัง
หนึ่งในนั้นท่านบอกว่ามีพระพุทธปางไสยาสน์ขนาดใหญ่และพระอรหันต์ล้อมรอบทรุด
โทรมอยู่ภายในถ้ำและอ.ปู่ฤๅษีก็อยู่ที่นี้
ข้อมูลเหล่านี้ผมได้พยายามถามท่านพระอ.มหาเกษมศิษย์เอกของหลวงปู่แล้ว
ท่านอ.ยืนยันว่าหลวงปู่ไม่เคยยอมเล่าเรื่องเก่าๆให้ใครฟัง
ท่านมักปฏิเสธตลอดว่าไม่รู้บ้าง จำไม่ได้บ้าง
ทำให้ที่วัดเขียนประวัติท่านได้นิดเดียว
เมื่อไม่ได้ข้อมูลจากศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ผมจึงต้องค้นหาเองและ
ต้องขออนุญาตคัดลอกเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับประวัติวัดถ้ำตับเตา
เรียบเรียงโดย คุณอินทร์ศวร แย้มแสง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอฝาง
และพระอธิการศิลปชัย ญาณวโร อดีตเจ้าอาวาส เผยแพร่แก่ญาติโยมผู้สนใจ
เมื่อเดือนเมษายน 2543 มาเล่าประดับความรู้นะครับ
วัด ถ้ำตับเตา
เป็นศาสนสถานโบราณนานนับเวลาหลายร้อยปีแล้ว ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำตับเตา
หมู่ที่ 13 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
บริเวณวัดมีเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ มีลำธารน้ำใสสะอาดไหลผ่ากลางบริเวณวัด
ไหลจากหนองน้ำเล็กๆ ที่เกิดจากตาน้ำผุดห่างไปทางด้านหลังถ้ำประมาณ 1
กิโลเมตรเศษ ตาน้ำผุดและสระเล็กๆ นี้เกี่ยวพันกับตำนานของถ้ำตับเตา
วัดนี้ตั้งอยู่ที่บริเวณเชิงเขาถ้ำตับเตา
และเป็นภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขาที่กั้นเขตอำเภอไชยปราการกับอำเภอเชียงดาว
ทางทิศใต้
และเป็นเทือกเขาหลายลูกสลับซับซ้อนกันกั้นเขตแดนไทยกับพม่าทางทิศตะวันตก
วัด
ถ้ำตับเตาจะสร้างในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎแน่ชัด
เพียงแต่สันนิษฐาน เอาตามหลักฐานที่เป็นสิ่งก่อสร้างในวัด คือ
พระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 9 เมตร
สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน พอกด้วยยางไม้รักปิดทองในแบบศิลปะอยุธยา
ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันท่านสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างใน
สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
คราวพระองค์ทรงยกทัพหน้าเพื่อจะเข้าตีพม่าและตีเมืองตองอูในประมาณ ปี
พ.ศ.2135
และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพหลวงไปทางเชียงดาวเข้าพักพลที่เมืองหาง
ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทย และทราบจาก ปลัดอำเภออาวุโส
คุณปลายมาศ พิรภาดาว่ามีผู้เฒ่าอายุมากท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าก่อนนี้
หน้าถ้ำมีป้ายเขียนบอกไว้ว่า ณ
ถ้ำนี้เคยเป็นที่ประทับพักกองทัพของสมเด็จพระเอกาทศรถ
เจ้าอาวาสสันนิษฐานเช่นนี้ด้วยเหตุผลที่พระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้เก่าแก่
โบราณ ซึ่งคนโบราณแต่ละถิ่นแคว้นจะมีลักษณะศิลปะการก่อสร้างเป็นของตนเอง
ถ้าสร้างโดยช่างฝีมือล้านนาไทย คงจะต้องมีลักษณะศิลปแบบล้านนา
|
|
|
โดย : ieam [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 1 ] Wed 24, Feb 2010 20:32:22
|
|
|
|
รมดำ ราคา 349บาท ชุดกรรมการ 999บาท แถมผ้ายันตืสมปราถนากับลุกอมชานเมี่ยง จะธนาณัติไปที่วัดปางต้นเดื่อเลยก็ได้นะครับ ธนาณัติสั่งจ่าย
พระมหานิรันดร์ รตนปญฺโญ วัดปางต้นเดื่อ
ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 50280 ค่าจัดส่ง 50 บาท
|
|
|
โดย : ieam [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 2 ] Wed 24, Feb 2010 20:43:25
|
|
|
|
แก้ไขครับ รม
ดำ ราคา 349บาท แถมผ้ายันต์สมปราถนากับลุกอมเมี่ยง
ชุดกรรมการ 999บาท
แถมผ้ายันต์สมปราถนากับลุกอมเมี่ยง
ร้านเอกพุทธผดุง ทิพเนตร ร้านบุญบารมี แม๊คโคร
|
|
|
โดย : ieam [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 3 ] Thu 25, Feb 2010 13:56:29
|
|
|
|
ใครที่ไม่อยากธนานัติ หรือขึ้นไปบูชาบนวัด ก็ลองไปสอบถามที่ 2 ร้านนี้ดูนะครับ ว่าพอจะมีของไหม
|
|
|
โดย : ieam [Feedback +0 -0] [+0 -0] |
|
[ 4 ] Thu 25, Feb 2010 14:23:14
|
|
|
|
|
|
|
|