พระสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์เปลวเพลิงเล็ก พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง เป็นพระเนื้อผงใบลานเผาส่วนใหญ่เนื้อออกสีเทาๆ พระสมเด็จปิลันทน์ ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องก็คือ "พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์"สร้างโดยหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัต เสนีวงศ์ พระสมเด็จปิลันทน์ ซึ่งเป็นพระของวัดระฆังฯ ที่มีการสร้างยาวนานอีกองค์หนึ่ง หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัต เสนีวงศ์ เป็นเจ้าวังหลัง และทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีปริยัติธรรมกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงมาตั้งแต่ต้นจนได้เปรียญ 7 ประโยค และเป็นศิษย์ที่ทรงสมณศักดิ์สูงที่สุดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีกด้วย ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่ทรงพระราชทานถวายเฉพาะ แด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วโปรดให้ไปครองวัดเชตุพนฯ
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังถ้าจะเรียกให้ถูกต้องเต็มความก็คือ พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์ สร้างโดยหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด เสนีวงศ์ ในสมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ณ วัดระฆังฯ ท่านทรงเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี นับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จฯ เป็นต้นมา และได้ทรงสร้างพระเครื่องฯ ของท่านขึ้นมาบ้างในปีพ.ศ. 2411 ภายหลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯ มาแล้ว 2 ปี แต่มิได้ทรงสร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษห้าประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร ดังนั้น พระเครื่องฯ ชนิดนี้คนรุ่นเก่าๆ ที่ทราบประวัติการสร้างจึงนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักนิยมพระเครื่องทั่วๆไปนิยมเรียกว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องฯ เหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ผู้เป็นพระอาจารย์
พระปิลันทน์ มีหลายพิมพ์ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือการแกะแม่พิมพ์ของช่างหลวงทั้งสิ้น เพราะแต่ละพิมพ์ล้วนมีความงดงามวิจิตรอลังการ ยากที่ช่างฝีมือชาวบ้านธรรมดาจะทำได้ พิมพ์ที่ถือว่าสุดยอด ของ พระปิลันทน์ ก็คือ พิมพ์ซุ้มประตู เนื้อพระจะออกไปในทางเทาอมดำ บางท่านก็ว่าเป็นเขียวอมดำและมีคราบไขขาวเกาะแน่นหนา ซึ่งทำให้ง่ายต่อการพิจารณายิ่งขึ้น(พระปลอมไขขาวจะหลุดล่อนง่าย)ในส่วนของพระที่บรรจุกรุ ได้มีการขุดพบครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๗๑
"สมเด็จพระพุฒาจารย์"มีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าทัต เสนีย์วงศ์"
เป็นพระโอรสใน กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ ( พระองค์เจ้าแดง )ใน กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ( วังหลัง ) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๒อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ จำพรรษา ณ วัดระฆังฯ
ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๑๓ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ แทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )ซึ่งชราภาพแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) มรณภาพปี พ.ศ.๒๔๔๓
การสร้างพระเครื่องสมเด็จพระปิลันทน์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.๒๔๐๗ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพุทธบาทปิลันทน์"ในช่วงปีดังกล่าว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังมีชีวิตอยู่
จึงสันนิษฐานว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯโต จะแผ่เมตตาประกอบพิธีปลุกเสกให้ด้วย
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง พุทธลักษณะ
เป็นพระที่มีทั้ง พิมพ์นั่งสมาธิบนฐานต่าง ๆ และพิมพ์ยืน
จำแนกพิมพ์
พระปิลันทน์เป็นพระที่มีพิมพ์จำนวนมาก แต่จำแนกตามพิมพ์ที่นิยมกันได้ดังนี้
1. พระพิมพ์ซุ้มประตู
2. พระพิมพ์ครอบแก้วใหญ่
3. พระพิมพ์ครอบแก้วเล็ก
4. พระพิมพ์เปลวเพลิงใหญ่
5. พระพิมพ์เปลวเพลิงกลาง
6. พระพิมพ์เปลวเพลิงเล็ก
7. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ใหญ่
8. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก
9. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก ครอบแก้ว
10. พระพิมพ์ประทานพร หรือปฐมเทศนา
11. พระพิมพ์โมคคัลลาน์ - สารีบุตร
12. พระพิมพ์ฐานสามชั้น ซุ้มสาม